เลือก“ก้าวไกล” ได้แก้รัฐธรรมนูญ เจาะ 4 ปัจจัยเป้าหมาย 80 ที่นั่ง

เลือก“ก้าวไกล” ได้แก้รัฐธรรมนูญ เจาะ 4 ปัจจัยเป้าหมาย 80 ที่นั่ง

เคยมีโมเดลการเมืองพรรคชาติไทย ในยุค “บรรหาร ศิลปอาชา” ที่รณรงค์เรื่องนี้ ในห้วงปี 2538 มีคีย์เวิร์ดสำคัญ “ถ้าเลือกบรรหาร จะได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้ปฏิรูปการเมือง” จนที่สุดพรรคชาติไทยคว้าชนะเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลเมื่อปี 2538 ส่งผลให้ “บรรหาร” ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

พรรคก้าวไกล และผมในฐานะหัวหน้าพรรค พร้อมจะนำข้อเสนอของประชาชนฉบับนี้เป็นนโยบายทางการเมืองในการหาเสียง และหวังว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนที่เชื่อและเห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ยื่นได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เข้ามา ...” เป็นจุดยืนที่ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัญญาประชาชน หลังมติรัฐสภาเสียงข้างมากโหวตค่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่ “พริษฐ์ วัชรสินธุ” กับประชาชน 135,247 คน เป็นผู้เสนอ

ในสถานการณ์การเมืองที่นับถอยหลังสู่การเลือกตั้ง กติกาใหม่มีผลบังคับใช้ ย่อมมีพรรคได้เปรียบ เสียเปรียบ ทว่า “นโยบาย” ย่อมเป็นส่วนสำคัญ ที่จะเป็นจุดตัดสินอนาคตการเมืองแต่ละพรรค

เลือก“ก้าวไกล” ได้แก้รัฐธรรมนูญ เจาะ 4 ปัจจัยเป้าหมาย 80 ที่นั่ง

“พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์เนชั่นทีวี ถึงประเด็นนี้ว่า ไม่กังวลว่าจะถูกโจมตี ประเด็น ที่นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ถูกรัฐสภาตีตกไปหาเสียง เพราะพรรคจะเลือกเฉพาะบางส่วนเท่านั้นที่ตอบโจทย์ แต่คนที่น่ากังวลมากกว่า คือคนที่เคยให้สัตยาบันว่า รัฐธรรมนูญจะต้องมีการแก้ไข ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่รัฐสภาพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ จึงต้องเร่งมือปลดระเบิดเวลาที่เป็นรัฐธรรมนูญปี 2560 ให้ได้

พิธา”ยอมรับว่า แม้จะผิดหวังที่รัฐสภาตีตกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เป็นครั้งที่ 2 แต่ก็ไม่ผิดคาด เพราะรู้อยู่แล้วว่าความต้องการของชนชั้นนำในประเทศไทย ไม่ต้องการให้อำนาจประชาชนไปกระทบถึง แต่ผิดหวังเพราะเป็นโอกาสที่จะทุเลาความรุนแรงทางการเมืองบนถนนให้เข้ามาสู่สภา

เลือก“ก้าวไกล” ได้แก้รัฐธรรมนูญ เจาะ 4 ปัจจัยเป้าหมาย 80 ที่นั่ง

ต่อข้อถามว่า การนำร่างประชาชนไปหาเสียง อาจถูกนำไปเชื่อมโยงกับม็อบ จนเสี่ยงถูกนำไปสู่การร้อง ให้ยุบพรรคในอนาคตได้นั้น หัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า คนที่มีแนวคิดดังกล่าวอาจจะมองหยาบไป และไม่ได้เข้าใจความต้องการของประชาชน หรือ กลุ่ม Re-Solution ที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทั้งการยกเลิกวุฒิสภา หรือสภาเดี่ยว มีการตรวจสอบที่มาอำนาจการตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ต้องการแก้ไขจุดอ่อนเพื่อลดแรงปะทะระหว่างสถาบันฯ กับพี่น้องประชาชน ให้เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งเป็นระบบที่สถาบันฯอยู่คู่กับประชาธิปไตยได้ เป็นความต้องการที่จะต้องทำ

แน่นอนว่า ทางฝ่ายที่มีการประท้วงข้างนอก หวังว่าจะให้สภาฯ ตามให้ทัน อยากให้สังคมกับสภาฯเป็นสิ่งที่สะท้อนกันไปมา ซึ่งต้องมีคนที่คอยรับฟัง ไม่เห็นพวกเขาเป็นศัตรู ไม่เห็นว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง เพราะเป็นส่วนที่อันตรายมากสำหรับสังคมไทย ต้องหาวิธีที่จะกลับมาหันหน้าคุยกัน และถอยกันคนละก้าวให้ได้” 

หัวหน้าพรรคก้าวไกล ประเมินถึงการเลือกตั้งครั้งหน้าว่า น่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลได้ประโยชน์และมั่นใจว่าจะชนะ ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายข้าราชการ งบประมาณ การแบ่งเขตเลือกตั้ง วันเลือกตั้งที่จะทำให้คนทำงานไม่สามารถมาเลือกตั้งได้สะดวก ซึ่งเมื่อรัฐบาลพร้อมเมื่อไหร่ คาดว่าคงจะยุบสภาฯ ทันที

สำหรับทิศทางของพรรคก้าวไกล “พิธา”เชื่อมั่นว่าน่าจะดีขึ้น จากการทำงานอย่างหนัก ลงพื้นที่ และจากผลโพลล์ต่างๆ จึงพยายามที่จะสู้เต็มที่ในสิ่งที่ทำได้ ส่วนสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ในการลงคะแนนแต่ละพื้นที่ เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับความจริงว่า กฎกติกาที่อาจเอื้อประโยชน์ให้กับบางพรรค ก้าวไกลจึงต้องพร้อมสู้

เลือก“ก้าวไกล” ได้แก้รัฐธรรมนูญ เจาะ 4 ปัจจัยเป้าหมาย 80 ที่นั่ง

“พิธา” มั่นใจว่า คะแนนของพรรคจะมีมากขึ้นจากการทำงานภายใน ขณะที่ปัจจัยภายนอกทั้งการบริหารโควิด น้ำท่วม เศรษฐกิจ ที่ผิดพลาด น่าจะทำให้ประชาชนหิวโหยการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราจะนำเสนอตัวเองเป็นตัวแทนแห่งการเปลี่ยนแปลงให้กับพี่น้องประชาชน

ส่วนขั้วฝ่ายค้านด้วยกันเองอย่างพรรคเพื่อไทย ที่ถูกมองว่าเป็นคู่แข่ง ที่ต้องชิงฐานเสียงเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า ในระบบประชาธิปไตยการมีการแข่งขันถือเป็นเรื่องดี ทำให้มีนโยบายใหม่ๆ มากขึ้น กระตุ้นให้มีการลงพื้นที่มากขึ้น ซึ่งมองว่าไม่มีผลเสียตรงไหน และแน่นอนว่า ทั้งเพื่อไทยและก้าวไกล ต่างเป็นพรรคฝ่ายค้านร่วมกัน ต้องมีเอกภาพแม้อยู่คนละพรรคกัน จุดยืนมีเหมือน มีต่างกัน แต่สามารถทำงานร่วมกันได้ แสวงจุดร่วมเพื่อให้ประชาชนได้ผลประโยชน์มากที่สุดจากการทำงานของฝ่ายค้าน

++ ยุทธศาสตร์“ก้าวไกล”เป้าหมายทะลุร้อย ++

คำประกาศของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่จะนำประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญ “ฉบับประชาชน” ที่ถูกรัฐสภาโหวตคว่ำ ไปจัดทำเป็นนโยบายของพรรคเพื่อใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ทำให้หลายฝ่ายจับตาถึงยุทธศาสตร์ของพรรคที่จะนำประเด็นอ่อนไหวในร่างรัฐธรรมนูญไปประกาศเป็นนโยบาย จะได้เปรียบในสนามเลือกตั้งจริงหรือ

ในทางยุทธศาสตร์ ก้าวไกลประเมินสถานการณ์เรื่องนี้ไว้แล้ว จึงยกมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการหาเสียงเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในปีหน้า 

การนำประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกตีตกไป มาใช้เป็นนโยบายหาเสียง เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์และจุดยืนของพรรคก้าวไกลที่ว่า พรรคคือผู้นำการเปลี่ยนแปลงตัวจริง

ส่วนยุทธศาสตร์ด้านอื่นๆ ก้าวไกลได้วางไว้อย่างรอบด้าน พร้อมทั้งตั้งเป้าว่า จะได้ ส.ส.มากกว่า 100 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็น ส.ส.เขตไม่น้อยกว่า 80 เขต และใน 80 เขตนี้ ถือเป็น “เขตเลือกตั้งยุทธศาสตร์” ของพรรค ที่ได้เก็บข้อมูล สถิติทุกด้านแล้ว จึงมั่นใจว่ามีหวัง และน่าจะได้รับชัยชนะ สามารถปักธงได้ 

สำหรับเขตยุทธศาสตร์ที่พรรคก้าวไกล ปักหมุด 80 ที่นั่ง ได้ประมวลผลจาก 4 ปัจจัย ที่จะเป็นข้อได้เปรียบคือ

1.เป็นเขตที่ผู้สม้คร ส.ส.เคยแพ้ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย หรือพรรคอื่น (แต่ส่วนใหญ่เป็นเพื่อไทย) ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ด้วยคะแนนห่างกันไม่เกิน 5%

2.เป็นพื้นที่ที่มีคะแนนเลือกตั้งท้องถิ่นของพรรคดีขึ้นเรื่อยๆ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล ถึงองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)

3.เป็นพื้นที่ที่มีประเด็นขัดแย้ง หรือกระแสต่อต้านเมกะโปรเจคที่สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เช่น นิคมอุตสาหกรรมจะนะ จ.สงขลา หรือพื้นที่ที่มีโครงการสร้างเขื่อนที่ประชาชนไม่เห็นด้วย

และ 4.เป็นพื้นที่ที่มีคนรุ่นใหม่จำนวนมาก มีมหาวิทยาลัย มีชุมชนของคนรุ่นใหม่ หรือวัยรุ่นมาก

สำหรับการทำแคมเปญหาเสียง นอกจากแคมเปญระดับชาติ หรือนโยบายที่เป็นวาระแห่งชาติ เช่น เกษตร อุตสาหกรรม สาธารณสุข ฯลฯ แล้ว ก้าวไกลยังมีนโยบายเจาะพื้นที่ หรือ “เซกเมนต์” โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหา มีความขัดแย้ง ภายใต้หลักคิดที่ว่า “อะไรที่ทำให้เขานอนไม่หลับ เราจะทำให้กระดิ่งในใจเขาดังขึ้น”

เลือก“ก้าวไกล” ได้แก้รัฐธรรมนูญ เจาะ 4 ปัจจัยเป้าหมาย 80 ที่นั่ง

ส่วนประเด็นร้อน เรื่องนโยบายแก้รัฐธรรมนูญ ก้าวไกลจะชูนโยบาย “เลือกก้าวไกล ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ

แนวทางนี้ เคยมีโมเดลการเมืองพรรคชาติไทย ในยุค “บรรหาร ศิลปอาชา” ที่รณรงค์เรื่องนี้ ในห้วงปี 2538 โดยมีคีย์เวิร์ดสำคัญ “ถ้าเลือกบรรหาร จะได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้ปฏิรูปการเมือง” จนที่สุดพรรคชาติไทยคว้าชนะเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาลเมื่อปี 2538 ส่งผลให้ “บรรหาร” ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี 

จากจุดนั้น ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด... 

“ก้าวไกล” จึงมีความหวัง จะเป็นพรรคที่สร้างจุดเปลี่ยนทางการเมืองอีกครั้ง