สาธารณสุข แนะ ผู้ป่วยโควิด-19 'หาหมอออนไลน์ฟรี' ผ่าน 3 แอป

สำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แนะให้ประชาชน'หาหมอออนไลน์ฟรี' ผ่าน 3 แอปพลิเคชันสุขภาพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
"กระทรวงสาธารณสุข" โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แนะสำหรับ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 'หาหมอออนไลน์ฟรี' ผ่าน 3 แอปพลิเคชันสุขภาพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
วันนี้ (22 พ.ค. 68) เวลา 08.30 น. นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข แนะนำประชาชนที่ต้องการติดต่อรับการดูแลจากผู้ให้บริการ tele-medicine หรือบริการทางการแพทย์ทางไกล ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ป่วยโควิด-19 หาหมอออนไลน์ฟรี ผ่าน 3 แอปพลิเคชันสุขภาพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
1. แอปพลิเคชัน Saluber MD (ซาลูเบอร์ เอ็ม ดี) ดำเนินการโดยสุขสบายคลินิกเวชกรรม
2. แอปพลิเคชัน Clicknic (คลินิก) ดำเนินการโดยคลิกนิกเฮลท์คลินิกเวชกรรม
3. แอปพลิเคชัน Mordee (หมอดี) ดำเนินการโดยชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม ร่วมกับ สปสช.
ทั้งนี้ กรมการแพทย์ได้มีการปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ และมีการประกาศแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย การดูแลรักษา และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งกำหนดไว้ว่า กรณีผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก และไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง ส่วนกรณีผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญให้ดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก และดูแลตามอาการ ตามดุลยพินิจของแพทย์
และกรณีผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง ยังไม่ต้องให้ oxygen
“รัฐบาลขอให้ประชาชนมั่นใจว่าแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ดังข้างต้น มีเป้าหมายเพื่อให้การใช้ยาเป็นไปอย่างเหมาะสม ปลอดภัย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชน ในกรณีผู้ป่วยไม่แสดงอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง จะไม่มีการจ่ายยาต้านไวรัส เพราะส่วนมากสามารถหายได้เอง ซึ่งแม้ไม่ได้รับยาต้านไวรัส
ทุกขั้นตอนยังคงอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ผ่านระบบบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) สำหรับผู้ป่วยที่มี อาการรุนแรง หากแพทย์ประเมินแล้วว่า การรักษาผ่านระบบ Telemedicine ไม่เพียงพอ จะมีการแนะนำให้เข้ารับบริการที่โรงพยาบาล หรือเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โดยในกรณีดังกล่าวจะได้รับการจ่ายยาต้านไวรัสทางการแพทย์อยู่แล้ว” นายอนุกูล กล่าว