จัดแข่งม้าวันสุดท้าย 'สนามม้านางเลิ้ง' ปิดตำนาน101ปี

จัดแข่งม้าวันสุดท้าย 'สนามม้านางเลิ้ง' ปิดตำนาน101ปี

ปิดตำนาน101ปี "สนามม้านางเลิ้ง" ปชช.ล้มหลามชมแข่งม้าเป็นวันสุดท้าย ก่อนจะปิดตัวลง

ประชาชนจำนวนมาก ต่างทยอยเดินทางเข้ามาดูม้าแข่งอย่างล้มหลาม เนื่องจากมีการจัดแข่งม้าเป็นวันสุดท้าย สนามม้านางเลิ้งกำลังจะมีอายุครบ 102 ปี ในวันที่ 18 ธ.ค.2561 ก่อนที่จะปิดตัวลง เพื่อส่งมอบคืนพื้นที่ให้กับทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในวันที่ 4 ต.ค. นี้ ที่ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนามม้านางเลิ้ง)

การปิดตำนานสนามแข่งม้าที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่งหนังสือถึงประธานคณะกรรมการอำนวยการ ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ลงวันที่ 4 เมษายน เรื่องการบอกเลิกสัญญาเช่าและขอให้ส่งมอบสถานที่เช่า

จัดแข่งม้าวันสุดท้าย \'สนามม้านางเลิ้ง\' ปิดตำนาน101ปี

ในหนังสือระบุว่า ตามที่ราชตฤณมัยสมาคมฯ เป็นผู้เช่าอาคารและที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณสนามม้านางเลิ้ง จำนวน 3 สัญญาเช่า ฉบับที่ 2976/2542, 2977/2542 และ 2978/2542 ลงวันที่ 29 กันยายน 2542 นั้น ปรากฏว่าทั้งสามสัญญามีกำหนดอายุสัญญาเช่า 6 เดือน นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2542 เป็นต้นไป ในอัตราเช่าเดือนละ 30,000 บาท, 10,000 บาท และ 10,000 บาท ตามลำดับ ซึ่งรายละเอียดและเงื่อนไขสัญญาเช่าเป็นที่ทราบกันนั้น

 

ปิด

 

ปัจจุบันสัญญาเช่าทั้งสามฉบับ ได้ครบกำหนดอายุสัญญาเช่ามานานแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ จำเป็นต้องใช้ที่ดินและอาคารดังกล่าว จึงไม่สามารถให้ราชตฤณมัยสมาคมฯ เป็นผู้เช่าได้อีกต่อไป ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ประสานและแจ้งให้ราชตฤณมัยสมาคมฯ ทราบในเบื้องต้นแล้ว

ในแง่ของตำนานการก่อเกิดราชกรีฑาสโมสร และราชตฤณมัยสมาคมฯ ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษา เพราะสนามแข่งม้าทั้งสองแห่ง เป็นมรดกการพัฒนาสังคมไทยก้าวสู่ความเป็นตะวันตกของรัชกาลที่ 5

จัดแข่งม้าวันสุดท้าย \'สนามม้านางเลิ้ง\' ปิดตำนาน101ปี

 หลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสยุโรป เมื่อ ร.ศ.116 (พ.ศ.2441) ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่นา 200 ไร่ อันเป็นกรรมสิทธิ์ของพระคลังข้างที่ โอนให้เป็นสมบัติของสนามแข่งม้าและสโมสรกีฬาแบบตะวันตกแห่งแรกในสยามประเทศ ภายใต้นาม “ราชกรีฑาสโมสร” หรือ “สปอร์ตคลับ” แหล่งประทับตราความเป็นชนชั้นนำของสังคมไทย
ต่อมา สปอร์ตคลับไม่พอรองรับกับความต้องการของชนชั้นนำใหม่ จึงมีการขอพระราชทานที่ดินของหลวงที่บริเวณนางเลิ้ง จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างเป็นสโมสรกีฬาแห่งใหม่ในนาม “ราชตฤณมัยสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์” เมื่อปี 2459

ราชกรีฑาสโมสร กับ ราชตฤณมัยสมาคมฯ เป็นสนามแข่งม้าและสโมสรกีฬาแบบตะวันตก แต่มีการบริหารต่างกัน จึงมีเรียกขานให้เข้าใจกันง่ายๆ ว่า “สนามฝรั่ง” กับ “สนามไทย”

