ร้องผู้ตรวจฯสอบ "กองทัพเรือ" ปมทำ EHIA สนามบินอู่ตะเภา ปชช.ได้มลภาวะเสียง

ร้องผู้ตรวจฯสอบ "กองทัพเรือ" ปมทำ EHIA สนามบินอู่ตะเภา ปชช.ได้มลภาวะเสียง

"ศรีสุวรรณ" ยื่นร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้แสวงหาข้อเท็จจริง ปมกล่าวหา "กองทัพเรือ" จัดทำรายงาน EHIA ไม่โปร่งใส ทำชาวบ้านพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง ได้รับผลกระทบด้านเสียง

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2565 ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายวทัญญู ทิพยมณฑา รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน รับเรื่องร้องเรียนจากนายศรีสุวรรณ จรรยา ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กรณีขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีกองทัพเรือจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ไม่โปร่งใส ทำให้ประชาชนในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ได้รับผลกระทบด้านเสียงเป็นจำนวนมาก

ร้องผู้ตรวจฯสอบ \"กองทัพเรือ\" ปมทำ EHIA สนามบินอู่ตะเภา ปชช.ได้มลภาวะเสียง

โดยคำร้องของสมาคมต่อต้าตามที่กองทัพเรือและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)ได้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยมีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้มีการสำรวจและจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน(EHIA) โดยรอบสนามบินอู่ตะเภา ตามโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 นั้น

แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มประชาชนซึ่งจะได้รับผลกระทบทางเสียงฯ และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบทางเสียง ความสั่นสะเทือน และมลพิษทางอากาศจากการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้บริษัทที่ปรึกษาที่รับทำการสำรวจและจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) ได้ดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนรวมประมาณ 4 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งไม่มีความชัดเจนในการนำเสนอข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก พอสรุปได้ดังนี้

การสำรวจและการจัดประชุมระหว่างบริษัทที่ปรึกษาและสำรวจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนโดยรอบสนามบินอู่ตะเภา ได้มีการจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นใหญ่ ๆ รวมประมาณ 4 ครั้งด้วยกัน ดังนี้นสภาวะโลกร้อน ระบุว่า 

ครั้งที่ 1 ได้มีการสำรวจและจัดประชุมระหว่างบริษัทที่ปรึกษาและสำรวจกับประชาชนในวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เวลา 08.30 ถึงเวลา 12.00 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม 1-3 โรงแรมภูริมาศ บีช แอนด์ สปา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีเนื้อหาสาระส่วนใหญ่จะเน้นการประชาสัมพันธ์แนะนำโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นการทั่วไปให้ประชาชนได้รับทราบเท่านั้น

ครั้งที่ 2 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในวันที่ 17-19 มกราคม 2563 ณ ศาลาประชาคม ตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีเนื้อหาการนำเสนอผลกระทบทางเสียง โดยเฉพาะผลกระทบด้านการรบกวน (เรียกว่า NEF : Noise Exposure Forecast ซึ่งถือว่าเป็นค่าทางเสียงค่าหนึ่ง ที่ใช้ประเมินการรบกวนจากการได้ยินเสียงบริเวณชุมชนรอบสนามบินจากกิจกรรมของสนามบิน เรียกสั้น ๆ ว่า “เส้นเสียง NEF” ค่า NEF> 40 ไม่เหมาะสำหรับการใช้ที่ดินใด ๆ ยกเว้นในส่วนที่อ่อนไหวต่อเสียงน้อยและได้รับการออกแบบมาสำหรับพื้นที่ที่มีเสียงในระดับสูง, NEF 35-40 จะมีการร้องเรียนบ่อยครั้งไม่เหมาะสำหรับการเป็นที่ตั้งของโรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน อาคารที่มีห้องประชุม, NEF 30-35 เริ่มมีการร้องเรียนบ่อยครั้งไม่เหมาะสำหรับการเป็นที่ตั้งของโรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน อาคารที่มีห้องประชุม, NEF ต่ำกว่า 30 เหมาะกับการใช้ที่ดินทั่วๆไป และที่อยู่อาศัยหนาแน่นต่ำ อาจมีการร้องเรียนเป็นครั้งคราว เป็นต้น) 

