"นิติพล" ชำแหละ "ประยุทธ์" กลางเวทีFCCT ชี้ เมินปมสิทธิมนุษยชนเมียนมาร์

"นิติพล" ชำแหละ "ประยุทธ์" กลางเวทีFCCT ชี้ เมินปมสิทธิมนุษยชนเมียนมาร์

"นิติพล" ซัด "ประยุทธ์" กลางเวทีเสวนา FCCT ชี้ ไม่เคยสนในสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์ เพราะเป็นพวกรัฐประหารมาเหมือนกัน

นายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาการรัฐประหารในพม่า โดยเป็นกรรมการ 1 ใน 8 คนจากทุกทวีปทั่วโลก ได้เข้าร่วมเวทีเสวนา "เวลาไม่ได้อยู่ข้างเรา": การตอบสนองของนานาชาติต่อการรัฐประหารในเมียนมาร์ รายงานฉบับสมบูรณ์โดยการสอบสวนของฝ่ายนิติบัญญัติระหว่างประเทศ ในประเด็นว่าด้วยการตอบสนองของโลกต่อวิกฤติการณ์ในเมียนมาร์ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย 

นายนิติพล กล่าวต่อว่า จากรายงานการสอบสวนของฝ่ายนิติบัญญัติระหว่างประเทศ ทำให้พวกเราในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ชิด ต้องตระหนักถึงสถานการณ์หลังกองทัพเมียนมาร์ทำการรัฐประหารเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เพราะการรัฐประหารดังกล่าว ได้นำมาซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงในหลายกรณี มีประชาชนเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 2,371 ราย ผู้พลัดถิ่นหลายแสนคน และมีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ 1.3 ล้านคน มีการจำคุกนักโทษการเมืองไม่ต่ำกว่า 15,000 คน โดยมีรายงานถึงการทารุณกรรมผู้ถูกจับกุมด้วย

นอกจากนี้ ผลที่ตามมาคือการต่อต้านรัฐบาลด้วยอาวุธ ซึ่งการสู้รบยังดำรงอยู่ในหลายรูปแบบ และหลายครั้งยังได้มีการล่วงล้ำเข้ามายังชายแดนของประเทศไทย ไม่ว่ากระสุน หรือเครื่องบินรบของรัฐบาลเมียนมาร์ รวมถึงผู้ลี้ภัยความตายที่หนีมาฝั่งไทยจำนวนมาก

ดังนั้น จึงไม่อาจบอกได้ว่าความขัดแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของเมียนมาร์เท่านั้น แต่หมายถึงประเทศข้างเคียง อาเซียน และโลกที่ได้รับผลกระทบไปด้วย 

นายนิติพล ยังกล่าวต่อว่า บทบาทของรัฐบาลไทยในฐานะที่มีพรมแดนติดกันและมีความสัมพันธ์กันในหลายมิติ จึงมีความสำคัญมากต่อการสร้างสันติภาพและประชาธิปไตยในเมียนมาร์ แต่นั่นหมายถึงการที่รัฐบาลไทยเองก็ต้องเป็นประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน เพราะเป็นที่รับรู้กันในความเป็นจริงว่าปัจจุบันมันไม่เป็นเช่นนั้น แต่ทั้งสองประเทศกลับกลายเป็นเหมือนฝาแฝดรัฐประหารที่ทำให้ภาพลักษณ์ของอาเซียนย่ำแย่ลงเรื่อยๆ ทั้งที่หากเปรียบเทียบกลับไปในยุคที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ทั้งไทยและเมียนมาร์ล้วนคือดาวเด่นในเวทีโลกในช่วงเวลานั้นทั้งสิ้น นี่คือความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างการบริหารโดยรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารกับรัฐบาลประชาธิปไตย

รายงานฉบับนี้ ยังมีข้อเสนอข้อเสนอแนะต่ออาเซียนหลายข้อ ซึ่งตนคิดว่าไทยสามารถเข้าไปมีบทบาทสำคัญเพื่อความเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของอาเซียนไปสู่การเติบโตร่วมกันได้อีกครั้ง แต่หมายถึงการที่ไทยเองจะต้องเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปีหน้า เพื่อไปสู่ฝั่งประชาธิปไตยที่มีเจตจำนงค์ในการไม่จับมือหรือผสมพันธุ์กับฝ่ายรัฐประหารอย่างแท้จริง

“ผมยืนยันว่า 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะรุ่นพี่รัฐประหารของรัฐบาลมินอ่องหล่าย ไม่เคยทำอะไรเลยเพื่อช่วยคนเมียนมาร์ และไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ว่าในไทยหรือเมียนมาร์เลย

นอกจากนี้ คงต้องบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ คือ หัวโจกคนสำคัญในการดึงเอาภาพลักษณ์ของอาเซียนให้ตกต่ำลงเรื่อยๆมาเพราะอาเซียนจะไปได้ไกลกว่านี้แน่หากไม่มีการรัฐประหารเข้ามาแทรกแซงและจะไม่มีต้นแบบให้เอาอย่างในการดึงพวกเราทั้งหมดถอยหลังแล้วกอบโกยผลประโยชน์เข้าสู่ตนเองและพวกพ้อง เอาแต่เสวยสุขบนความทุกข์ของประชาชนดั