จัดแข่งม้าวันสุดท้าย \'สนามม้านางเลิ้ง\' ปิดตำนาน101ปี

นับตั้งแต่ปี 2500 มีการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจไทย เห็นได้ชัดว่าที่ “สนามฝรั่ง” คือป้อมปราการของผู้ดีเก่า ไม่เปิดให้เศรษฐีใหม่เดินเข้ามาง่ายๆ ผิดกับ “สนามไทย” ที่ตกอยู่ในมือกลุ่มอำนาจในชนชั้นปกครองผสมผสานกับผู้ดีเก่า

 จากวัตถุประสงค์เดิมเพื่อการสมาคมสังสรรค์ กีฬาและเริงรมย์ ค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นแหล่งการพนันถูกกฎหมาย และแน่นอนว่ามันได้กลายเป็นหนึ่งในแหล่งทุนทางการเมืองระดับหนึ่ง

สนามม้ายุค “ทหารการเมือง”
         
ก่อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองยุค 14 ตุลาคม 2516 มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายคนเข้ามาคุมสนามม้านางเลิ้ง เริ่มจากยุคของ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา, พล.อ.สุรสิทธิ์ จารุเศรณี และ พล.อ.โชติ หิรัณยัษฐิติ

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ประชาธิปไตยเบ่งบาน บุญวงศ์ อมาตยกุล ได้รับการสนับสนุนจาก ประทวน รมยานนท์ นักการเมืองแห่งพรรคชาติไทย เข้ามาคุมสนามนางเลิ้ง พร้อมกับ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่มีความใกล้ชิดกับพรรคชาติไทย

จัดแข่งม้าวันสุดท้าย \'สนามม้านางเลิ้ง\' ปิดตำนาน101ปี

พ.ท.สนั่น ขจรประศาสน์ (ยศขณะนั้น) เริ่มเข้าสู่ราชตฤณมัยสมาคมฯ ในฐานะนายทหารคนสนิท พล.อ.ฉลาด แต่หลังเกิด “กบฏ 26 มีนา” กลุ่มนายทหารสาย พล.อ.ฉลาด ต้องรับโทษติดคุกยกแผง

"เสธ.ยศ” พล.อ.ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ได้เข้ามาประธานคณะกรรมการอำนวยการสนามม้านางเลิ้ง และหลังนายทหารลูกน้อง พล.อ.ฉลาด ได้รับการนิรโทษกรรมคดีกบฏ 26 มีนา “เสธ.ยศ” ก็เปิดโอกาสให้ “เสธ.หนั่น” กับ “เสธ.อ้าย” พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เข้ามาเป็นกรรมการแข่งม้า

เมื่อ “เสธ.หนั่น” วางมือจากสนามม้านางเลิ้งไปเล่นการเมืองเต็มตัว ก็ส่งไม้ต่อให้เพื่อนร่วมชะตากรรม “เสธ.อ้าย” ดูแลสนามม้านางเลิ้งต่อไป

          สนามม้ายุค “เสธ.อ้าย”

ว่ากันว่า “เสธ.อ้าย” พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ บริหารสนามม้านางเลิ้งมายาวนานกว่าใคร นับแต่ปี 2540 เป็นต้นมา พล.อ.วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ ประธานกรรมการราชตฤณมัยสมาคมฯ และ “เสธ.อ้าย” เลขาธิการกิตติมศักดิ์ และประธานอำนวยการแข่งม้า

อย่างไรก็ตาม สนามม้านางเลิ้ง มีภาพลักษณ์เป็นพื้นที่ของนักเสี่ยงโชค และมี “โต๊ดเถื่อน” เกิดขึ้นมาแต่ยุคก่อน 14 ตุลา อาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่พิเศษที่การพนัน “ถูกกฎหมาย-ผิดกฎหมาย” อยู่ร่วมกันในสนามเดียวกันได้ จึงเป็นแหล่งชุมนุมผู้มีอิทธิพล และคนมีสี

