“จตุพร-นิติธร”ซัดนายกฯแก้ปัญหาพลังงานอย่าอ้างสงครามแนะเด็ดขาดกับนายทุน

“จตุพร-นิติธร”ซัดนายกฯแก้ปัญหาพลังงานอย่าอ้างสงครามแนะเด็ดขาดกับนายทุน

“จตุพร-ทนายนกเขา”ซัดนายกฯแก้ปัญหาพลังงานอย่าอ้างสงคราม-แนะเด็ดขาดกับนายทุน ลั่นหากใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง รัฐจงใจปกปิดการตรวจสอบ

ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รับมอบหนังสือจากคณะหลอมรวมประชาชน มาติดตามทวงถามถึงหนังสือข้อเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรี การแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงานฯ เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 65 นำโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. พร้อมคณะ และนายนิติธร ล้ำเหลือ (ทนายนกเขา) กลุ่มประชาชนคนไทย 

โดยคณะหลอมรวมประชาชนได้พิจารณาข้อเรียกร้อง 9 ข้อ ของกลุ่มรวมประชาชนพร้อมกับมาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบฯของรัฐบาล มีความเห็นว่า

1.ยังมิได้มีการดำเนินการใดที่สมบูรณ์ตามข้อเรียกร้อง

2.การคงค่าการตลาดน้ำมันดีเซลไม่เกิน 1.40 บาท/ลิตร เป็นการหยิบยกประกาศเดิมที่เคยประกาศไว้แล้ว และมาตรการครั้งนี้ไม่ได้กล่าวถึงค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน ควรมีมาตรการคงค่าการตลาดน้ำมันเบนซินต้องไม่เกิน 1.85 บาท/ลิตร ทันที

3.การใช้งบประมาณในมาตรการช่วยเหลือเป็นการใช้งบของรัฐที่มาจากการเก็บภาษีภาคประชาชนและธุรกิจ และเงินจากการกู้ยืมรวมอยู่ในหนี้สาธารณะ 

4.ปัญหาพลังงานแพงเกิดจาก

  • กฎหมายกำหนดให้ปิโตเลียมเป็นของรัฐ สวนทางกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
  • การบริหารกิจการพลังงาน
  • การกำหนดราคาพลังงาน
  • บุคลากรไม้มีตัวแทนภาคประชาชนอย่างแท้จริง
  • ผู้บริหารระดับนโยบาย สั่งการบางคนได้รับผลประโยชน์ทับซ้อน
  • กิจการพลังงานปัจจุบันเป็นองค์กรอยู่เหนือรัฐบาล รัฐสภา 
     

5.มาตรการความช่วยเหลือฯ เป็นลักษณะขอความร่วมมือมากกว่าสั่งการให้ปฏับัติทันที

6.กิจการพลังงานหน่วยงานรัฐเป็นผู้ถือหุ้นอยู่มากกว่าครึ่ง จึงไม่มีอุปสรรคใดที่จะช่วยเหลือประเทศชาติ 

7.นายกฯมอบหมายสมช.ดูแลเรื่องอาหารและพลังงาน

  • ปัญหาเงินเฟ้อ เศรษฐกิจชะลอตัวและถดถอย ประขาชน 90% ไม่ได้เป็นผู้ก่อ
  • การบริหารงานของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้ปฏิรูปประเทศให้มีผลสัมฤทธิเป็นรูปธรรม
  • การประกอบธุรกิจต่างๆในประเทศ มีลักษณะกึ่งผูกขาด จนทำลายหลายอาชีพของประชาชน
  • ธุรกิจพลังงาน มีลักษณะก่อให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน
  • สนธิสัญญาไทย-สหรัฐฯ เป็นสัญญาที่ประเทศไทยเสียเปรียบอย่างมาก
  • ผลจากการลงนามข้อตกลงอินโด-แปซิฟิค ก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อมิตรประเทศของไทย

ด้านนายนิติธร กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ทางเลขาสมช.ได้กล่าวนั้น คือสินค้าราคาแพง ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยอ้างอิงเฉพาะผลกระทบจากโควิด-19 และกรณีปัญหารัสเซีย-ยูเครน เป็นเพียงการกล่าวอ้างที่ปกปิดความเน่าของระบบเศรษฐกิจและการบริหารราชการของรัฐบาล เมื่อเลขาสมช.เข้ามาต้องไปดูการทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี การทำหน้าที่ของครม. โครงสร้างบริษัทพลังงาน หากเป็นไปโดยสุจริตโปร่งใด ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน สิ่งต่างๆเหล่านี้จะไม่เกิดปัญหาใดๆทั้งสิ้น 

นายนิติธร กล่าวต่อว่า วันนี้สถานการณ์ที่เกิดปัญหามาจากการบริหารสภาพธุรกิจและเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันในรายละเอียดของสมช.กำลังพูดถึงการเตรียมการที่จะออกมาตรการใดๆตามความมั่นคงแห่งชาติ หากออกมาตรการมาจะเป็นการซ้ำเติม ฉะนั้นสมช.กรุณาใช้อำนาจอย่างจำกัด รัฐบาลต้องบริหารประเทศด้วยรัฐธรรมนูญ หากนำพ.ร.บ.ความมั่นคงมาใช้เท่ากับว่ารัฐกำลังปกปิดไม่ให้มีการตรวจสอบ

“สถานการณ์ที่กำลังจะเกิดในวันข้างหน้านี้ รัฐไม่มีศักยภาพเพียงพอ กองทัพทั้งกองทัพก็ไม่สามารถรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต วันนี้ต้องเปิดทางให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเสนอความคิดเห็นคิด และเร่งทำตามที่คณะหลอมรวมประชาชนยื่นหนังสือ” นายนิติธร กล่าว

นายจตุพร กล่าวต่อว่า อยากเรียนไปยังนายกรัฐมนตรี ท่านกล้าเอื้อกับกลุ่มทุนพลังงาน ปล่อยละเลยให้มีการอิงราคาสมมติตลาดน้ำมันสิงคโปร์ กรณีน้ำมันและก๊าซเป็นการปล้นเชิงนโยบาย นายกฯต้องกล้าเด็ดขาดกับกลุ่มทุนพลังงาน กรณีโรงกลั่น 4 โรงของปตท.

"หากนายกฯมีประสิทธิภาพภายใน 1 ชม.สามารถบริหารจัดการได้อย่างครบถ้วนแม้ว่าจะมีกรณีผู้ถือหุ้นก็ตาม ไม่ทราบว่านายกฯเหตุใดต้องเกรงใจกลุ่มทุนน้ำมัน อย่ากล่าวอ้างเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง"