ภูเก็ตเปลี่ยน ก้าวไกลแลนด์สไลด์ ผลนับคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ชนะทั้ง 3 เขต

ภูเก็ตเปลี่ยน ก้าวไกลแลนด์สไลด์ ผลนับคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ชนะทั้ง 3 เขต

ผลเลือกตั้ง 2566 ภูเก็ตเปลี่ยน ก้าวไกลแลนด์สไลด์ นับคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ชนะทั้ง 3 เขต

ผลเลือกตั้ง 2566 เวลา 12.36 น. วันที่ 15 พ.ค. 66 จังหวัดภูเก็ต การนับคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. จาก กกต. ที่นับคะแนนเลือกตั้งแบบ ส.ส. เขต แล้ว 100 เปอร์เซนต์ มีผู้ใช้สิทธิ์ประมาณ 74.99 เปอร์เซนต์ 

ผลเลือกตั้ง66 ภูเก็ต มีทั้งหมด 3 เขต จำนวน ส.ส. 3 ราย ปรากฎว่า พรรคก้าวไกล ชนะทั้ง 3 เขต

ส่วนความคืบหน้า การนับคะแนนแบบรายเขตเลือกตั้ง จะอัปเดตให้ทราบต่อไป

วิเคราะห์ “ก้าวไกลยกภูเก็ต” พรรคการเมืองเดิมตัดคะแนนกันเอง

สำหรับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของจังหวัดภูเก็ตที่ผู้สมัครจากพรรคกล้าไกล กวาดที่นั่งส.ส.ยกจังหวัด 3 เขต

เขตเลือกตั้งที่1 ว่าที่ร้อยตรีสมชาติ เดชถาวรเจริญ ได้ 21,252 คะแนน

เขตเลือกตั้งที่ 2 นายเฉลิมพงศ์ แสงดี ได้ 21,913 คะแนน

เขตเลือกตั้งที่ 3 นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล 20,421 คะแนน

นับเป็นปรากฎการณ์หักปากเซียนกอีกครั้ง เพราะไม่คาดคิดว่าภูเก็ตจะมีการแลนด์สไลด์ให้กับพรรคก้าวไกล แทนที่จะเทคะแนนให้พรรครวมไทยสร้างชาติหรือพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากเมื่อเทียบผู้สมัครพรรคก้าวไกลทั้งหมดเป็นคนหน้าใหม่และรุ่นใหม่ รวมทั้งยังไม่ได้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากนัก 

นายรังสิมันต์ กิ่งแก้ว นักวิชาการอิสระ วิเคราะห์ถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะพิจารณาเฉพาะผลการเลือกตั้งอย่างเดียวไม่ได้  แม้ว่าพรรคก้าวไกลจะได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 ทั้ง 3 เขตเลือกตั้ง แต่เมื่อดูจากคะแนนเสียง สิ่งที่น่าสังเกตุ คือ ผู้ที่ได้คะแนนลำดับหนึ่งมีสัดส่วนของคะแนนประมาณ 26-31% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขต นั่นหมายความว่า แม้จะได้รับการเลือกตั้งให้เป็น ส.ส.ซึ่งไม่ได้หมายความว่าได้เสียงคะแนนส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 

สิ่งที่อยากบอก คือ การแข่งขันที่สูงมากของจังหวัดภูเก็ตทำให้คะแนนเสียงกระจายไปยังพรรคต่างๆ หากไปดูตัวเลขของพรรคการเมืองในอดีตจะมีการแข่งขันเพียง 2 พรรคหลัก ส่วนที่เหลือจะเป็นเพียงไม้ประดับ แต่ในครั้งนี้มีพรรคการเมืองที่น่าสนใจหลายพรรค จึงทำให้มีการแบ่งคะแนนเสียงกันไป

 “สิ่งที่ต้องชื่นชมพรรคก้าวไกล คือ มีฐานคะแนนเสียงที่แน่น และหากเทียบจำนวนคะแนนจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาถือว่าไม่ต่างกันมากนัก นอกจากนี้ยังมีการดึงคะแนนเสียงพรรคเพื่อไทยไปด้วยบางส่วน แต่ในส่วนของพรรคหลักที่เคยอยู่ในภูเก็ตเอง จะเห็นได้ว่ามีการแตกตัวและกระจายคะแนนเสียงกันไปจำนวนมาก จึงทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับพรรคก้าวไกลที่มีฐานเสียงคะแนนแน่น” นายรังสิมันต์ กล่าวด้วยว่า 

จากที่มีบางส่วนมองว่าเกิดจากพลังของเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งส่วนนี้อาจจะต้องมีการยอมรับว่า กระแสความเปลี่ยนแปลงมีทุกระดับชั้น ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเจเนอร์เรชั่นเด็ก แต่กลุ่มนี้มีความต้องการเปลี่ยนแปลงเยอะกว่าเจเนอร์เรชั่นอื่นๆ ฉะนั้นต้องให้โอกาสสำหรับคนที่ได้รับเลือกให้เข้าไปทำงาน แม้อาจจะยังไม่ได้รู้จักหน้าตากันมากนัก  แต่ด้วยเป็นคนรุ่นใหมเป็นข้อดีในการกล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออกที่สะท้อนให้ภาคการเมืองเห็นโครงสร้างเชิงนโยบาย ประกอบกับผู้นำพรรคก้าวไกลเก่งมากในเรื่องประชาสัมพันธ์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆในการนำเสนอทำให้กระแสดี 

อย่างไรก็ตาม นายรังสิมันต์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนั้นคงไม่ได้เกิดขึ้นเร็วนัก สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ เรามีผู้แทนคนใหม่แน่ๆ แต่ตนเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างจะต้องใช้เวลา และขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายสำหรับพรรคที่ได้รับคะแนนสูงที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เพราะความคาดหวังสูง ซึ่งบางเรื่องคงไม่สามารถทำได้ง่ายนัก ต้องให้ความธรรมไม่ว่าจะเป็นพรรคไหนก็ตาม และบางเรื่องหากเป็นรัฐบาลผสมจึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปแก้ไข 

ขณะเดียวกัน ก็หวังว่าในหลายๆ เรื่องที่เป็นคำสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนชาวภูเก็ตในการหาเสียงก็อยากให้ทำ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าฯ รถเมล์ไฟฟ้า หรือการลดค่าไฟฟ้า ซึ่ง 3-4 เรื่องนี้อยากให้เกิดขึ้น และหากเกิดขึ้นจริงตนเองก็เชื่อว่า จะเป็นคะแนนเสียงต่อไปในการเลือกตั้งครั้งหน้า