จัดแข่งม้าวันสุดท้าย \'สนามม้านางเลิ้ง\' ปิดตำนาน101ปี

หลังปี 2535 กองทัพเคยมีนโยบายปราบ “ทหารมาเฟีย” โดยมอบหมายให้ พล.ต.บุญยัง บูชา ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) ในยุคนั้นเข้าไปปราบโต๊ดเถื่อน แต่ก็ทำได้ช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น 

ปี 2545 “เสธ.อ้าย” ดึง พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ลูกชาย “เสธ.ยศ” มาเป็นกรรมการประชาสัมพันธ์ โดยคนในแวดวงอาชาต่างทราบกันดีว่า “เสธ.ไอซ์” พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต และ “ชาติซ้าย” สมชาติ เจริญวัชรวิทย์ เป็นผู้มากบารมีแห่งสนามม้านางเลิ้ง

 

 สนามม้ายุค “บูรพาพยัคฆ์”

ปี 2559 สนามม้านางเลิิ้งมีการเปลี่ยนแปลง หรือที่สื่อบางสำนักบอก เกิดการ “ปฏิวัติเงียบ” ยึดสนามม้าโดยกลุ่มบูรพาพยัคฆ์

เมื่อ “บิ๊กน้อย” พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการกิตติมศักดิ์ และประธานอำนวยการแข่งม้า แทน พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่เหลือเพียงตำแหน่งรองประธานอำนวยการราชตฤณมัยสมาคมฯ ตำแหน่งเดียว

จัดแข่งม้าวันสุดท้าย \'สนามม้านางเลิ้ง\' ปิดตำนาน101ปี

เหตุที่มีการพาดพิงถึง “บูรพาพยัคฆ์” เพราะ “บิ๊กน้อย” พล.อ.วิชญ์ เป็นน้องรักของ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกลาโหม แถมยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดฯ

พร้อมกันนั้น บอร์ดบริหารราชตฤณมัยสมาคมฯ มีมติแต่งตั้งให้ “บิ๊กน้อย” พล.อ.วิชญ์ เป็นกรรมการผู้ควบคุมโต๊ดอีกตำแหน่ง พร้อมทีมงานคนรุ่นใหม่เข้ามาดูแลในวันแข่งม้า จึงมีชื่อ “ผู้การโจ๊ก” พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว เข้ามาปราบปรามโต๊ดเถื่อนด้วย แต่ก็ทำได้เพียงผิวเผิน

พล.อ.วิชญ์ พยายามจะปรับโฉมราชตฤณมัยสมาคมฯ ไม่ให้คนมองว่าเป็นสนามกีฬาม้าแข่งอย่างเดียว แต่มีสนามกอล์ฟ สระว่ายน้ำ ทำให้ราชตฤณมัยสมาคมฯ เป็นสถานที่สำหรับประชาชนทั่วไปที่สามารถเข้ามาใช้บริการได้

จัดแข่งม้าวันสุดท้าย \'สนามม้านางเลิ้ง\' ปิดตำนาน101ปี

ปัญหาของสนามม้านางเลิ้งคือ ขาดการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ ทำให้เจอกับปัญหาขาดทุนสะสม จึงต้องหาแนวทางในการปรับปรุงขนานใหญ่ นำมาซึ่งการเฟ้นหาเอกชนเข้ามาร่วมทุนบริหารที่มีศักยภาพด้านเงินทุน และแนวคิดที่ต่อยอดรายได้จากทรัพยากรที่มีอยู่

ในที่สุด เอกชัย ล้อเจริญวัฒนะชัย ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสื่อสารองค์กร โครงการคอมมูนิตี้ ไฮว์ ได้เข้ามาเป็นตัวเชื่อมสำคัญสำหรับการปรับโฉมใหม่ให้แก่สนามม้านางเลิ้ง สำหรับ “เอกชัย” เป็นบุตรชายของ บำรุง ล้อเจริญวัฒนะชัย ประธานหอการค้าจังหวัดสระแก้ว และกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดฯ 

มิทันที่สนามม้านางเลิ้งจะปรับโฉมใหม่ให้แล้วเสร็จ ก็ถึงแก่กาลอวสาน เมื่อสำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ต่อสัญญา และเป็นการปิดขุมทรัพย์คนมีสีไปโดยปริยาย