ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี เกษตรกรกู้ได้ 3 แสน

เงินกู้ ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี เกษตรกรกู้ได้ 3 แสนบาท ไม่ต้องจ่ายดอก เนื่องจากรัฐบาลชำระดอกเบี้ยแทน แก้ปัญหาผลผลิตข้าวเปลือกล้นตลาด ราคาตกต่ำ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส. ปล่อย “เงินกู้ ธ.ก.ส.” สินเชื่อเพื่อเกษตรกร สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ให้เกษตรกรกู้ได้รายละไม่เกิน 300,000 บาท โดยเกษตรกรไม่ต้องชำระดอกเบี้ย เนื่องจากรัฐบาลชำระดอกเบี้ยแทน ป้องกัน และแก้ไขปัญหาผลผลิตข้าวเปลือกล้นตลาด ราคาตกต่ำ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า จากกรณีที่ราคาข้าวขาวปรับตัวลง เนื่องจากตลาดโลกมีการส่งออกข้าวจากประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อราคาและกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรตามมานั้น
เงินกู้ ธ.ก.ส. “สินเชื่อเกษตรกร” เกษตรกรกู้ได้รายละไม่เกิน 300,000 บา ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
ธ.ก.ส. ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐพร้อมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาด้วยมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2567/68 กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ผ่านสินเชื่อ 2 โครงการ ได้แก่
1. สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 วงเงินรวมกว่า 35,000 ล้านบาท
- เกษตรกรกู้ได้รายละไม่เกิน 300,000 บาท
- สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท
- กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท
- วิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท
โดยเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรไม่ต้องชำระดอกเบี้ย เนื่องจากรัฐบาลรับภาระในการชำระดอกเบี้ยแทน เพื่อป้องกันปัญหาผลผลิตข้าวเปลือกล้นตลาดและมีราคาตกต่ำ รวมถึงเสริมสภาพคล่องให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรมีเงินหมุนเวียนระหว่างชะลอการขายข้าว และรองรับปริมาณข้าวเปลือกจากท้องตลาด 3 ล้านตัน
โดยมีประเภทข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการดังนี้
- ข้าวเปลือกหอมมะลิในเขต 23 จังหวัด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และภาคเหนือ 3 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา)
- ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานีและข้าวเปลือกเหนียว
คุณสมบัติผู้กู้ เงินกู้ ธ.ก.ส. “สินเชื่อเกษตรกร”
ต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 กับกรมส่งเสริมการเกษตร หรือสถาบันเกษตรกรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานราชการและรับรวบรวมข้าวเปลือกนาปีปีการผลิต 2567/68 เช่น สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน หรือศูนย์ข้าวชุมชน เป็นต้น
โดยข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีคุณสมบัติเป็นข้าวเปลือกที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 และสีได้ต้นข้าวไม่ต่ำกว่า 20 กรัม
กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิในเขต 23 จังหวัด
- 12,500 บาท/ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด 11,000 บาท/ตัน ข้าวเปลือกเจ้า 9,000 บาท/ตัน ข้าวเปลือก ปทุมธานี
- 10,000 บาท/ตัน และข้าวเปลือกเหนียว 10,000 บาท/ตัน ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วทั้งสิ้น 253,344 ราย
รวมจ่ายสินเชื่อแล้วกว่า 23,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังพร้อมสนับสนุนค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกให้อีก 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรเก็บข้าวเองได้รับ 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรฝากข้าวกับสถาบันเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับ 500 บาทต่อตัน และสถาบันฯ จะได้รับ 1,000 บาทต่อตัน ระยะเวลาจัดทำสัญญา ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
กรณีภาคใต้จัดทำสัญญาได้จนถึง 31 กรกฎาคม 2568 สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ลูกค้ารายย่อย สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีได้ และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
2. สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68
เป้าหมายรวบรวมข้าวเปลือก 1.5 ล้านตัน กรอบวงเงินรวม 15,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนและศูนย์ข้าวชุมชนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด สำหรับรับซื้อและรวบรวมข้าวจากเกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป
รวมถึงการนำผลผลิตไปแปรรูปจำหน่าย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต ซึ่งจะส่งผลให้การรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกในตลาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวงเงินแบ่งตามประเภทผู้กู้และศักยภาพการทำธุรกิจ ดังนี้
- สหกรณ์การเกษตร/ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร วงเงินแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท
- กลุ่มเกษตรกร วงเงินแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท
- วิสาหกิจชุมชนและศูนย์ข้าวชุมชน วงเงินแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท
โดยสถาบันฯ ชำระดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วนที่เหลือรัฐบาลและ ธ.ก.ส. รับหน้าที่ชำระแทนสถาบันเกษตรกร ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 กันยายน 2568 ซึ่งขณะนี้จ่ายสินเชื่อแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
อ้างอิง : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร