เบรก"พ.ร.ก."ชะลอกฎหมายอุ้มหาย    ยับยั้งเส้นตาย "ประยุทธ์-รัฐบาล"

เบรก"พ.ร.ก."ชะลอกฎหมายอุ้มหาย     ยับยั้งเส้นตาย "ประยุทธ์-รัฐบาล"

ปัจจัยที่ สภาฯ ต้อง "รอพิจารณา" พ.ร.ก.ชะลอใช้กฎหมายอุ้มหาย ข้อเท็จจริง ไม่ใช่เพราะมีเหตุขัดแย้งทางกฎหมาย แต่เพราะต้องการช่วย "เพื่อนพ้อง" ฐานะคนร่วมรัฐบาล ไม่ต้องเผชิญวิบากกรรมของเกมการเมือง

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดสุดท้าย เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ถูกกำหนดให้เป็นการประชุม “เป็นพิเศษ” เพื่อพิจารณาเรื่องด่วนที่คณะรัฐมนตรีเสนอ คือ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566

 

แม้จะไม่มีปรากฎการณ์ “ประชุมล่ม” อย่างที่คาดการณ์ แต่กลับมีประจักษ์พยานของพฤติกรรม “เขี้ยวลากดิน” จากฝั่งรัฐบาล ที่ใช้กลไกของเสียงข้างมาก และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ตัดตอนการลงมติ

 

เพื่อยับยั้งอุบัติเหตุการเมืองที่จะพุ่งชน “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผู้นำรัฐบาล และองคาพยพ

 

ด้วยเหตุที่ “สภาฯ” ไม่อนุมัติ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการทำให้บุคคลสูญหายฯ ต้องย้อนความที่มา ที่ไปของเรื่องนี้ 

 

รัฐบาล ออก พ.ร.ก. เพื่อชะลอการบังคับใช้ พ.ร.บ.อุ้มหายฯ จำนวน 4 มาตรา คือ มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวออกไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2566 หลังจากเดิมที่ต้องมีผลบังคับใช้แล้ว 

เบรก\"พ.ร.ก.\"ชะลอกฎหมายอุ้มหาย     ยับยั้งเส้นตาย \"ประยุทธ์-รัฐบาล\"

พร้อมทั้งกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐที่รับผิดชอบต่อการควบคุมตัว รวมถึง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ กำหนดมาตรการ และกลไกที่เหมาะสม และมีความพร้อมต่อการปฏิบัติงานให้เสร็จ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 โดย พ.ร.ก. นี้มีผลตั้งแต่ 22 กุมภาพันธ์ 2566

เหตุผลที่ต้องออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ มีเหตุผลคือ ความไม่พร้อมของหน่วยงานที่จะปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงไม่มีระเบียบกลางรองรับการทำหน้าที่ของหลายหน่วยงาน การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในภาคสนาม งบประมาณการจัดซื้ออุปกรณ์ปฏิบัติหน้าที่ 

 

เนื่องจากมาตราที่ชะลอนั้น กำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องบันทึกภาพ และเสียง ตลอดการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในการตรวจค้น จับกุม เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์ คลุมถุงดำ-ซ้อมทรมาน-อุ้มหาย อย่างที่เคยเกิดขึ้น

 

ครม.เสนอ พ.ร.ก.ฉบับนี้มาให้สภาผู้แทนราษฎร เมื่อเวลา 16.15 น. เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเหมือนเป็นการบีบบังคับให้สภาฯต้องพิจารณาอนุมัติในช่วงวันสุดท้ายก่อนปิดสมัยประชุม เพราะวรรคท้ายของ มาตรา 172 กำหนดให้สภาฯ และวุฒิสภา ต้องพิจารณา พ.ร.ก. ในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภาฯ นั้นๆ

 

ทว่า “ฝั่งทำเนียบรัฐบาล” ไม่ได้ประเมิน “เสียงสนับสนุนในสภาฯ” อย่างรอบคอบ ถี่ถ้วนก่อนว่า มีเพียงพอจะสนับสนุนหรือไม่

เบรก\"พ.ร.ก.\"ชะลอกฎหมายอุ้มหาย     ยับยั้งเส้นตาย \"ประยุทธ์-รัฐบาล\"

เมื่อ “ชวน หลีกภัย” ประธานสภาฯ รับเผือกร้อน จึงต้องกำหนดวาระประชุมสภาฯ “เป็นพิเศษ” เพื่อพิจารณา พ.ร.ก.ฉบับนี้ ทำให้ “พรรคฝ่ายค้าน” ได้ที ใช้เป็นเวทีที่จะได้ซักฟอกรัฐบาลอีกรอบ

 

โดยตั้งประเด็นว่า การชะลอใช้ 4 มาตรานั้น มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝง เหมือนครั้งที่ “คสช.” เรืองอำนาจ สั่งนักการเมืองขั้วตรงข้าม เข้าค่ายทหารเพื่อปรับทัศนคติ โดยใช้เกมทั้งใต้ดินและบนดิน เพื่อปรามศัตรูทางการเมือง

 

ดังนั้น ในช่วงเลือกตั้งที่จะมาถึง หากการสร้างความโปร่งใส ในการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ- เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองไม่ได้ ตามที่กฎหมายกำหนด อาจเป็นจุดเสี่ยงที่ “หัวคะแนน-ขั้วการเมืองตรงข้าม” อาจถูกอุ้ม เพื่อหวังให้ฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐได้ประโยชน์ทางการเมือง