ร้องผู้ตรวจฯสอบ \"กองทัพเรือ\" ปมทำ EHIA สนามบินอู่ตะเภา ปชช.ได้มลภาวะเสียง

ทั้งนี้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในวันดังกล่าว มีการแจ้งให้ประชาชนทราบว่าจากการศึกษาพบว่า เส้นเสียง NEF > 40 (แรเงาสีชมพู) และ NEF < 40 (แรเงาสีฟ้า) ของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเสียง ซึ่งแนวเส้นระดับความดังของเสียงนี้ได้รับมาจากข้อมูลจากข้อบังคับการบินของการบินในอดีตถึงปํจจุบันของทางขับที่ 1 ได้ผลสรุปดังนี้

เส้นเสียงที่ 1 จากการประชุมครั้งนี้ ระดับความดัง NEF > 40 (แรเงาสีชมพู) ผลกระทบจากระดับความดังเสียงครอบคลุมเป็นพื้นที่โดยประมาณดังนี้

ตำบลสำนักท้อน

หมู่ 3 บ้านสระแก้ว (0.9 ตร.กม.)
หมู่ 4 บ้านดลองบางไผ่ (0.61 ตร.กม.)
หมู่ 8 บ้านเชิงเขา (0.46 ตร.กม.)

ซึ่งประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากระดับความดัง NEF > 40 (แรเงาสีชมพูในแผนที่ 1 และ 2 รวมกัน) คิดเป็นจำนวนประมาณ 500 หลังคาเรือนเศษ

แนวเส้นเสียง ระดับความดัง NEF 30-40 (แรเงาสีฟ้าในแผนที่ 1 และ 2 รวมกัน) อยู่ในตำบลพลา ตำบลสำนักท้อน ตำบลพลูตาหลวงและตำบลห้วยใหญ่ ได้แก่

หมู่ 1 บ้านสำนักท้อน (3.01 ตร.กม.)
หมู่ 2 บ้านชากหมาก (0.77 ตร.กม.)
หมู่ 3 บ้านสระแก้ว (5.49 ตร.กม.)
หมู่ 4 บ้านคลองบางไผ่ (1.48 ตร.กม.)
หมู่ 5 บ้านยายร้า (0.04 ตร.กม.)
หมู่ 6 บ้านเขาคลอก (4.44 ตร.กม.)
หมู่ 7 บ้านหนองตะเคียน (0.05 ตร.กม.)
หมู่ 8 บ้านเชิงเขา (1.57 ตร.กม.)
หมู่ 5 บ้านเขาบายศรี (1.89 ตร.กม.)
หมู่ 11 บ้านมาบฟักทอง (0.84 ตร.กม.)
(ตามแผนที่เส้นเสียงที่ 1 และ 2 รวมกันที่แนบมาพร้อมหนังสือฉบับนี้)

ครั้งที่ 3 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนวันที่ 5 สิงหาคม 2563 เวลา 17.00 ถึงเวลา 20.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน และวันที่ 6 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 ถึงเวลา 12.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม 1-3 โรงแรมภูริมาศ บีช แอนด์ สปา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง แต่ปรากฎว่าในการประชุมที่มีการนำเสนอแนวเส้นเสียงที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ผิดไปจากแนวเส้นเสียงของการประชุมรับฟังรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 ที่ผ่านมา โดยผู้ทำการศึกษาแจ้งในการประชุมครั้งที่ 3 ว่าแนวเส้นเสียงนี้ทำขึ้นจากการสร้างแบบจำลอง โดยตั้งสมมุติฐานอันมิได้มาจากข้อมูลพื้นฐานของการบินจริงในอดีตและปัจจุบันของทางขับที่ 1 ซึ่งเส้นเสียงดังกล่าวจากการประชุมครั้งที่ 3 นี้ทำให้ความครอบคลุมไปถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบทางด้านเสียงจริงลดน้อยถอยลงไปเป็นอันมากกล่าวคือ

เส้นเสียงที่ 1 จากการประชุมครั้งที่ 2 มี่ครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากแนวระดับความดังเสียง NEF > 40 มีอยู่ประมาณ 500 หลังคาเรือนเศษ

แต่ในทางกลับกัน เส้นเสียงที่ 2 จากการประชุมครั้งที่ 3 จากแนวเส้นระดับความดังเสียง NEF > 40 (เส้นสีแดงทรงเจดีย์) จะมีครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบเหลืออยู่เพียง 80 หลังคาเรือน (ตามแผนที่แนวเส้นเสียงที่ 1 และ 2 รวมกันที่แนบมาพร้อมกันนี้) 

ร้องผู้ตรวจฯสอบ \"กองทัพเรือ\" ปมทำ EHIA สนามบินอู่ตะเภา ปชช.ได้มลภาวะเสียง

จะเห็นได้ว่าจากการสำรวจและประชุมในครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ข้อเท็จจริงของผู้ได้รับผลกระทบจากความดังของเสียงถูกลดลง โดยการสร้างแบบจำลองที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบินจริงทั้งในอดีตและปัจจุบันจากทางขับที่ 1 เช่นเดียวกับทางขับที่ 2 ได้ถูกจำลองแบบการบินโดยสมมุติฐานเดียวกัน ซึ่งมิอาจนำมาเป็นการกำหนดแนวเส้นเสียงที่เกิดจริงได้

ในคณะทำงานกลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงจากการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ได้ลงสอบถามประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเสียง ล้วนมีความกังวลใจว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมในการชดเชยหรือเยียวยาที่สอดคล้องตามข้อเท็จจริง ทั้งที่ประชาชนมีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา หากได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรมครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางเสียงจริง

ตามที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าแผนที่เส้นเสียงทั้ง 2 ฉบับขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงและไม่อาจสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้ 

ครั้งที่ 4 มีการประชุม Online ผ่าน Zoom Meeting วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 - 12.00 น.กิจกรรมการชี้แจงข้อมูล (เพิ่มเติม) เนื้อหาสาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้เพื่อแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมของบริษัทที่ปรึกษาสรุปผู้ที่ได้รับผลกระทบดังนี้ 

ผู้ที่ได้รับผลกระทบในเส้นเสียง NEF >40 จากเส้นเสียงที่ 2 จำนวน 80 หลังคาเรือนเพิ่มขึ้น 13 หลังคาเรือน รวมเป็นจำนวน 93 หลังคาเรือน 

ผู้ที่ได้รับผลกระทบในเส้นเสียง NEF 30-40 จากเส้นเสียงที่ 2 จำนวน 2,459 หลังคาเรือนเพิ่มขึ้น 32 หลังคาเรือนและลดลง 12 หลังคาเรือน รวมเป็นจำนวน 2,466 หลังคาเรือน (ตามแผนที่เส้นเสียงที่ 3 ที่แนบมา)

จะเห็นได้ว่าการจัดประชุมครั้งที่ 4 นี้เป็นไปด้วยความเร่งรีบแม้จะมีเสียงทัดทานจากประชาชนในพื้นที่ว่ายังไม่เหมาะสมที่จะจัดประชุมด้วยการประกาศ พรก.ฉุกเฉินจากสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งประชาชนส่วนมากไม่สามารถเข้าถึงการประชุม Online ได้ แต่ก็ยังคงมีการจัดประชุมโดยบริษัทที่ปรึกษาสำรวจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนโดยไม่คำนึงถึงเสียงทัดทานใดๆ ทั้งสิ้น จากการประชุมในแต่ละครั้งรวมถึงครั้งนี้บริษัทที่ปรึกษาฯ และผู้เกี่ยวข้อง ก็มิเคยนำเอาความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เข้ามาแก้ไขหรือปรับปรุง ซึ่งอย่างนี้จะเรียกว่าการประชุมรับฟังความคิดเห็นก็คงจะไม่เป็นที่สมควรมากนัก จากการตั้งข้อสังเกตการสรุปรายงานการประชุมครั้งนี้ที่เป็นลายลักษณ์อักษรของบริษัทที่ปรึกษาฯ ก็มิได้มีความสอดคล้องกัน และหลีกเลี่ยงการถอดข้อมูลการบันทึกเสียงบางอย่างโดยมิได้ลงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในรายงานสรุปการประชุมในครั้งนั้น ซึ่งประชาชนยังมีข้อกังขาต่อบริษัทที่ปรึกษาฯ ดังกล่าวเป็นอันมาก ความไม่รู้ไม่คุ้นชินภูมิประเทศของบริษัทที่ปรึกษาฯ ทิศทางลม ทิศทางการขึ้นลงของอากาศยาน, Utapao VFR Local Procedure, General Aviation รวมถึงวงจรการบิน (Rectangular) สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มิได้นำเข้าข้อมูลมาเพื่อใช้ในการสร้างแบบจำลอง (Model Simulation) ข้อมูลผลกระทบจึงออกมาโดยผิดจากความเป็นจริง

