"ปธ.ต้านโกง" ห่วง เงินสีเทา สะพัดช่วงเลือกตั้ง จี้ "กกต." สอบเส้นทางการเงิน

"ปธ.ต้านโกง" ห่วง เงินสีเทา สะพัดช่วงเลือกตั้ง จี้ "กกต." สอบเส้นทางการเงิน

"ปธ.ต้านโกง" ห่วง เงินสีเทา สะพัดช่วงเลือกตั้ง จี้ กกต.สอบเส้นทางการเงิน พ่วงตรวจสอบค่าใช้จ่าย พร้อมปลุก "ปชช." อย่าเลือก "พรรค" ไร้นโยบายปราบโกง-คนมีมลทิน

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ร่วมกับมูลนิธิสส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต วุฒิสภา จัดเวทีเสวนา เรื่อง  สิทธิประชาชน ตรวจสอบฉ่อราษฎร์ บังหลวง

 

 

พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กล่าวตอนหนึ่งในช่วงบรรยาย เรื่อง สถานการณ์คอร์รัปชั่นในประเทศไทย ว่า นักการเมืองไทยที่มีอำนาจมักอ้างความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อนำโครงการไปลงพื้นที่ของตนเอง โดย400 เขตเลือกกตั้ง พบว่านำโครงการไปลงพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดคำถามว่าาพื้นที่อื่นไม่มีความเดือดร้อนแบบเดียวหรือ ซึ่งกรณีดังกล่าวตนมองว่าเป็นการใช้อำนาจมิชอบและใช้อำนาจนำโครงการไปลงพื้นที่ของตนเอง ทั้งนี้การทำงานของส.ส.ต้องแยกระหว่างหน้าที่การตรากฎหมายและการดูแลประชาชน เพราะการดูแลประชาชนเป็นเรื่องของท้องถิ่น และกระทรวงมหาดไทยที่จะสนับสนุนเท่าเทียมเป็นธรรมด้วยกติกา ดังนั้นต้องปรับความคิดทางการเมืองใหม่

พล.อ.อ.วีรวิท กล่าวด้วยว่ามีข้อเสนอแนะองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ  ปี2566  ต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น คือ ต้องให้ความสำคัญต่อการถ่วงดุลอำนาจ ทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ รวมถึงองค์กรอิสระ รวมมถึงให้โอกาสประชาชนเข้าาถึงข้อมูลภาครัฐผ่านระบบสารสนเทศ ทั้งนี้ที่ผ่านมากรรมการปฏิรูปได้ผลักดันกฎหมายว่าด้วข้อมูลข่าวสาร และกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยขชน์ แต่พบว่าถูกยื้อไปจนกรรมการปฏิรูปหมดวาระ ทั้งนี้การแก้ปัญหาทุจริตที่สำคัญ คือ  การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่ยึดระบบคุณธรรม การเลือกตั้ง ส.ส. ต้องเลือกเพื่อให้คนดีมาปกครอง  ขณะเดียวกันต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและให้ความเห็น

 

พล.อ.อ.วีรวิท กล่าวเรียกร้องต่อพรรคการเมืองในช่วงเลือกตั้งว่า ต้องสัญญากับประชาชนว่าจะผลักดันร่างกฎหมาย 4 ฉบับ คือ กฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม, กฎหมายติดตามทรัพย์สินคืน กรณีสินบนข้ามชาติ, กฎหมายข้อมูลข่าวสาร และกฎหมายตรวจสอบเส้นทางการเงินของนักการเมืองและพรรคการเมือง รวมถึงเปิดเผยถึงที่มาของเงิน ว่าเป็นเงินบริสุทธิ์หรือไม่ เพราะไม่ไว้วางใจว่าเป็นเงินสีเทาที่ว่อนในนประเทศไทยหรือไม่ เนื่องจากหน่วยงานที่คควบคุมการเงินไม่เข้มแข็งพอ

“ผมขอเรียกร้องไปยังพรรคการเมืองต้องส่งคนที่ไม่มีมมลทิน มีประเด็นคอร์รัปชั่นใหประชาชนเลือกในการเลือกตั้งที่จะมาถึง  รวมถึงคนที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ ชี้มูล ก็ไม่ควรส่งเพราะจะทำให้เกิดปัญหาในอนาคต นอกจากนั้นพรรคการเมืองควรมีนโยบายสำคัญ คือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบได้  ขณะที่เงินที่ใช้หาเสียง กกต.ต้องดำเนินการตรวจสอบเชิงลึก ไม่ใช่ตรวจสอบค่าใช้จ่ายเลือกตั้งเท่านั้น เช่นเดียวกับการจ่ายภาษี และความโปร่งใสการจ่ายภาษีหากพรรคไหนไม่มีนโยบายต้านคอร์รัปชั่น อย่าเลือก และอย่าเลือกคนมีมลทิน ให้เข้ามาเป็นมะเร็งร้ายของการเมืองไทย” พล.อ.อ.วีรวิท กล่าว