"รัฐสภา" ข้างมากเห็นชอบ "นายกฯ" นั่ง ประธาน ก.ตร. ตามร่างพ.ร.บ.ตำรวจ

"รัฐสภา" ข้างมากเห็นชอบ "นายกฯ" นั่ง ประธาน ก.ตร. ตามร่างพ.ร.บ.ตำรวจ

รัฐสภา พิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจ ต่อเนื่อง ประเดิมถกเนื้อหาสำคัญ โครงการ ก.ตร. "ฝ่ายค้าน" ค้าน ให้ "นายกฯ" นั่งประธานก.ตร. ห่วงเปิดช่องการเมืองแทรกแซง แต่เสียงข้างมาก หนุนตามกมธ.แก้ไข

         ในการประชุมรัฐสภา ที่มีนายชวน หลีกภัย  ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญัญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.... ซึ่งกรรมาธิกาาร(กมธ.) วิสามัญฯ ที่มี พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ส.ว. ฐานะรองประธานกมธ. ทำหน้าที่ประธานกมธ. พิจารณาแล้วเสร็จ ในวาระสอง ต่อเนื่อง

 

         ทั้งนี้ที่ประชุมได้เข้าสู่การพิจารณาในประเด็นสำคัญ คือ  บทว่าด้วยคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) โดยร่างมาตรา 14 กมธ. คงกำหนดให้ นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ประธาน ก.ตร. และตัดตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม อัยการสูงสุด และเลขาธิการสำนักศาลยุติธรรม ออกจากกบทบัญญัติที่เสนอในวาระรับหลักการ

 

         สำหรับการอภิปรายของส.ส.ในมาตราดังกล่าวทักท้วงและไม่เห็นด้วย ต่อการกำหนดให้ นายกรัฐมนตรี  ดำรงตำแหน่งประธาาน ก.ตร. เนื่องจากกังวลว่าจะเปิดช่องให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจได้

 

         โดยพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย อภิปรายว่า ตนไม่เห็นด้วยให้นายกรัฐมนตรีฐานะฝ่ายการเมืองดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาพบการใช้อำนาจ และตำแหน่งเพื่อแทรกแซงโยกย้ายโดยไม่คำนึงถึงหลักการอาวุโส ความรู้ความสามารถ และเพื่อให้การแต่งตั้งโยกย้ายข้าาชการตำรวจเป็นไปตามความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมในความอาวุโส เห็นควรให้ บุคคลในวงการตำรวจ เช่น ผบ.ตร. หรือ อดีต ผบ.ตร. ทำหน้าที่ดังกล่าว 

 

\"รัฐสภา\" ข้างมากเห็นชอบ \"นายกฯ\" นั่ง ประธาน ก.ตร. ตามร่างพ.ร.บ.ตำรวจ

         ขณะที่ในตำแหน่งของ ก.ตร.นั้น ยังมีผู้เสนอให้มีสัดส่วนจากภาคประชาชน ตัวแทนประชาชนที่มาจากการเลือกตั้ง รวมถึง นายกสภาทนายความ มีส่วนร่วม  แต่ในการลงมติปรากฎว่าเสียงข้างมากเห็นชอบกับการแก้ไขของกมธ.

 

         ต่อจากนั้นได้พิจารณามาตรา 15 ว่าด้วยหน้าที่และอำนาจของ ก.ตร. ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาก่อนลงมติให้เป็นไปตามการแก้ไขของกมธ.เสียงข้างมากที่กำหนดให้ ก.ตร.  ออกข้อกำหนด นโยบาย มาตรฐาน ที่เกี่ยยวเนื่องกับข้าราชการตำรวจ

 

 

         ผู้สื่อข่าววรายงานว่าสำหรับการพิจารณาของร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ตามที่ประชุมคณะกรรมการประสานรัฐสภา เมื่อ 15 มิถุนายน เบื้องต้นได้กำหนดระยะเวลาประชุม วันที่ 16 - 17 มิถุนายน และวันที่ 24 มิถุนายน แต่หากไม่แล้วเสร็จจะพิจารณาเพิ่มวันประชุมในวันอังคาร ทั้งนี้วิปขอให้ส.ส.ใช้เวลาอภิปรายเนื้อหาให้กระชับ ไม่ซ้ำกับการอภิปรายของบุคคลอื่นเพื่อลดเวลาอภิปรายของสมาชิก และเร่งการทำงานในภาพรวม