กติกาใหม่“ไพรมารี่โหวต”  ลุยทางลัด เสี่ยง"แพ้ฟาล์ว"

กติกาใหม่“ไพรมารี่โหวต”   ลุยทางลัด เสี่ยง"แพ้ฟาล์ว"

เลือกตั้งที่จะมาถึง ต้อง "จับตาไพรมารีโหวต" ของพรรคการเมือง แม้หลายพรรคจะเร่งประกาศตัว แต่ตามกฎหมายพรรคการเมือง กำหนดให้ต้องทำหากลุยทางลัด ระวังเสี่ยงแพ้ฟาล์ว

         ถนนการเมืองทุกสาย ตอนนี้มุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันคือ “การเลือกตั้ง”

 

         แม้โรดแมปของ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” (กกต.) ยังตั้งต้น ณ วันที่ สภาครบเทอม 23 มีนาคม 2566 แต่การรับรู้ของ “นักเลือกตั้ง” หาใช่แบบนั้นไม่

 

         ขณะนี้มีตัวเลขที่พอจะอนุมานถึงความเป็นไปได้ คือ หลังจากที่กติกาเลือกตั้ง คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้ เมื่อ 29 มกราคม

กติกาใหม่“ไพรมารี่โหวต”   ลุยทางลัด เสี่ยง\"แพ้ฟาล์ว\"

         กกต.ขอเวลาเตรียมพร้อมในทางระเบียบและการปฏิบัติอีก 45 วัน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 เขต ต้องออกระเบียบออกมารองรับ ทั้งหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดประชุมสมาชิกพรรคการเมือง เพื่อรับฟังความเห็นต่อการสรรหาผู้สมัคร ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการตั้งสาขาพรรคการเมือง และแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด เป็นต้น

 

         โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ คือ การแบ่งเขตเลือกตั้งให้ "เป็นธรรม” ไม่ลำเอียงให้กับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง เหมือนที่เคยถูกครหาในการเลือกตั้งปี 2562 ด้วยการเปิดรับฟังความคิดเห็นของ “พรรคการเมืองและประชาชน” ในช่วง 4-13 กุมภาพันธ์ นี้

 

         ทว่า ก่อนที่ “เขตเลือกตั้ง” ฉบับทางการจาก กกต.จะประกาศ ฟากฝั่ง “นักเลือกตั้ง” ที่คุ้นชินพื้นที่ กลายเป็น “นกรู้” ถึงอาณาเขตเลือกตั้งล่วงหน้า และวางแผนขีดเส้นให้ตนเองได้เปรียบในการหาเสียงเลือกตั้งไว้แล้ว

 

         อย่างไรก็ดีมีสิ่งที่ พรรคการเมืองต้องเร่งเตรียมการ คือการคัดสรรผู้สมัคร ส.ส.ที่ปัจจุบันพบว่า หลายพรรคมีคนที่ประกาศเปิดตัวไปแล้ว แต่ยังไม่ถือเป็น “ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.” ตามกติกาของกฎหมายพรรคการเมือง และร่างประกาศของ กกต. ที่เตรียมไว้

 

         สาระสำคัญที่พรรคการเมืองต้องเตรียมการ ในมุมมองของ “ไพบูลย์ นิติตะวัน“รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ดูเรื่องกติกาเลือกตั้ง ระบุถึงขั้นตอนหลัก คือ

 

         1.พรรคที่จะส่งผู้สมัคร ส.ส.เขต และส.ส.บัญชีรายชื่อ จำเป็นต้องมี “สาขาพรรค” หากจังหวัดใดไม่มีสาขา ต้องมี ”ตัวแทนพรรคประจำจังหวัด” เพื่อทำหน้าที่เป็น “ผู้เห็นชอบ” ในกระบวนการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.

กติกาใหม่“ไพรมารี่โหวต”   ลุยทางลัด เสี่ยง\"แพ้ฟาล์ว\"

         2.ผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครเป็น ส.ส. “ต้องแจ้งความจำนงต่อพรรค” โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อย 30 วันในกรณียุบสภา หรือเป็น 90 วันในกรณีอยู่ครบวาระ และมีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด

 

         3.กรรมการคัดสรรผู้สมัคร ต้องส่งรายชื่อผู้แสดงความจำนงลงเลือกตั้งไปให้สาขาพรรค หรือตัวแทนพรรคในจังหวัดนั้นๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ นัดประชุมสมาชิกไม่น้อยกว่า 50 คน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและเห็นชอบ ก่อนจะส่งคืนมาเพื่อให้ “กรรมการบริหารพรรค” อนุมัติให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรค และออกใบรับรอง ยื่นสมัครต่อ กกต.ในวันประกาศรับสมัคร

 

         “การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีขั้นตอนที่พรรคต้องดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมาย คาดว่าเวลาที่พอจะทำให้สมบูรณ์แล้วเสร็จ คือ 3 สัปดาห์ แต่หากมีเวลากระชั้นชิด 2 สัปดาห์สามารถทำกระบวนการนี้ให้แล้วเสร็จได้"

กติกาใหม่“ไพรมารี่โหวต”   ลุยทางลัด เสี่ยง\"แพ้ฟาล์ว\"

 

 

         "โดยขั้นตอนสรรหา สามารถทำก่อนมีพระราชกฤษฎีกาประกาศเลือกตั้งได้ เพราะกฎหมายพรรคการเมืองกำหนดไว้ แต่ในขั้นตอนสรรหา ควรต้องรอให้ กกต.ประกาศเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ” ไพบูลย์ ระบุ

กติกาใหม่“ไพรมารี่โหวต”   ลุยทางลัด เสี่ยง\"แพ้ฟาล์ว\"

         ทั้งนี้ กระบวนการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. ยิ่งทำแล้วเสร็จได้ไว ยิ่งการันตีถึงความชัดเจนในการประกาศตัวตน เป็นคนของพรรคใดในการสู้ศึกเลือกตั้ง และลดความเสี่ยงที่จะถูก “พรรคคู่แข่ง” ร้องเรียนว่า กระบวนการสรรหาผู้สมัครของพรรคนั้นไม่ถูกต้องตามกระบวนการ

 

         “ไพบูลย์” ยังมองในแง่ “ความเสี่ยง” ถูกร้องว่าทำผิดกระบวนการ โดยระบุว่า ตามกฎหมายไม่ถึงขั้นที่จะทำให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ถูก “ใบแดง” แต่คณะกรรมการคัดสรร-สมาชิกพรรค-กรรมการบริหารพรรค อาจได้รับการคาดโทษ

 

         ประเด็นนี้ ย้อนแย้งกับมุมมองของ “สมชัย ศรีสุทธิยากร”แกนนำพรรคเสรีรวมไทย ซึ่งเป็นอดีต กกต.ที่มองว่าหากกระบวนการสรรหา “ไม่ชอบ” ย่อมทำให้ผู้ที่พรรคส่งสมัครรับเลือกตั้ง และยื่นกับ กกต. “ไม่มีตัวตน” ซึ่งอาจจะแพ้ฟาล์วได้ในสมรภูมิเลือกตั้ง

กติกาใหม่“ไพรมารี่โหวต”   ลุยทางลัด เสี่ยง\"แพ้ฟาล์ว\"

         ดังนั้น กระบวนการสรรหาผู้สมัครย่อมเกิดขึ้นได้ หลังจากที่ กกต.ประกาศเขตเลือกตั้งอย่างชัดเจนและเป็นทางการ ซึ่งคาดว่าจะภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ จากนั้นต้องเข้าสู่กระบวนการประกาศให้ผู้ที่ประสงค์จะลงเลือกตั้ง มาแจ้งกับพรรคการเมือง เพื่อดำเนินการตามกระบวนการ “ไพรมารี่โหวต”

 

         โดย “สมชัย” แนะนำทุกพรรคการเมืองเตรียมความพร้อมไว้เบื้องต้น ทั้งการตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด หาสมาชิกพรรคในจังหวัดนั้นให้ครบ 100 คน และเลือกกรรมการสรรหาผู้สมัครในที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองไว้รอ "ก่อนวันที่ กกต. ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ”

 

         พร้อมกับต้องระมัดระวัง “ทำขั้นตอนทุกอย่างให้ครบตามกติกา” จะลักไก่ หรือมุบมิบทำ โดยไม่แจ้งขั้นตอนต่อ “กกต.” หรือ กระทำการใดที่ทำให้กระบวนการนั้นไม่ถูกต้อง หรือซื้อเสียงสมาชิกพรรค ไม่ได้

 

         ไม่เช่นนั้นกระบวนการที่ไม่ชอบ อาจนำไปสู่การเลือกตั้งที่มีปัญหา หรือเปิดช่องให้ “คู่แข่ง” ใช้แทคติกทางกฎหมาย ชนะฟาล์วในสนามเลือกตั้ง.