ด้วยเหตุดังกล่าว ประชาชนกว่า 480 หลังคาเรือนในตำบลสำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ที่ได้รับผลกระทบจากเส้นเสียง NEF >40 ซึ่งกำลังจะเป็นผู้เดือดร้อนและเสียหายการใช้เล่ห์ฉลหลีกเลี่ยงการกำหนดเส้นเสียง (NEF) ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้น-ลงของเครื่องบิน ณ สนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง ไม่ให้ตรงกับข้อเท็จจริงดังกล่าว ได้พยายามร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบมาอย่างต่อเนื่องแล้ว อาทิ นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดระยอง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฯลฯ แต่ก็ไม่มีหน่วยงานใดให้คำตอบ หรือดำเนินการเพื่อให้มีการทบทวนการกำหนดเส้นเสียง NEF ให้สะท้อนข้อเท็จจริงโดยไม่มีการบิดเบือนได้ ดังนั้นตัวแทนชาวบ้านในตำบลสำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง จึงได้มาร้องขอให้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนได้ช่วยเป็นธุระในการเรียกร้องความเป็นธรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประศาสน์ความเป็นธรรมให้กับพวกเขาเหล่านั้น

ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จึงใคร่เรียนมายังผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอได้โปรดใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  พ.ศ.2560 มาตรา 230(1)และหรือ(2) ประกอบ พรป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2560 เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีชาวบ้านในตำบลสำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการใช้เล่ห์ฉลหลีกเลี่ยงการกำหนดเส้นเสียง (NEF) ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้น-ลงของเครื่องบิน ณ สนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง ไม่ให้ตรงกับข้อเท็จจริง อันทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนหรือไม่ได้รับสิทธิการชดเชยตามความเป็นจริง และไม่ได้รับความเป็นธรรม 

และนอกจากนี้ ประชาชนกว่า 480 หลังคาเรือนในตำบลสำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ที่ได้รับผลกระทบจากเส้นเสียง NEF >40 มีข้อเสนอและข้อเรียกร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน ดังนี้

1)ประชาชนชาวสำนักท้อนไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านการรายงานผลสำรวจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนโดยรอบสนามบินอู่ตะเภา (EHIA) ทุกฉบับ และขอให้มีการทบทวนในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดเส้นเสียง NEF เสียใหม่ ยกเว้นรายงานจากการประชุมครั้งที่ 2 ซึ่งจัดทำโดย บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด

2)ให้นำแผนที่เส้นเสียงที่ 1 จากการประชุมในครั้งที่ 2 เป็นบรรทัดฐานในการชดเชยและเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากแนวเส้นระดับความดังของเสียง NEF > 40 ไม่น้อยกว่า 500 หลังคาเรือน และผู้ได้รับผลกระทบที่อยู่ในแนวระดับความดังของเสียง NEF 30-40 อีกหลายหมู่บ้านดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เพราะอย่างน้อยแผนที่เส้นเสียงนี้ถึงจะไม่ถูกต้องทั้งหมดแต่มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงถึงผลกระทบมากที่สุด 

(ทั้งนี้ การเจรจาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในเส้นเสียง NEF>40 นั้นรัฐบาลยังสามารถนำพื้นที่เหล่านี้ใช้ในกิจกรรมอื่นๆ เช่น MRO, Logistics, Cargo หรือสนามแข่งรถ เพราะมีความเหมาะสมของทำเลที่ตั้ง ซึ่งอาจจะมองเป็นลักษณะลาดกระบังโมเดลก็เป็นไปได้)

3)หากไม่สามารถนำแผนที่แนวเส้นเสียงที่ 1 ในการประชุมครั้งที่ 2 มาเป็นบรรทัดฐานในการชดเชยและเยียวยาได้ ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินใช้อำนาจตามกฎหมายในการจัดประชุมระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดเช่น กองทัพเรือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก บริษัทที่ปรึกษาสำรวจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ และประชาชน เพื่อให้มีการชี้แจงที่มาของข้อมูลต่างๆ ที่นำมาเป็นข้อมูลนำเข้าในการสร้างแบบจำลองนี้และอีกทั้งยังเป็นการเจรจาเพื่อหาข้อยุติเพื่อการเริ่มต้นพัฒนาเมืองการบินเป็นลำดับต่อไป

4)หากพบว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนนี้แล้ว หน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ละเลยเพิกเฉยไม่ยอมปฏิบัติตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ขอให้รายงานการไม่ปฏิบัติตามความเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามมาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 35 ของพรป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2560 ต่อไปด้วย

ท้ายนี้หากท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ดำเนินการอย่างใดๆ ตามอำนาจหน้าที่อย่างไรแล้ว มีผลความก้าวหน้าเป็นประการใด ๆ ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว กรุณาแจ้งให้สมาคมฯและตัวแทนชาวบ้านได้ทราบด้วย ทั้งนี้ตามมาตรา 41  มาตรา 51 มาตรา 59 มาตรา 63 และมาตรา 78 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560  ประกอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ด้วย