ไม่ได้ไป "เลือกตั้ง อบต." ควรทำอย่างไร? รู้ก่อนเสียสิทธิ์ทางการเมือง

ไม่ได้ไป "เลือกตั้ง อบต." ควรทำอย่างไร? รู้ก่อนเสียสิทธิ์ทางการเมือง

ใครที่ไม่ได้ไป "เลือกตั้ง อบต." อย่าลืมแจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งยังสามารถทำได้! แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน หลังจากนี้เท่านั้น พร้อมรู้วิธีแจ้งเหตุผ่านเว็บไซต์ stat.bora.dopa.go.th หากไม่ทำจะเสียสิทธิ์ทางการเมือง 2 ปี

ผ่านไปอย่างคึกคักสำหรับการ "เลือกตั้ง อบต." ทั่วไทย เมื่อวานนี้ (28 พ.ย.) ทำให้วันนี้คนไทยได้ลุ้นผลการเลือกตั้ง อบต. และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (สมาชิก อบต.) กันไปแล้วในหลายพื้นที่ โดยสามารถเช็คผลการเลือกตั้งในพื้นที่ของท่านได้ที่ ele.dla.go.th

ส่วนใครที่ไม่ได้ไปเลือกตั้ง อบต. ในครั้งนี้ ระวังจะเสียสิทธิ์ทางการเมืองถึง 2 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกมาเตือนประชาชนแล้วว่า หากมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบต. ได้ จะต้องแจ้งเหตุผลตามแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 1/8 โดยต้องแจ้งเหตุก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน หรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน หากไม่แจ้งเหตุก็อาจจะทำให้เสียสิทธิ์ทางการเมืองได้

 

  • ใครไม่ได้ไป "เลือกตั้ง อบต." ยังแจ้งเหตุได้หลังจากนี้ 7 วัน

เนื่องจากวันนี้ผ่านวันเลือกตั้ง อบต. (28 พ.ย.) ไปแล้ว ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ยังสามารถแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ หลังจากนี้ไม่เกิน 7 วัน คือระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2564 เท่านั้น เพื่อป้องกันการเสียสิทธิ์ โดยแจ้งเหตุได้ 3 ช่องทาง ดังนี้ 

1. ยื่นแบบ ส.ถ./ผ.ถ.1/8 ต่อนายทะเบียนอำเภอที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน 

2. นำแบบ ส.ถ./ผ.ถ.1/8 คลิกที่นี่ มากรอกรายละเอียด หรือทำเป็นหนังสือระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

3. แจ้งเหตุทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เว็บไซต์ www.bora.dopa.go.th หรือ www.ect.go.th หรือแอพพลิเคชัน Smart Vote

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

 

  • วิธีแจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ทำอย่างไร?

สำหรับวิธีที่ง่ายที่สุด แนะนำให้แจ้งเหตุผ่านทางออนไลน์ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ stat.bora.dopa.go.th  หรือแอพพลิเคชัน Smart Vote 

จากนั้นจะเห็นหัวข้อ "การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์"  ให้กรอกข้อมูลชื่อ-สกุล เลขบัตรประชาชน รหัสหลังบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด แล้วกดคลิกระบุไม่ใช่ Robot จากนั้นคลิก "ตรวจสอบข้อมูล"

ไม่ได้ไป "เลือกตั้ง อบต." ควรทำอย่างไร? รู้ก่อนเสียสิทธิ์ทางการเมือง

จากนั้นระบบจะโชว์ข้อมูลที่เรากรอกไว้ และโชว์ที่อยู่ของเขตเลือกตั้งที่เรามีสิทธิเลือกตั้ง จากนั้นให้เราระบุเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง มีให้เลือก 7 ข้อ) แล้วกด "บันทึกข้อมูล" แล้วระบบจะโชว์ว่า "แจ้งเหตุสำเร็จ"  

สำหรับเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีให้เลือก 7 ข้อ ได้แก่ 

1. มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล

2. เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

3. เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพหรือผู้สูงอายุ และไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

4. เดินทางออกนอกราชอาณาจักร

5. มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร

6. ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง

7. มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต.กำหนด

ไม่ได้ไป "เลือกตั้ง อบต." ควรทำอย่างไร? รู้ก่อนเสียสิทธิ์ทางการเมือง

ไม่ได้ไป "เลือกตั้ง อบต." ควรทำอย่างไร? รู้ก่อนเสียสิทธิ์ทางการเมือง

 

 

  • หากไม่แจ้งเหตุ จะทำให้เสียสิทธิ์ทางการเมืองอะไรบ้าง?

1. สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว. ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี

2. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี

3. เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ.หรือ ผ.ถ. ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี

4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี

5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหาท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษา ผู้บริหารท้องถิ่น ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี

6. ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี

-------------------------------------

อ้างอิง : สำนักบริหารการทะเบียนสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)