เบรก\"พ.ร.ก.\"ชะลอกฎหมายอุ้มหาย     ยับยั้งเส้นตาย \"ประยุทธ์-รัฐบาล\"

 

ขณะที่ “ฝ่ายรัฐบาล” เมื่อได้รับสัญญาณไม่ดี การนัดประชุมวิปรัฐบาล ช่วงเช้าวันที่ 28 กุมภา 2566 ก่อนที่สภาฯ จะพิจารณา พ.ร.ก.ได้ถกกันเคร่งเครียด เพื่อ ประเมินถึงโอกาสเพลี่ยงพล้ำทางการเมืองในสภาฯ

 

ประเด็นสำคัญที่วิปรัฐบาลหารือ คือโอกาสที่ พ.ร.ก.ฉบับนี้ จะไม่ได้รับอนุมัติ เพราะเสียงของรัฐบาลสู้ “ฝ่ายค้าน” ไม่ได้

 

โดยยอด ส.ส.ล่าสุด ก่อนเข้าประชุมมี 405 คน แบ่งเป็นฝ่ายค้าน 186 คน ส่วนรัฐบาลเหลือ 219 คน และในจำนวนของฝั่งรัฐบาลนั้น ยังมีปีกที่ไม่เห็นด้วย ทั้งในส่วนของ “พรรคภูมิใจไทย 61 เสียง” ที่มีมติไม่เห็นด้วย เช่นเดียวกับ “พรรคประชาธิปัตย์-ชาติไทยพัฒนา” ที่ประกาศแล้วว่าไม่เห็นด้วย นอกจากนั้นยังมี “ส.ส.” ที่ไม่มาประชุมนับ 100 คน 

เบรก\"พ.ร.ก.\"ชะลอกฎหมายอุ้มหาย     ยับยั้งเส้นตาย \"ประยุทธ์-รัฐบาล\"

ดังนั้น จึงเป็น “ความเสี่ยงทางการเมือง” หากจะให้สภาฯ เดินหน้าไปจนถึงการลงมติ

 

ทำให้ “วิปรัฐบาล​“ ต้องตัดตอนการลงมติ โดยใช้กลไกของรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 เข้าชื่อ ส.ส.จำนวน 100 คน เพื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า การเสนอ พ.ร.ก.นั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 หรือไม่ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ “ฝ่ายค้าน” เตรียมนำมาใช้เช่นกัน

เบรก\"พ.ร.ก.\"ชะลอกฎหมายอุ้มหาย     ยับยั้งเส้นตาย \"ประยุทธ์-รัฐบาล\" เบรก\"พ.ร.ก.\"ชะลอกฎหมายอุ้มหาย     ยับยั้งเส้นตาย \"ประยุทธ์-รัฐบาล\" เบรก\"พ.ร.ก.\"ชะลอกฎหมายอุ้มหาย     ยับยั้งเส้นตาย \"ประยุทธ์-รัฐบาล\"

แม้เป้าหมายการใช้กลไกมาตรา 173 นั้น จะเหมือนกัน คือ “เบรก” การลงมติของสภาฯ แต่ ฝ่ายค้านมีวัตถุประสงค์เพื่อจะยับยั้งการลงมติอนุมัติ เพราะมองว่า พ.ร.ก. มีผลเสีย ตามที่ “เครือข่ายสิทธิมนุษยชน” แสดงความเห็นคัดค้าน

 

ทว่า ฝ่ายรัฐบาลต้องการกลไกเพื่อยับยั้งการลงมติ “ไม่อนุมัติ” ที่จะมีผลกระทบไปถึง “พล.อ.ประยุทธ์” ที่แน่นอนว่า ย่อมไม่พ้นการถูกทวงถามถึงความรับผิดชอบตามวัฒนธรรมทางการเมือง คือ “ลาออก” หรือ “ยุบสภา”หลังจาก พ.ร.ก.ที่รัฐบาลเป็นฝ่ายเสนอไม่ได้รับการอนุมัติจากสภาฯ

 

โดยประเด็นนี้ “ฝั่งรัฐบาล” ได้ประเมินกันแล้วว่า ไม่เป็นผลดีในช่วงใกล้เลือกตั้ง ซึ่งถูกกำหนด และล็อคไว้ตายตัว คือ 7 พฤษภาคม ดังนั้น "การติดเบรก” ไว้ก่อนจึงจะเป็นผลดีกับรัฐบาล และตัว พ.ร.ก.ที่ชะลอการบังคับใช้กฎหมายอุ้มหาย

 

กรณีนี้ ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 173 กำหนด เมื่อมี ส.ส.เข้าชื่อ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ร้องขอต่อประธานสภาฯ ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การตรา พ.ร.ก.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 หรือไม่ มีเวลาตามกระบวนการ คือ 3 วัน ประธานสภาฯ ต้องส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีเวลาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่รับเรื่อง

 

ไทม์ไลน์ของกลไกนี้ อาจจะยาวไปถึงปลายเดือนเมษายน หรือต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นผลดีกับบางฝ่ายในรัฐบาล ที่จะครองอำนาจแบบไร้ปัญหากวนใจ ไปจนถึง“วันยุบสภา”.