นายกฯ ตั้ง 'ชาดา' ที่ปรึกษา คกก.แก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชนรายย่อย

นายกฯ ตั้ง 'ชาดา'  ที่ปรึกษา คกก.แก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชนรายย่อย

นายกฯ ลงนามตั้ง "ชาดา" ที่ปรึกษา คกก.แก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชนรายย่อย "กิตติรัตน์" ย้ำเจ้าหนี้ไม่ต้องกลัวหนี้สูญ แต่ห้ามเก็บเกินอัตราดอกเบี้ย

ที่รัฐสภา นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายชาดา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันแถลงข่าว เกี่ยวกับการเปิดรับลงทะเบียนประชาชนเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

โดย นายกิตติรัตน์ เผยว่า ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.67 ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามแต่งตั้ง นายชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการกำกับและแก้ไขหนี้สินภาคประชาชนรายย่อย ที่ตนเอง ทำหน้าที่เป็นประธานอยู่ ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขหนี้นอกระบบ ซึ่งตนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอยู่

ดังนั้น การแต่งตั้ง นายชาดา ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะสามารถเชื่อมการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดเข้าด้วยกัน ตรงตามเจตนาของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการแก้ไขปัญหาหนี้สินทุกประเภทให้เบ็ดเสร็จครบวงจร

 

นายกิตติรัตน์ ยังกล่าวว่า ปัจจุบันมีลูกหนี้จำนวนแสนกว่ารายที่ได้มาลงทะเบียนแล้ว แต่เชื่อว่ายังไม่ใช่จำนวนที่แท้จริง และน่าจะยังมีอีกมาก ลูกหนี้เหล่านี้ตั้งคำถามว่า ตนเองมาลงทะเบียนแต่เจ้าหนี้ไม่มาลงทะเบียน จะดำเนินการอย่างไร จึงต้องขอเรียนตามหลักกฎหมายว่า หนี้นอกระบบเป็นการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กำหนด ดอกเบี้ยทั้งหมดถือเป็นโมฆะตั้งแต่บาทแรก ไม่ใช่ตั้งแต่อัตราที่เกิน ดังนั้นหากเจ้าหนี้ไม่มาลงทะเบียน ขอให้ลูกหนี้หยุดจ่ายดอกเบี้ยทันที แต่ก็ต้องจ่ายเงินต้นให้ครบ 

"เจ้าหนี้ซึ่งกังวลว่าลูกหนี้จะไม่ได้จ่ายคืนเงินต้น ขอให้มั่นใจว่าท่านจะได้รับการคุ้มครอง แต่เจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กำหนด" นายกิตติรัตน์ กล่าว

ดังนั้น การแต่งตั้ง นายชาดา ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะสามารถเชื่อมการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดเข้าด้วยกัน ตรงตามเจตนาของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการแก้ไขปัญหาหนี้สินทุกประเภทให้เบ็ดเสร็จครบวงจร

นายกิตติรัตน์ ยังกล่าวว่า ปัจจุบันมีลูกหนี้จำนวนแสนกว่ารายที่ได้มาลงทะเบียนแล้ว แต่เชื่อว่ายังไม่ใช่จำนวนที่แท้จริง และน่าจะยังมีอีกมาก ลูกหนี้เหล่านี้ตั้งคำถามว่า ตนเองมาลงทะเบียนแต่เจ้าหนี้ไม่มาลงทะเบียน จะดำเนินการอย่างไร

จึงต้องขอเรียนตามหลักกฎหมายว่า หนี้นอกระบบเป็นการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กำหนด ดอกเบี้ยทั้งหมดถือเป็นโมฆะตั้งแต่บาทแรก ไม่ใช่ตั้งแต่อัตราที่เกิน ดังนั้นหากเจ้าหนี้ไม่มาลงทะเบียน ขอให้ลูกหนี้หยุดจ่ายดอกเบี้ยทันที แต่ก็ต้องจ่ายเงินต้นให้ครบ 

"เจ้าหนี้ซึ่งกังวลว่าลูกหนี้จะไม่ได้จ่ายคืนเงินต้น ขอให้มั่นใจว่าท่านจะได้รับการคุ้มครอง แต่เจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กำหนด" นายกิตติรัตน์ กล่าว

 

 


พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์