ครม. เคาะอัตราจ่าย "เงินบำเหน็จชราภาพ" ให้ "ผู้ประกันตน" อีก 3 เดือน

ครม. เคาะอัตราจ่าย "เงินบำเหน็จชราภาพ" ให้ "ผู้ประกันตน" อีก 3 เดือน

ครม. เคาะอัตราจ่าย "เงินบำเหน็จชราภาพ" เพิ่มให้แก่ "ผู้ประกันตน" อีกร้อยละ 2.95 ในช่วง 1 พ.ค.-31 ก.ค. ส่งผลผู้ประกันตนประมาณ 4.8 ล้านคน ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นในภาพรวม 4,553 ล้านบาท

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย มติคณะรัฐมนตรี วันนี้ (5 เมษายน 2565)  อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  กำหนดอัตราการจ่าย "เงินบำเหน็จชราภาพ" ให้แก่ "ผู้ประกันตน" ในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ 3 เดือน ตั้งแต่ 1 พ.ค. - 31 ก.ค.  65

โดยให้คำนวณเพิ่มจากอัตราเงินสมทบขึ้นอีกร้อยละ 2.95 ของค่าจ้างที่มีตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. - 31 ก.ค. 65 เพื่อให้สามารถจ่าย "เงินบำเหน็จชราภาพ" ได้เพิ่มขึ้น

ครม. เคาะอัตราจ่าย \"เงินบำเหน็จชราภาพ\" ให้ \"ผู้ประกันตน\" อีก 3 เดือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า จากมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากราคาพลังงานเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ให้ลดอัตราเงินสมทบที่นายจ้างและ "ผู้ประกันตน" จะต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมในระยะเวลา 3 เดือน

ส่งผลให้ "ผู้ประกันตน" บางส่วนจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพลดลง  เนื่องจากเป็นการคำนวณจากเงินที่มีการจ่ายเข้ากองทุน  ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายลดผลกระทบ โดย เสนอร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ โดยให้คำนวณอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีก 2.95  ตั้งแต่ พ.ค. - ก.ค. ซึ่งเป็นช่วงลดอัตราส่งเงินสมทบเข้ากองทุน ฯ

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน คาดว่ามีผู้ที่ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพที่จะได้รับผลกระทบจากการลดอัตราเงินสมทบ จำนวน  4,860,212 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของผู้นำส่งเงินสมทบ ม.33 และ ม.39 ทั้งหมดในช่วงระยะเวลาที่ลดอัตราเงินสมทบ และเมื่อมีการปรับอัตราจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จะมีผลให้ผู้ประกันตนได้รับ "เงินบำเหน็จชราภาพ" เพิ่มขึ้นในภาพรวม จำนวน 4,553 ล้านบาท 

โดยผู้ประกัน ม. 33 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น 1,032 บาท/คน รวมเป็นเงิน 4,232 ล้านบาท และผู้ประกันตนตาม ม.39 ได้รับ "เงินบำเหน็จชราภาพ" เพิ่มขึ้น 423 บาท/ คน รวมเป็นเงิน 321 ล้านบาท ทำให้ "ผู้ประกันตน" สามารถนำเงินที่เพิ่มขึ้นไปใช้จ่ายเพื่อยังชีพในยามชรา บรรเทาปัญหาการเงินของผู้ประกันตนได้บางส่วน 

อย่างไรก็ตาม ในอนาคต เมื่อสถานการณ์เหมาะสม กองทุนประกันสังคมอาจจะต้องมีการเก็บเงินสมทบเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาชดเชยกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้ต่อไป