‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ 3 ค่ายอาสา ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน

‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ 3 ค่ายอาสา ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน

‘ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล’ นำหลักวิศวกรรมศาสตร์ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน ภายใต้แนวคิด ‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ ผ่านความร่วมมือของ 3 ค่าย อาทิ ค่ายอาสา ค่ายวิศวพัฒน์ และค่ายอาสาพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ ตามศาสตร์พระราชา

จากแนวคิดของผู้นำ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการนำหลักวิศวกรรมศาสตร์ มาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ภายใต้แนวความคิด ‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’  ผ่านค่ายอาสา ค่ายวิศวพัฒน์ ค่ายอาสาพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ ตามศาสตร์พระราชา

ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล ผู้ริเริ่มนำหลักวิศวกรรม มาใช้ในการพัฒนาชุมชน เล่าถึงการเกิดค่ายวิศวพัฒน์ จากอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ไปร่วมดูงานของ มูลนิธิรากแก้ว ที่จังหวัดน่าน ซึ่งมีความร่วมมือกับจุฬาฯ เมื่อประมาณปี 2560

และได้เห็นแนวคิดการพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ปัญหาสังคมรากหญ้าอย่างยั่งยืน โดยใช้แนวทางการพัฒนาตาม ศาสตร์พระราชา  จึงเห็นว่า นิสิตคณะวิศวะฯ น่าทำค่ายอาสาในแนวนี้บ้าง เพราะคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับชุมชนได้มาก และนิสิตได้เรียนรู้ถึงการนำหลักวิศวะไปใช้งานได้จริง จนครบกระบวนการไปจนถึงผลลัพธ์

หลักวิศวกรรม กับค่ายอาสา ตามแนวทางศาสตร์พระราชา

ศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางการพัฒนาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล นำมาใช้เป็นหลักการของค่ายวิศวพัฒน์ โดยยึดแนวคิด  เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา   ‘การระเบิดจากข้างใน’  และ ‘การมีส่วนร่วม’

เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

นิสิตต้องเข้าใจบริบทปัญหาของชุมชนก่อนโดยการเข้าพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้าน / นิสิตต้องเข้าถึงชุมชนให้ชาวบ้านในชุมชนเชื่อใจหรือไว้ใจในตัวเราว่าจะสามารถช่วยเขาได้จริง สิ่งที่จะดำเนินการจะต้องเกิดจากความต้องการของชาวบ้าน / และการพัฒนาจึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ 3 ค่ายอาสา ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน

การระเบิดจากข้างใน

เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือความคิดของบุคคล/สังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้าน ที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสได้เตรียมตัว หรือตั้งตัว  โจทย์ควรเกิดจากคนในพื้นที่เอง และหาวิธีการดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยชุมชนในพื้นที่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการพูดคุยและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ 3 ค่ายอาสา ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน

การมีส่วนร่วม

สุดท้ายการพัฒนาพื้นที่ต้องทำแบบมีส่วนร่วมนั่นคือชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง หรือเป็นกลุ่มหลักที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆที่ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว  กลุ่มนิสิตเราไปช่วยเสริมเท่านั้น  การดำเนินการเช่นนี้ชาวบ้านในพื้นที่จะรู้สึกว่าเป็นเจ้าของในสิ่งที่ตนเองได้เป็นผู้ทำหลัก ความยั่งยืนในการพัฒนาจึงเกิดขึ้น

‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ 3 ค่ายอาสา ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน

สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนดี ด้วยหลักวิศวะ

ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล บอกว่า จากการศึกดูงานมาในหลายพื้นที่ทั่วโลก จะเห็นว่าทุกพื้นที่ที่คนในชุมชนประสบความสำเร็จไม่ว่าเรื่องการทำธุรกิจในชุมชนรวมถึงวิถีชีวิต มักจะสังเกตเห็นว่าชุมชนแห่งนั้นมีสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงริเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้ในค่ายอาสา พร้อมกับนำความถนัดและวิชาชีพเฉพาะตัวด้านวิศวกรรมศาสตร์มาใช้พัฒนา สิ่งแวดล้อมให้กับคนในชุมชน

‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ 3 ค่ายอาสา ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล ผู้ริเริ่มนำหลักวิศวกรรม มาใช้ในการพัฒนาชุมชน

อย่างบางพื้นที่มีปัญหาเรื่องของการขาดแคลนน้ำในการทำเกษตร  จึงหาพื้นที่เกษตรเพิ่มขึ้นด้วยการเผาป่า เพื่อให้มีพื้นที่ในการทำเกษตร ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อได้นำหลักวิศวกรรมศาสตร์ เช่นการสร้างฝาย เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ 3 ค่ายอาสา ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ทำให้ชุมชนแห่งนั้นจะมีน้ำใช้ในการทำเกษตรไปตลอดปี เมื่อมีน้ำใช้ในการทำเกษตรแล้วการเผาป่าจึงไม่มีความจำเป็น นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการนำหลักการทางวิศวกรรมมาใช้ในการแก้ปัญหาพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง

‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ 3 ค่ายอาสา ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน โครงการ ค่ายวิศวพัฒน์ จะยังคงดำเนินการต่อไปโดยยึดแนวคิด สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี  ผ่านค่ายอาสา ค่ายวิศวพัฒน์ ค่ายอาสาพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา

‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’ 3 ค่ายอาสา ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ‘สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดี’