จุฬาฯ-ทภ.1 ซ้อมรับมือวิกฤติกราดยิง “หนี- ซ่อน - สู้" ติดอาวุธ นิสิต-นักศึกษา

จุฬาฯ-ทภ.1 ซ้อมรับมือวิกฤติกราดยิง “หนี- ซ่อน - สู้" ติดอาวุธ นิสิต-นักศึกษา

"จุฬาฯ-ทภ.1" ซ้อมรับมือเหตุวิกฤติกราดยิง “หนี- ซ่อน - สู้" ติดอาวุธองค์ความรู้"นิสิต-นักศึกษา" ตระหนัก ตื่นตัว เอาตัวรอด

28 มีนาคม 2566 เวลา  ณ อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์รักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสํานักงานบริหารกิจการนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กองทัพบก โดย กองทัพภาคที่ 1, กองทัพน้อยที่ 1 และ กรมการสารวัตรทหารบก จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ Chula Public Safety ในหัวข้อ "หนี(Run) ซ่อน (Hide) สู้(Fight)”

โดยมี ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีกํากับดูแลงานด้านการพัฒนานิสิตและ
งานด้านการรักษาความปลอดภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ พลโท ชิษณุพงศ์ รอดสิริ แม่ทัพน้อยที่ 1 พลตรี สันติพงษ์ มั่นคงดี เจ้ากรมการสารวัตรทหารบก ร่วมพิธี

โดยมีวิทยากรจากโรงเรียนทหารสารวัตร กรมการสารวัตรทหารบก และกองพันเสนารักษ์ ที่ 1 กองทัพภาคที่ 1 ดําเนินการอบรมบรรยายให้ความรู้และบรรยายเชิงปฏิบัติการ

จุฬาฯ-ทภ.1 ซ้อมรับมือวิกฤติกราดยิง “หนี- ซ่อน - สู้\" ติดอาวุธ นิสิต-นักศึกษา

ผศ.ดร.ชัยพร กล่าวว่า สถานศึกษามีหน้าที่หลัก คือการพัฒนาคน หรือ นิสิต นักศึกษา และจุฬาฯมีแนวคิดนี้อยู่แล้ว ประกอบกับเหตุการณ์ในลักษณะนี้ นอกเหนือเหตุกราดยิง ยังอีกหลายรูปแบบที่น่าจะผ่านเข้ามาได้ เช่น คนวิกลจริต สติไม่ดี หรือเหตุการณ์อื่นที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ด้วยการป้องกันเมื่อกลุ่มคนไม่พึงประสงค์เข้ามาแล้ว ถือเป็นเรื่องลำบาก แต่สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือการติดความรู้ จึงได้รับความกรุณาจากกองทัพภาคที่ 1 กรมการสารวัตรทหาร ส่งวิทยากรมาอบรม เน้น การหนี ซ่อน ไว้ก่อน ส่วนสู้คงใช้เหตุจำเป็นจริงๆ ซึ่งอยากให้นิสิต นักศึกษา มีความรู้ในเบื้องต้น นอกเหนือจากการอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว สามารถเป็นองค์ความรู้ติดตัวเมื่อจบการศึกษาไปแล้วได้

จุฬาฯ-ทภ.1 ซ้อมรับมือวิกฤติกราดยิง “หนี- ซ่อน - สู้\" ติดอาวุธ นิสิต-นักศึกษา

สำหรับการอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตจุฬาฯ มีความรู้และตระหนักถึงภัยอันตราย ตลอดจนทราบหลักการปฏิบัติตัวเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงขั้นวิกฤต (สถานการณ์เหตุกราดยิง) 

ซึ่งการอบรมบรรยายให้ความรู้และบรรยายเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็นการบรรยาย 
2 ชม. และ ปฏิบัติ 2 ชม. โดยมีการกําหนดเนื้อหา สื่อการสอนและกิจกรรมที่หลีกเลี่ยงการสร้างความตื่นตระหนก (panic) หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีผลกระทบรุนแรงเกินจําเป็นต่อสภาพจิตใจ (trauma) ของผู้เข้ารับ
การอบรม โดยมีหัวข้อในการอบรม ดังนี้

1. ลักษณะของเหตุการณ์ลักษณะของผู้ก่อเหตุ ปัจจัยรากเหง้าของปัญหา แนวโน้มและโอกาสในการเกิดเหตุ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องลักษณะเฉพาะเชิงทฤษฎี และ ความตระหนักถึงอันตราย
ของเหตุกราดยิง โดยทีมวิทยากร จากโรงเรียนทหารสารวัตร กรมการสารวัตรทหารบก

2. หลักการและวิธีการปฏิบัติตัว เมื่ออยู่ในสถานการณ์เหตุกราดยิง (หนี ซ่อน สู้) เพื่อให้ความรู้ ในเรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ หลักการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และอาวุธที่คนร้าย สามารถใช้ก่อเหตุได้ ซึ่งมีหลากหลายชนิด นอกจากอาวุธปืน รวมทั้งการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จําลอง เมื่อมี 
ผู้ถืออาวุธปืนเข้ามาในพื้นที่และคาดว่าจะก่อเหตุ โดยฝึกปฏิบัติการซ่อน ฝึกปฏิบัติการแจ้งเหตุ รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นต่อเจ้าหน้าที่ โดยทีมวิทยากรจาก โรงเรียนทหารสารวัตร กรมการสารวัตรทหารบก

จุฬาฯ-ทภ.1 ซ้อมรับมือวิกฤติกราดยิง “หนี- ซ่อน - สู้\" ติดอาวุธ นิสิต-นักศึกษา

3. การบรรยาย สาธิต และทดลองปฏิบัติในการใช้สายรัดห้ามเลือดเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการห้ามเลือดอย่างถูกต้อง โดยทีมวิทยากรจากกองพันเสนารักษ์ที่ 1 กองทัพภาคที่ 1
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์รักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรแห่งจุฬาฯ

จุฬาฯ-ทภ.1 ซ้อมรับมือวิกฤติกราดยิง “หนี- ซ่อน - สู้\" ติดอาวุธ นิสิต-นักศึกษา