เบื้องลึก ‘ศาลรธน.’ สั่งกกต.แจง ชี้ขาดสูตร ‘ส.ส.พึงมี-บัญชีรายชื่อ’

เบื้องลึก ‘ศาลรธน.’ สั่งกกต.แจง ชี้ขาดสูตร ‘ส.ส.พึงมี-บัญชีรายชื่อ’

2ร่างพ.ร.ป.ที่จะใช้เลือกตั้ง ซึ่ง "ศาลรธน." อยู่ระหว่างพิจารณาก่อนวินิจฉัย ชี้ขาด ล่าสุด   ให้ กกต. ชี้แจงในสาระสำคัญ ต้องยอมรับว่า คำตอบ นั้น คือ จุดชี้ชะตา และ อนาคตของ “พรรคการเมือง”

         ประเด็นของ “กฎหมายลูก” ที่ต้องใช้ในการเลือกตั้งที่จะมาถึง ทั้ง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่...) พ.ศ... และ ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ....  ซึ่ง สมาชิกรัฐสภาเข้าชื่อ ส่งให้ “ศาลรัฐธรมนูญ” วินิจฉัยในความชอบของเนื้อหา 

 

         ยังคงต้องใช้เวลาพิจารณาในชั้นของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ไปอีกระยะหนึ่ง

 

         เมื่อ “ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” ที่นัดประชุมเมื่อ 19 ตุลาคม และมีผลพิจารณา ให้ ดูความที่เกี่ยวข้องของเนื้อหา และคำร้องของสมาชิกรัฐสภา เป็นครั้งที่สอง หลังจากที่รอบแรก ได้ขอความเห็นและรายละเอียดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร  ในส่วนของ ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ งส.ส. และ สมาชิกรัฐสภาที่ทำคำร้อง ในร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง

 

         สำหรับครั้งที่สองนี้ ในร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง “ศาลรัฐธรรมนูญ” ไม่ได้ขอความเห็นจากบุคคลนอกองค์กรเพิ่มเติม แต่ให้ "หน่วยงานผู้รับผิดชอบสำนวน" ศึกษาค้นคว้ากฎหมายและข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายนี้ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา

 

         ขณะที่ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วย การเลือกตั้ง ส.ส. นั้น “ศาลรัฐธรรมนูญ”  ส่งจดหมายย้ำไปที่ “ประธานกกต.”  ชี้แจงเพิ่มเติม ตามประเด็นที่ศาลกำหนด ภายใน 15 วัน ทั้งนี้ในคำถามที่เชื่อได้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” จะตั้งโจทย์ให้ “ประธานกกต.” ตอบ คือ ประเด็นของร่างกฎหมายนั้นมีข้อขัดข้องต่อการทำงานของ กกต. หรือไม่ โดยเฉพาะประเด็น “ส.ส.พึงมี”  ที่โยงความถึง “สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ”  ที่ร่างกฎหมาย มีเจตนารมณ์ใช้ จำนวน 100 คน 

เบื้องลึก ‘ศาลรธน.’ สั่งกกต.แจง ชี้ขาดสูตร ‘ส.ส.พึงมี-บัญชีรายชื่อ’


         เพราะคำร้องของสมาชิกรัฐสภา ชี้ประเด็นสำคัญ ว่า ร่างพ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านรัฐสภานั้น มีข้อความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ซึ่งชี้เจาะจงไปที่ มาตรา 25 ที่แก้ไขมาตรา 130 ของพ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 ว่าด้วย เงื่อนไขของการประกาศผลการเลือกตั้งของ “กกต.” ที่กรณียังมีการเลือกตั้งใหม่ในบางเขตหรือบางหน่วย ห้ามนำผลคะแนนของบางเขตหรือบางหน่วยนั้นคำนวณหาส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงมี ซึ่งถูกแก้ไขให้ “กกต.” ประกาศผลเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษาและแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อทราบโดยเร็ว นั้น

 

         ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขในทางปฏิบัติ และเป็นทางออกให้กับ “กกต.” ในการคำนวณหาส.ส.บัญชีรายชื่อแบบพึงมี หากพบว่าบางหน่วยหรือบางเขตเลือกตั้งยังเลือกตั้งไม่แล้วเสร็จ อาจด้วยเพราะ ภัยพิบัติ การจลาจล หรือ พบการทุจริตการเลือกตั้ง ที่เป็นเหตุให้ต้องเลือกตั้งใหม่


