“เพื่อไทย” ไล่จับผิด รบ.จงใจสร้างหนี้ แลกขยายสัมปทาน รฟฟ.สายสีเขียว

“เพื่อไทย” ไล่จับผิด รบ.จงใจสร้างหนี้ แลกขยายสัมปทาน รฟฟ.สายสีเขียว

“พรรคเพื่อไทย” จับผิดรัฐบาลจงใจสร้างหนี้ แลกขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไล่บี้ “บิ๊กตู่” จัดการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เปิดแข่งขันการประมูลอย่างเสรี

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2564 ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม ในฐานะรองหัวหน้าพรรค และนายจิรพงษ์ ทรงวัชราภรณ์ ส.ส.นนทบุรี ร่วมแถลงข่าวแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 

“เพื่อไทย” ไล่จับผิด รบ.จงใจสร้างหนี้ แลกขยายสัมปทาน รฟฟ.สายสีเขียว

นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากวันที่ 7 ธ.ค. 2564 ที่ผ่านมาหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า อยู่ระหว่างการเจรจาของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคมและ กทม. เรื่องหนี้สิน 3.2 หมื่นล้าน ว่า ขณะนี้ กทม.เป็นหนี้บีทีเอสอยู่ ขณะเดียวกันก็มีปัญหาเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานให้ อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเพราะไม่ได้เข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ซึ่งเรื่องนี้พรรคเพื่อไทย ติดตามและเปิดประเด็นเรื่องนี้ตั้งแต่ มี.ค. 2562 โดยสาเหตุที่ทำให้สายสีเขียวเป็นหนี้ เพราะปล่อยให้นั่งส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและเขียวใต้ฟรี 25 สถานี โดยส่วนต่อขยายเขียวใต้ตั้งแต่สถานีแบริ่งไปถึงเคหะบางปู ส่วนสายเขียวเหนือตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าวไปสิ้นสุดที่สถานีคูคต นั่งฟรีตั้งแต่ปี 2560 มาจนตอนนี้เกือบ 5 ปี จนเป็นปัญหารื่องหนี้สินสะสมที่ภาครัฐมีต่อบีทีเอส แบ่งเป็นสองก้อน คือหนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายเขียวเหนือและเขียวใต้ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทตั้งแต่เดือน เมษายน – กรกฎาคม 2564 และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถไฟฟ้าและเครื่องกล ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท รวม 3.2 หมื่นล้านบาท

“เพื่อไทย” ไล่จับผิด รบ.จงใจสร้างหนี้ แลกขยายสัมปทาน รฟฟ.สายสีเขียว

นายยุทธพงศ์ กล่าวอีกว่า เดิมสัญญาสัมปทานหลักช่วงสถานีหมอชิต – สถานีตากสินอ่อนนุชหรือเส้นไข่แดง เริ่มสัญญาตั้งแต่ปี 42 สิ้นสุดปี 2572 พอมาถึงยุค ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม.ช่วงปี 2555 กทม.ทำส่วนต่อขยายตากสินไปบางหว้า และอ่อนนุชไปแบริ่ง โดย กทม.สร้างเองและจ้างบีทีเอสเดินรถ สิ้นสุดสัญญาปี 2585 แต่ที่ไม่ชอบมาพากลเพราะ กทม.จะจ้างบีทีเอสที่วิ่งรถเส้นไข่แดงซึ่งหมดสัญญาปี 2572 แต่กลับไปขยายสัญญาสัมปทานให้ถึงปี 2585 ซึ่ง ป.ป.ช.กำลังตรวจสอบอยู่ ต่อมาในปี 2559 มีส่วนต่อขยายเขียวเหนือและเขียวใต้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เป็นผู้ว่าฯ กทม. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ไปจ้างบีทีเอสวิ่งรถโดยวิธีพิเศษ ไม่มีมติ ครม.หรือกฎหมายรองรับ และไปสิ้นสุดสัญญาปี 2585 ซึ่งทั้งสองเส้นนี้ไม่เก็บเงิน ให้ประชาชนนั่งฟรี ก็เป็นที่มาของหนี้มหาศาล ถามว่ามีรถไฟฟ้าที่ไหนให้ประชาชนนั่งฟรีตั้งแต่เปิดจนถึงวันนี้นานเกือบ 5 ปี และพอมาถึงปี 2564 มีความพยายามขยายสัญญาสัมทานทั้งเส้นไข่แดงและส่วนต่อขยายทั้งหมดออกไปอีก 40 ปีให้ไปหมดสัญญาปี 2602 แลกกับหนี้ทั้งหมด ซึ่งพรรคพท.คัดค้านมาโดยตลอด เพราะว่าไม่โปร่งใสเพราะไม่ได้เข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