ลงราชกิจจา กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน

ลงราชกิจจา กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง ตัดเงินเดือน พ.ศ. 2567 มีผลพรุ่งนี้!

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน พ.ศ. 2567

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 (2) และมาตรา 141 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 8/2567 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 จึงออกกฎ ก.ตร. ไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 กฎ ก.ตร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยกรณีถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. นี้

ข้อ 3 ข้าราชการตำรวจผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัยในสถานโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง

มีต่อ...

 

สำหรับ เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ตร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 141 (1) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจผู้ถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อผู้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาที่สั่งลงโทษ แต่กรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สังลงโทษ ให้อุทธรณ์ต่อ ก.ตร. การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ตร. นี้