ค่าฝุ่น PM2.5 19 เขต กทม. ฝุ่นพุ่งระดับสีส้ม เริ่มกระทบต่อสุขภาพ

ค่าฝุ่น PM2.5 19 เขต กทม. เกินมาตรฐาน ระดับสีส้ม อากาศไม่ดี มีผลกระทบต่อสุขภาพ ลาดกระบังสูงสุด จุดความร้อนไทยวานนี้ 623 จุด มากสุด พื้นที่ป่าสงวน กัมพูชาแชมป์ ทะลุ 2,860 จุด
"ค่าฝุ่น PM2.5 วันนี้" อัปเดต ค่าฝุ่นบ่ายนี้ ค่าฝุ่น กทม. ล่าสุด ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงาน สถานการณ์ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประจำวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 36.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาพรวมคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (ระดับสีเหลือง)
12 อันดับ เขตที่มี ค่าฝุ่น PM2.5 สูงสุดในกรุงเทพมหานคร
- เขตลาดกระบัง 52 มคก./ลบ.ม.
- เขตหนองจอก 51.8 มคก./ลบ.ม.
- เขตบึงกุ่ม 48.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองสามวา 46.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางนา 46 มคก./ลบ.ม.
- เขตมีนบุรี 45.9 มคก./ลบ.ม.
- เขตสายไหม 44.1 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางกอกน้อย 43.9 มคก./ลบ.ม.
- เขตจตุจักร 43.2 มคก./ลบ.ม.
- เขตวังทองหลาง 43.1 มคก./ลบ.ม.
- เขตคันนายาว 42.7 มคก./ลบ.ม.
- เขตภาษีเจริญ 41.4 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพเหนือ
36.3 - 44.1 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพตะวันออก
32.2 - 52 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพกลาง
28.8 - 43.1 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
กรุงเทพใต้
31.5 - 46 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
กรุงธนเหนือ
30.7 - 43.9 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
กรุงธนใต้
28.3 - 41.4 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
ข้อแนะนำสุขภาพ : คุณภาพอากาศระดับสีส้ม : เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
จุดความร้อนไทยวานนี้ 623 จุด พบมากสุดในพื้นที่ป่าสงวนฯ กัมพูชาทะลุ 2,860 จุด
กระทรวง อว. โดย GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ระบบ VIIRS และจากข้อมูลดาวเทียมดวงอื่นๆ ของเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่าประเทศไทยมี "จุดความร้อน" รวม 623 จุด
ทั้งนี้ข้อมูลจากดาวเทียมระบุว่า จุดความร้อนในประเทศไทยเกิดขึ้นใน
- พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 167 จุด
- พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 161 จุด
- พื้นที่เกษตร 117 จุด
- พื้นที่เขต สปก. 105 จุด
- พื้นที่ชุมชนและพื้นที่อื่นๆ 69 จุด
- พื้นที่ริมทางหลวง 4 จุด
5 อันดับ จังหวัดที่พบจุดความร้อนมากสุด
- ตาก 51 จุด
- กาญจนบุรี 44 จุด
- เพชรบูรณ์ 41 จุด
- ลำปาง 35 จุด
- ลพบุรี 33 จุด
จุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้านพบมากที่สุดที่
- กัมพูชา 2,860 จุด
- พม่า 539 จุด
- ลาว 473 จุด
- เวียดนาม 391 จุด
- มาเลเซีย 2 จุด
ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดข้อมูลปัจจุบัน ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงไฟป่า พื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก รวมถึงดาวน์โหลดข้อมูลย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่ disaster.gistda