“คณะราษเปซ” บุก “ดีอีเอส” ถามเหตุโดนบล็อกเว็บรณรงค์เลิก ม.112

“คณะราษเปซ” บุก “ดีอีเอส” ถามเหตุโดนบล็อกเว็บรณรงค์เลิก ม.112

กลุ่ม “ครย.112” เดินหน้าบุก “กระทรวงดีอีเอส” เหตุถูกบล็อกเว็บไซต์รณรงค์ยกเลิก ม.112 แต่โดนสวนกลับทำตามคำสั่งศาล

เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2565 คณะราษฎรยกเลิก 112 (ครย. 112) เดินทางไปยัง อาคารรัฐศาสนประสานภักดี ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เพื่อยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ต่อกรณีปิดกั้นเว็บไซต์ http://www.no112.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จัดทำโดยคณะก้าวหน้า กลุ่มคณะราษเปซ และเครือข่ายนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวในนามคณะราษฎรยกเลิก 112 เพื่อต้องการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับพี่น้องประชาชนที่ต้องการยกเลิกกฎหมายมาตราดังกล่าวร่วมลงชื่อ

“คณะราษเปซ” บุก “ดีอีเอส” ถามเหตุโดนบล็อกเว็บรณรงค์เลิก ม.112

ภายในหน้าเว็บไซต์ปรากฏข้อความว่า "เนื้อหานี้ถูกระงับเนื่องจากมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือเข้าเครือข่ายกระทำผิดตามพ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติม" ทำให้กลุ่มครย.112 รวมตัวกันเพื่อทวงถามคำตอบจากรัฐมนตรีกระทรวงดีอี เนื่องจากเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นการแสดงความเห็นและการมีส่วนร่วมทางการเมืองทั่วไป 

“คณะราษเปซ” บุก “ดีอีเอส” ถามเหตุโดนบล็อกเว็บรณรงค์เลิก ม.112

โดยตั้งแต่การเริ่มรณรงค์มีประชาชนให้ความสนใจอย่างคึกคัก ทำให้สามารถรวบรวมรายชื่อ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 กว่า 240,000 รายชื่อ โดยตัวแทนกลุ่ม ครย.112 ระบุว่า การปิดกั้นเว็บไซต์เท่ากับปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และต้องการให้ดีอีตอบคำถามว่ามีอำนาจอะไรในการสั่งปิด

นายธนพร วิจันทร์ หนึ่งในตัวแทนกลุ่ม ครย. 112 ได้อ่านเนื้อหาในหนังสือที่ยื่นกับรัฐมนตรีกระทรวงดีอี ใจความ ว่า "ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มเข้าชื่อเสนอกฎหมายพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และเป็นผู้ร่วมจัดทำเว็บไซต์ ทราบว่าขั้นตอนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 ระบุว่าเว็บไซต์ที่จะถูกปิดกั้นได้ต้องมีเนื้อหาที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ หรือคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์เห็นว่ามีข้อมูลที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี และต้องให้รัฐมนตรีเห็นชอบก่อนยื่นคำร้องขออนุมัติการปิดกั้นต่อศาล และในชั้นศาลจะต้องเปิดโอกาสให้เจ้าของข้อมูลบนเว็บไซต์ได้มีโอกาสโต้แย้งคัดค้านได้ ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ริเริ่มและกลุ่ม ครย.112 กลับไม่ได้รับแจ้งให้ดำเนินการใดๆ หรือมีโอกาสใช้สิทธิคัดค้านเลย”

“คณะราษเปซ” บุก “ดีอีเอส” ถามเหตุโดนบล็อกเว็บรณรงค์เลิก ม.112

ส่วนนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 และหนึ่งในตัวแทนกลุ่ม ครย.112 กล่าวว่า กระทรวงดีอี ตลอด 8 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลตามที่กระทรวงประกาศไว้ว่าต้องการให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจดิจิทัล และสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้ การจัดลำดับการแข่งขันทางดิจิทัลของเราอยู่ในลำดับที่สาม 38 จาก 65 ประเทศ เราตกอยู่ในสถานะที่ล้าหลังของเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากกระทรวงดีอีทำแต่เรื่องจำกัดเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของภาคประชาชน โดยเฉพาะการปิดเว็บไซต์ ปีที่แล้ว กระทรวงดีอีได้แถลงว่า ได้ปิดเว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหาทางการเมืองกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์รวมแล้วกว่า 260 คำสั่ง ปิด url ไปแล้วกว่า 6,000 url  แสดงว่ากระทรวงแทบจะไม่ทำงานหลักในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล แต่กลับมุ่งปิดเว็บไซต์ที่มีการแสดงการมีส่วนร่วมทางการเมือง เว็บไซต์ http://www.no112.org  เป็นช่องทางการมีส่วนร่วมทางการเมือง เชิญชวนให้ประชาชนร่วมลงชื่อ เพื่อให้มีการแก้ไขและยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าหลัง ควบคุมจำกัดเสรีภาพของประชาชน

ทั้งนี้ กระทรวงดีอี มีเจ้าหน้าที่กระทรวงเดินทางมารับหนังสือ และหลังจากที่ได้รับยื่นหนังสือจากกลุ่ม ครย.112 ก็ได้แจ้งกลับมาว่า สาเหตุที่ปิดเว็บไซต์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นคำสั่งศาล "มีคำสั่งศาลแล้ว เนื่องจากตีลับมาก ขออนุญาตทำตามขั้นตอน" ทำให้กลุ่ม ครย.112 ตั้งใจว่าจะยื่นหนังสือผ่านสภา และขอให้กรรมาธิการที่เกี่ยวข้องช่วยเปิดเผยข้อมูลในเรื่องนี้ต่อไป