23 วัน"รทสช." ไร้เงา "ประยุทธ์" จุดเปลี่ยนขั้วรัฐบาล เสี่ยงแพแตก

23 วัน"รทสช." ไร้เงา "ประยุทธ์"  จุดเปลี่ยนขั้วรัฐบาล เสี่ยงแพแตก

เมื่อการเมืองเข้าโหมดปกติ "รทสช." คงมีการเปลี่ยนแปลงภายในครั้งใหญ่เพื่อรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้

หาก "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ไม่ประกาศวางมือทางการเมือง พร้อมลาออกจากสมาชิกพรรคไปเมื่อ 11 ก.ค.2566 บรรยากาศที่พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ซอยอารีย์ครบรอบ 1 ปีวันก่อตั้งพรรค (3 ส.ค.)คงคึกครื้นมากกว่านี้

บรรดาคีย์แมน แกนนำพรรค ส.ส.ทั้งระบบเขตและปาตี้ลิตส์ ทยอยเดินทางมาตั้งแต่เช้าร่วมประกอบพิธี 2 ศาสนา คือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาพุทธ ถวายภัตตาคารเพล พร้อมร่วมรับประทานอาหารกลางวัน โดยมี พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรคเป็นประธาน ก่อนแยกย้ายกันกลับ

23 วัน\"รทสช.\" ไร้เงา \"ประยุทธ์\"  จุดเปลี่ยนขั้วรัฐบาล เสี่ยงแพแตก

ปัจจุบัน รทสช.เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยน หลังภาพลักษณ์ "พรรคลุงตู่" ค่อยๆจางหาย และกำลังถูกจับตาว่าจะกลายเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล หลังการเมืองพลิกขั้ว ภายใต้การนำ พรรคเพื่อไทย  ซึ่งจะเข้าโหมดกึ่งๆรัฐบาลแห่งชาติ  โดยมี "พรรคก้าวไกล" เป็นฝ่ายค้าน

เพราะ "เพื่อไทย"ไม่ได้มองเพียงแค่การหาเสียง สส.-สว.โหวตนายกฯผ่านเท่านั้น แต่ยังมองไกลไปถึงอนาคตที่ต้องการสร้างความแข็งแกร่ง ยิ่งมีเสียงในมือมากเท่าไหร่รัฐบาลจะมีเสถียรภาพมากเท่านั้น เพราะต้องรับมือฝ่ายค้านอย่างพรรคก้าวไกล 

แม้ รทสช. เป็นพรรคน้องใหม่เปิดตัวได้ไม่นาน แต่ประสบความสำเร็จไม่น้อยในการเลือกตั้ง 14 พ.ค.2566 ด้วยกระแสของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เป็นจุดขายส่งผลให้พรรคได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ 4,766,408 คะแนน ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 13 คน มาเป็นอันดับสาม รองจากพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย 

การประกาศเฟดตัวออกจากการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ แม้เป็นเรื่องไม่เหนือความคาดหมาย แต่บั่นทอนขวัญกำลังใจคนในพรรคไม่น้อย รวมถึงการขับเคลื่อนพรรคต่อจากนี้ยามไร้แม่เหล็กดึงดูด ต้องยอมรับว่ามีโอกาสที่แกนนำ รทสช.แต่ละคนต้องขบคิดและตัดสินใจอนาคตการเมืองว่าควรขยับขยายหาบ้านหลังใหม่หรือไม่

23 วัน\"รทสช.\" ไร้เงา \"ประยุทธ์\"  จุดเปลี่ยนขั้วรัฐบาล เสี่ยงแพแตก

ที่เห็นเค้าลางนานแล้ว "เสี่ยเฮ้ง" สุชาติ ชมกลิ่น รองหัวหน้าพรรค รทสช. หลังมีกระแสข่าวย้ายไปอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ตามคำชวน เฉลิมชัย ศรีอ่อน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นการพูดทีเล่นทีจริง พร้อมย้ำว่าไร้ปัญหาแกนนำ รทสช.บางกลุ่ม

เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวคราวว่า "เสี่ยเฮ้ง" ไม่พอใจกับแนวทางการทำงานของแกนนำพรรคสาย พีระพันธุ์-เอกนัฐ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค มักจะดันแต่คนของตัวเองที่เป็นอดีตปชป.-กปปส. 

อีกทั้งการย้ายมาอยู่ รทสช. ของ เสี่ยเฮ้ง เพื่อตามมาช่วยงานพล.อ.ประยุทธ์ เมื่อประกาศวางมือก็รู้สึกใจเป๋ พร้อมยอมรับว่าการจะอยู่กับ รทสช.ต่อหรือไม่ ต้องดูทิศทาง สส.คนอื่นด้วย เพราะชวนกันมาหลายคน ว่ายังโอเคหรือไม่

ทั้งนี้จุดแตกหักน่าจะเป็นวัน "พีระพันธุ์-เอกนัฐ" ขน ส.ส.ในสังกัดเข้าหารือพรรคเพื่อไทย ตามคำเชิญเพื่อรับฟังความคิดเห็นทิศทางโหวตนายกฯ พร้อมร่วมกันแถลงข่าว เมื่อ 22 ก.ค.2566 แต่ไม่มีการแจ้งให้ "เสี่ยเฮ้ง" ทราบในฐานะรองหัวหน้าพรรค และควรจะเดินทางไปร่วมด้วย

โดยปัจจุบัน "เสี่ยเฮ้ง" มี สส.ในมือ อาทิ จิรวุฒิ สิงโตทอง ส.ส.ชลบุรี เขต 4  ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ ปาร์ตี้ลิสต์ จากฉะเชิงเทรา ธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ส.ส.เพชรบุรี เขต 1 และอภิชาติ แก้วโกศล ส.ส.เพชรบุรี เขต 3  และมีแนวโน้มจะไปอยู่พรรคภูมิใจไทย

23 วัน\"รทสช.\" ไร้เงา \"ประยุทธ์\"  จุดเปลี่ยนขั้วรัฐบาล เสี่ยงแพแตก

ส่วนอดีตกลุ่มสามมิตรอย่าง อนุชา นาคาศัย และ ธนกร วังบุญคงชนะ ซึ่งมีเหตุผลที่ย้ายมา รทสช.ไม่ต่างกับกลุ่มเสี่ยเฮ้ง คือมาช่วยงาน พล.อ.ประยุทธ์  ส่วนอนาคตอาจมีแนวโน้มต้องกลับไปพึ่งบารมี "สมศักดิ์ เทพสุทิน" ที่ปัจจุบันสังกัดพรรรเพื่อไทยหรือไม่ ก็เป็นเรื่องน่าคิด

โดย กลุ่มเสี่ยเฮ้ง-อดีตกลุ่มสามมิตร ได้พูดคุยและระบายความในใจกันมาตลอด และไม่สบายใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ลึกๆแล้วไม่อยากเป็นสาเหตุทำให้พรรคแตก ปัจจุบันทำได้เพียงดูท่าที่ เมื่อถึงเวลาเหมาะสม อาจต้องขยับขยายกันออกไป

นอกจากนี้ยังมี ส.ส.เขตอีกหลายคน  โดยเฉพาะ กลุ่มส.ส.ภาคใต้ เช่น จ.ชุมพร ที่ชนะยกจังหวัด หรือ จ.สุราษฎร์ธานี ที่ได้มา 6 ที่นั่งย่อมส่งผลกระทบแน่นอน 

เชื่อกันว่าหลังสถานการณ์การเมืองเข้าสู่โหมดปกติ มีรัฐบาล และ นายกฯ เข้ามาบริหารประเทศ ส่วน รทสช. ไม่ว่าสุดท้ายแล้วจะเป็นพรรคที่ต้องรับบทบาทฝ่ายค้าน หรือ พลิกมาเป็นขั้วรัฐบาล ตามกลเกมการเมืองที่เปลี่ยนไป 

แต่ที่แน่ รทสช. คงมีการเปลี่ยนแปลงภายในครั้งใหญ่เพื่อรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้