         และ  มาตรา 26 ที่กำหนดให้ยกเลิกมาตรา 131 ของพ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การทำงานของ กกต. ในการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หากเกิดกรณีที่ต้องเลือกตั้งใหม่ ภายใน1ปี ด้วยเหตุทุจริต จะต้องคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองใหม่ ว่า ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 94 ซึ่งเป็น “หัวใจ” ที่ออกแบบเพื่อให้เกิดมาตรา 131 ของพงร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. และเป็นกติกาสำคัญที่ “กกต.” ต้องยึดถือปฏิบัติ

เบื้องลึก ‘ศาลรธน.’ สั่งกกต.แจง ชี้ขาดสูตร ‘ส.ส.พึงมี-บัญชีรายชื่อ’

         ดังนั้นการสอบถามไปยัง “กกต.” อีกครั้ง จึงถูกไฮไลต์ประเด็นแค่ว่า “กกต.” จะปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้อยู่หรือไม่? และจะมีปัญหาใดในทางปฏิบัติหน้าที่ในอนาคตหรือไม่?

 

 

 

         ต้องยอมรับว่าในข้อต่อสู้ของ “สมาชิกรัฐสภา”​ เสียงข้างน้อย ที่สนับสนุนสูตรหาส.ส.บัญชีรายชื่อ แบบพึงมีด้วยจำนวน  500 คน คือ จำนวน ส.ส.ที่มีในสภาทั้งหมด แม้ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่สูตรคำนวณโดยตรง แต่ ใน 2 ประเด็นที่ร้องต่อศาลัฐธรรมนูญนั้น มีความเชื่อมโยงที่จะทำให้ ระบบคิดคำนวณ ส.ส. เพื่อเพิ่มโอกาสพรรคเล็ก ได้เข้ามาเป็นตัวแทนปวงชนในสภาฯ ได้ “ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง”


          ในแนวทางที่อาจจะเกิดขึ้น หากฝ่ายผู้ร้อง ชนะในเกมกำหนดกติกาครั้งนี้  จะเท่ากับการทำให้ การคำนวณ “ส.ส.บัญชีรายชื่อ” แบบพึง อาจกลับไปใช้จำนวน 500 คน ซึ่ง "ไม่เป็นคุณ” กับ พรรคการเมืองใหญ่ ที่เอาชนะ ในเขตเลือกตั้งได้ แบบแลนด์สไลด์ ได้ "ส.ส.” เข้ามาเต็มจำนวนพึงมี   เพราะเท่ากับว่าจะไม่ได้ "ทบเพิ่ม” ในส่วนของปาร์ตี้ลิสต์ 

เบื้องลึก ‘ศาลรธน.’ สั่งกกต.แจง ชี้ขาดสูตร ‘ส.ส.พึงมี-บัญชีรายชื่อ’

         แต่หาก คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ว่า คำร้องที่ยกมานั้นไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ทั้งมาตรา 93 และ มาตรา 94 สูตรคำนวณที่ควรจะเป็นคือ "หารด้วย 100 คน” เท่ากับว่าจะปิดประตูการเกิดใหม่ ในสภาฯ ของส.ส.พรรคการเมืองขนาดเล็ก เพราะด้วยบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ทำให้ต้องใช้ทรัพยากร เงินทุนจำนวนมาก 

 

         ขณะเดียวกัน ในยุคที่พรรคใหญ่ การแข่งขันเพื่อชิงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล อย่างดุเดือด จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่ พรรคเล็ก จะได้ “อานิสงส์” เหมือนระบบปันส่วนผสม  ที่ ทุกคะแนนเสียงไม่ตกน้ำ และรับการปัดเศษให้ได้ ส.ส. เข้าสภาฯ 

 

         ดังนั้น ในคำตอบสุดท้ายของ “กกต.” ที่จะให้กับ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ในอีกไม่กี่สิบวันต่อจากนี้ คือ จุดชี้ชะตา และ อนาคตของ “พรรคการเมือง” ว่าจะไปถึงเป้าหมาย ตามที่ตั้งใจกวาดส.ส.เข้าสภาสมัยหน้าหรือไม่.