"กฟผ." รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู "Supernova"

"กฟผ." รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู "Supernova"

"กฟผ." รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู "Supernova" เครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว จับมือ สวทช. เสริมความเชื่อมั่น หนุนสร้างสังคม EV

กฟผ. เดินหน้าขับเคลื่อนสังคม EV รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ลุยติดตั้ง “Supernova” เครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว (DC Fast Charger) เพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้ พร้อมมุ่งยกระดับความปลอดภัยโดยร่วมกับ สวทช. ผุดศูนย์ทดสอบหัวชาร์จไฟฟ้ากำลังสูง สร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทย

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

ในยุคที่ราคาน้ำมันแพง สตาร์ทรถแต่ละที ต้องคิดแล้วคิดอีก ทำให้ใครหลายคนเริ่มหันมาให้ความสนใจกับ "รถยนต์ไฟฟ้า" กันมากขึ้น ประกอบกับปัจจัยบวกจากมาตรการส่งเสริมอีวีของภาครัฐในการสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์และภาษีของยานยนต์ไฟฟ้า ยิ่งดันยอดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทยเพิ่มสูงขึ้น เห็นได้จากตัวเลขอ้างอิงโดย นายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ปี 2565 ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่จะมีแนวโน้มเติบโตทะลุ 10,000 คัน
 

จากกระแสตื่นตัวของตลาด EV ในไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงร่วมมือกับบริษัท Wallbox Chargers N.V. ประเทศสเปน รุกธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้าด้วยการชู "Supernova" เครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว หรือ DC Fast Charger ภายใต้แบรนด์ Wallbox ติดตั้งเป็นเครื่องแรกในเอเชียบริเวณหน้าร้านกาแฟคุณสายชล กฟผ. สำนักงานใหญ่ จ.นนทบุรี เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยสู่การเป็นฐานการผลิตด้านยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต อีกทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในที่สาธารณะให้สะดวกรวดเร็ว

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

  • “Supernova” ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว เครื่องแรกในเอเชีย 

สำหรับความน่าสนใจของ “Supernova” อยู่ที่ความสามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 60 กิโลวัตต์ ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที วิ่งได้ 100 กิโลเมตร พร้อมทั้งยังรองรับหัวชาร์จทุกค่ายรถยนต์ทั้งแบบ CCS2 และ CHAdeMO ซึ่งเรื่องนี้ทาง กฟผ. และวิศวกรด้านเทคนิคของ Wallbox Chargers N.V. ได้ทำการทดสอบการชาร์จไฟจาก Supernova กับรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 3 รุ่น คือ Nissan LEAF และ Mitsubishi Outlander PHEV ซึ่งเป็นหัวชาร์จแบบ CHAdeMO และ Audi e-tron ซึ่งเป็นหัวชาร์จแบบ CCS2 พบว่า การชาร์จไฟเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบต่อระบบของรถยนต์ไฟฟ้า
 

ไม่เพียงเท่านั้น เครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็วดังกล่าวยังเป็นอีกหนึ่งโมเดลธุรกิจที่น่าจับตามอง เนื่องจากเป็นเครื่องที่ออกแบบมาให้มีขนาดกะทัดรัด เหมาะกับการติดตั้งภายในแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน ผู้ประกอบการรถเช่า และสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่อรองรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มาใช้บริการอย่างน้อง 30 นาที–1 ชั่วโมง หากในอนาคตผู้ประกอบการต้องการเพิ่มกำลังไฟฟ้าเป็น 100 กิโลวัตต์ สามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้โดยไม่ต้องซื้อเครื่องอัดประจุไฟฟ้าใหม่ ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม หรือคอมมูนิตี้ที่มีคนเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

ทั้งนี้ ทาง กฟผ. ยังมีแผนขยายการติดตั้ง Supernova ภายในสถานี EleX by EGAT ซึ่งที่ผ่านมาได้เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของไทย เพื่อให้ผู้ใช้รถ EV มั่นใจในการใช้รถภายใต้ธุรกิจ EGAT EV Business Solutions โดยเฉพาะการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT บนถนนสายหลักและสายรอง สถานที่ราชการ โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โดยคาดว่าภายในต้นปี 2565 จะสามารถขยายสถานีเพิ่มเป็น 40–50 สถานี  

  • จับมือ “สวทช.” ผุดแล็บทดสอบ EV Charger

อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่สถานีชาร์จต้องมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม ครอบคลุมพื้นที่การเดินทางแล้ว สิ่งสำคัญคือ "มาตรฐานความปลอดภัย" ของสถานีชาร์จที่ต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าทั่วไป และยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง 

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

กฟผ. จึงร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สร้างความมั่นใจ พร้อมส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตหัวชาร์จไฟฟ้าในประเทศ โดยพัฒนาศูนย์ทดสอบหัวชาร์จไฟฟ้าที่มีมาตรฐานสากล IEC 61851 ณ ห้องทดสอบสถานีชาร์จ (PTEC) อาคารแชมเบอร์ 10 เมตร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เพื่อสร้างบรรทัดฐานด้านความปลอดภัยของระบบชาร์จสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดยสารสาธารณะ 

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

\"กฟผ.\" รุกธุรกิจสถานีชาร์จอีวี ชู \"Supernova\"

นับเป็นการยกระดับมาตรฐานการทดสอบ EV Charger จากเดิมที่สามารถทดสอบได้เพียง 60 กิโลวัตต์ ขยายการทดสอบเพิ่มเป็น 150 กิโลวัตต์ สำหรับการใช้งานของรถโดยสารสาธารณะไฟฟ้า หัวรถลากไฟฟ้า และเรือเฟอร์รี เพื่อให้ผู้สนใจผลิตหัวชาร์จไฟฟ้าสามารถนำมาทดสอบแทนการส่งหัวชาร์จไปรับรองมาตรฐานที่ต่างประเทศ ช่วยลดต้นทุนในการผลิต ลดระยะเวลาในการพัฒนา ส่งผลให้ราคาของหัวชาร์จไฟฟ้าไม่สูงมาก สามารถแข่งขันในตลาดได้ และเป็นการพัฒนาองค์ความรู้การทดสอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้าในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานด้วย โดยเริ่มเปิดให้บริการทดสอบแล้วตั้งแต่วันนี้