ทีเซลส์ จับมือ ควอลิตี้ พลัส และ ฟีนิกซิคท์ เปิดมุมมองใหม่ในการทำธุรกิจ ยุคหลังโควิด-19

ทีเซลส์ จับมือ ควอลิตี้ พลัส และ ฟีนิกซิคท์ เปิดมุมมองใหม่ในการทำธุรกิจ ยุคหลังโควิด-19

มีแผนในการขยาย Modules ให้ครอบคลุมหลายส่วนมากขึ้น เช่น Innovation market place และ Business Linkage ควบคู่กับช่องทางการระดมทุน

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ฝ่ายโปรแกรมบริหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเสริมอาหาร ร่วมกับ บริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ บริษัท ฟีนิกซิคท์ จำกัด (สินวัฒนา) จัดสัมมนาออนไลน์ "ธุรกิจเกิดได้ ไม่ต้องลงทุน (เอง)" Business Challenges: How to Find the Fundings and New Innovations โดยมี ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน (ผ่านระบบออนไลน์) พบกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คุณเดวิด สมัญญาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน (CFO) บริษัท สยาม อีสต์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน), Ms. Hong Sin Kwek, CEO และ Founder, Sinwattana Crowdfunding platform, คุณวุฒิพงษ์ ผาณิตเศรษฐกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, คุณวริศรา บำรุงเวช สถาบันสอนการแสดงโดย ครูเงาะ และ ดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้อำนวยการโปรแกรมบริหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเสริมอาหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ที่มาแลกเปลี่ยนมุมมองผ่านประสบการณ์ โดยเจาะลึกการเข้าถึงแหล่งเงินทุน แนวคิดการระดมทุน และการเข้าถึงเงินทุนจากแหล่งภาครัฐ เปิดมุมมองใหม่ในการทำธุรกิจ ยุคหลังโควิด-19 รวมถึงไอเดียการขับเคลื่อนธุรกิจด้านการแพทย์และสุขภาพผ่านระบบ Digital Platform (MELB) พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักลงทุน และการเวิร์กชอปเพื่อให้เข้าใจรูปแบบของ Crowdfunding Campaign เบื้องต้น

ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “จุดเริ่มต้นของการจัดสัมมนาในวันนี้ เกิดจากความร่วมมือที่ระหว่างทีเซลส์ (TCELS), คลอลิตี้ พลัส เอสเทติค และ Sinwattana Crowdfunding platform ที่ได้ร่วมงานกันเมื่อปีที่แล้ว และร่วมกันพัฒนา MELB platform (Make every life better platform) เพื่อช่วยเหลือสังคมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงสนับสนุนช่วยเหลือโครงการ ที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมต่างๆ ที่ยังขาดแคลนทุนสนับสนุนผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือผู้สร้างงานนวัตกรรมต่างๆ ได้เชื่อมกับผู้บริโภค ผู้สนับสนุน และผู้บริจาค ผ่านรูปแบบของ Crowdfunding ซึ่งเป็นการระดมทุน ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก”

จากการทดลองใช้ MELB platform ในปีที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่า Platform นี้มีศักยภาพที่ดี จึงมีแผนในการขยาย Modules ให้ครอบคลุมหลายส่วนมากขึ้น เช่น Innovation market place และ Business Linkage ควบคู่กับช่องทางการระดมทุน และเล็งเห็นว่า MELB Platform จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานในวงกว้างขึ้น และหวังว่างานสัมมนาในครั้งนี้ ผู้ร่วมฟังสัมมนา จะสามารถนำไปใช้เป็นช่องทางหนึ่งในการทำธุรกิจ โดยไม่ต้องลงทุนเองตั้งแต่ต้น” ดร.ศิรศักดิ์กล่าว