หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

กระจูด พืชน้ำพบมากในจังหวัดพัทลุง ถูกมองข้ามจากผู้คนเมื่อหลายสิบปีก่อน ได้รับการสร้างคุณค่าจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผ่านงานหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น อีกทั้งยังพระราชทานชีวิตใหม่ให้แก่ราษฎร

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

ครอบครัวของมนัทพงศ์ เซ่งฮวด ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ถือเป็นหนึ่งตัวอย่างของผู้หลุดพ้นจากความยากจน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นผู้นำชุมชนสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ท่าน พัฒนางานจักสานเป็นสินค้าสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในระดับสากล

ย้อนไปเมื่อปีพุทธศักราช 2542 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ไปยังหมู่บ้านทะเลน้อย หมู่บ้านหัวป่าเขียว ทรงทราบว่าชาวบ้านในพื้นที่มีฐานะยากจน เสด็จลงเป็นองค์นำทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของเขาเหล่านั้น   

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

"แม่ของผม (วรรณี เซ่งฮวด ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2556) รู้ข่าวว่าสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ มาที่หมู่บ้าน นำกระเป๋าสานจากกระจูด ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระองค์ เมื่อทอดพระเนตร มีรับสั่งให้มาเป็นสมาชิกศิลปาชีพนับตั้งแต่นั้นมา ซึ่งความรู้ด้านงานจักสานของแม่ ได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษต่อกันมา ทอกระจูดเป็นเสื่อเสร็จ นำไปขายแต่ได้เงินไม่มาก ความที่กระจูดเป็นของทนทาน นานๆ ทีถึงจะมีคนมาซื้อสักที 

ส่วนพ่อของผมทำอาชีพประมงหาปลา มีรายได้ไม่แน่นอน สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวยากจน บ้านที่พักเป็นบ้านไม้ยกพื้นสูง ไม่มีห้องน้ำ ผมกับพี่สาวสองคนแทบไม่มีเงินไปเรียนหนังสือ เรามีชุดนักเรียนแค่คนละชุดใส่ไปโรงเรียน เลิกเรียนกลับถึงบ้าน รีบทำการบ้าน ซักเสื้อผ้าจะได้มีชุดใส่ไปโรงเรียนวันรุ่งขึ้น เสร็จแล้วก็มาช่วยแม่สานกระจูดจนมืดค่ำ 

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

แรกๆ ทำไม่ค่อยเป็นหรอก แม่สอนให้ผมเริ่มจากงานง่ายๆ พอคล่องแล้วก็สานเสื่อเป็นผืนใหญ่ แต่ทำอะไรไม่ได้มากนัก เรายังเด็กเกินไป วันเสาร์อาทิตย์ ผมกับพี่สาวออกไปตัดกระจูดในป่าพลุตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง ชีวิตของพวกเราทำไปตามมีตามเกิด ในหัวนึกไม่ออกหรอก ว่าวันข้างหน้าจะเป็นยังไง คนรอบตัวก็อยู่กันแบบนี้ แต่แม่ไม่เคยท้อ เอาชนะความยากจนด้วยความมุมานะ ไปฝึกอาชีพกับครูศิลปาชีพที่สมเด็จพระพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้สอนงานจักสาน งานทอผ้าและงานปักไหมกับชาวบ้าน"

แม้ในปีแรกของการก่อตั้งศิลปาชีพป่าหัวเขียว จังหวัดพัทลุง มีสมาชิกเพียง 10 ราย สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินยังหมู่บ้านแห่งนี้อีกครั้ง เพื่อทรงติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน 

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

"พระองค์ท่านทรงไม่ทอดทิ้งพวกเรา ทรงรับซื้องานจักสานกระจูดเป็นเสื่อ กระเป๋า ตะกร้า กระจาดใส่ของ ที่เกิดจากการฝึกทักษะใหม่ ทั้งยังพระราชทานกำลังใจ ทรงชักชวนให้ชาวบ้านมาเป็นสมาชิกศิลปาชีพเพิ่มขึ้น มีพระเมตตาพระราชทานทุนการศึกษาแก่ผมกับพี่สาว รวมทั้งเด็กคนอื่นๆ ก็ได้รับทุนฯ จนจบการศึกษาขั้นสูงสุด ความปลื้มใจครั้งนี้โดยเฉพาะพ่อกับแม่โล่งอก หมดห่วงว่าจะไปหาเงินมาจากไหน ส่งเสียให้เรียนสูงๆ  

นับจากนั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านผลิตผลงานเพื่อส่งต่อให้กับศิลปาชีพ มีรายได้แน่นอน อีกทั้งเจ้าหน้าที่เชิญกระแสพระราชดำรัสจากสมเด็จพระบรมราชชนนีหลวง มากล่าวกับชาวบ้าน ว่าสินค้าที่ทำนี้ไม่จำเป็นต้องส่งให้กับศิลปาชีพเท่านั้น สามารถนำไปส่งที่อื่น จะได้มีรายได้เสริม เมื่อตั้งหลักได้แล้ว ก็ขอให้ช่วยคนเดือดร้อน แบ่งปันความรู้ที่ได้จากครูศิลปาชีพแก่ผู้อื่น 

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

แม่ของผมได้ทราบอย่างนี้ เลยไปเป็นวิทยากรให้กับกรมแรงงานสอนจักสานกระจูดกับคนที่อยู่ต่างชุมชน ต่างอำเภอ สอนตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน สานเสื่อลายสอง ลายลูกแก้ว ลายวงเวียน ย้อมสีจากเคมีและธรรมชาติ ก่อนทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี ปีแรกมีสมาชิก 35 คน ปัจจุบันเพิ่มขึ้น 75 คน เท่ากับว่าเราช่วยคนได้มากถึง 75 ครัวเรือน"

จากสมาชิกศิลปาชีพเพียง 10 คน ขยายผลมาเป็นชุมชนหัตถกรรมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พ่อของมนัทพงศ์เลิกอาชีพประมงเพื่อมาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ  

"แม่ของผมมีหลายบทบาท เป็นทั้งคนผลิตสินค้ากระจูด วิทยากร ทำงานวิสาหกิจชุมชนด้วย พ่อเลิกอาชีพประมง ออกมาช่วยแม่ทำงานจักสาน เงินที่ครอบครัวเก็บสะสมมาเรื่อยๆ นำมาสร้างบ้านหลังแรกได้สำเร็จ แล้วผมย้ายไปเรียนต่อปวช.สาขาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช ที่เลือกเรียนสาขานี้เพราะผมโตมากับงานจักสาน ชอบวาดรูป ตอนเด็กๆ เป็นตัวแทนนักเรียนประกวดงานศิลปะ เคยได้รับรางวัลระดับภาคใต้มาแล้ว

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

พอเรียนจบ ครูแนะแนวบอกให้ผมไปต่อสายศิลป์ ก็ทำตามที่ครูบอก เข้าเรียนที่ม.ทักษิณจนจบ แล้วไปต่อปริญญาโทที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างที่เรียน ผมกับพี่สาวเขียนจดหมายถวายรายงานแด่สมเด็จพระพันปีหลวง เกี่ยวกับผลการเรียนทุกปีและความเป็นอยู่ของครอบครัวทุกปี" 

ความรู้ที่มนัทพงศ์ร่ำเรียนมา ต่อยอดพัฒนางานสานกระจูดที่คนมองว่าเป็นแค่เสื่อสำหรับปูนั่ง หรือสานตะกร้าใส่ของหิ้วไปวัด ไม่มีค่าอะไร นำมาปรับดีไซน์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างลวดลาย กำหนดสีสันหลากหลายกว่าเดิม โดยอาศัยจุดเด่นของกระจูด พืชที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำเป็นกระเป๋าสำหรับผู้หญิงและชาย ตะกร้าใส่ของ รองเท้า ของตกแต่งบ้าน ชุดรองโซฟา โคมไฟ Art Wall ประดับบนหัวเตียงในโรงแรมที่พักและอื่นๆ ส่งผลให้งานจักสานเคยขายได้ราคาหลักร้อย กลายเป็นเงินหลักพัน ส่งขายให้กับห้างสรรพสินค้ารวมทั้งสินค้าแบรนด์ระดับโลก 

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

หัตถกรรมแม่ของแผ่นดิน หัตถศิลป์หล่อเลี้ยงชีวิต

"เราสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าจากฝีมือเครือข่าย 3 ชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง บ้านไหนเก่งเรื่องทอผ้า ปักไหม ก็ชวนลูกชวนหลานมาทำงานด้วยกัน ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้า ส่วนผมเมื่อเรียนจบแล้ว อยากกลับมาอยู่บ้าน พัฒนาชุมชนของเรา สานต่อสิ่งที่สมเด็จพระพันปีหลวงทรงสร้างไว้ ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนกระจูดแบบมีที่พักโฮมสเตย์สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจงานหัตถกรรม

พระองค์ทรงเป็นผู้พระราชทานชีวิตใหม่ ทรงหยิบยื่นโอกาสและผลักดันให้งานหัตถกรรมเป็นอาชีพ ทำให้ราษฎรหลุดพ้นจากความยากจนที่ในวันนั้นแทบมองไม่เห็นหนทางเลย ว่าชีวิตของเราจะไปทางไหน 

ในวันนี้ชาวบ้านมีชีวิตที่ดี เกิดความภาคภูมิใจ ครั้งล่าสุด ชุมชนร่วมกันผลิตของที่ระลึกจากกระจูด มอบให้ผู้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เผยแพร่สินค้าไทยที่เกิดจากการส่งเสริมอาชีพของสมเด็จพระพันปีหลวงสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทยโดยแท้ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ"

 
ภาพ : verni craftstay