เตือนภัย! เช็กกลลวง 'มิจฉาชีพ' ใช้วิธีแบบนี้หลอกดูดเงินในบัญชี

เตือนภัย! เช็กกลลวง 'มิจฉาชีพ' ใช้วิธีแบบนี้หลอกดูดเงินในบัญชี

เตือนภัย! เช็กกลลวง 'มิจฉาชีพ' ใช้วิธีนี้หลอกดูดเงินในบัญชี เจอแบบนี้ให้รีบวางสาย - อย่ากดลิงก์ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ

ในยุคปัจจุบันนี้ 'มิจฉาชีพ' มักจะใช้หลักจิตวิทยาในการโน้มน้าวหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อ โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรต่างๆ เพื่อให้ผู้รับสารทำตามอุบายที่วางไว้ ภายในเวลาที่จำกัด หรือล่อด้วยผลตอบแทนที่ต้องรีบตัดสินใจ เพื่อกระตุ้นให้เหยื่อรีบทำตามโดยขาดการคิดให้รอบคอบ

 

 

และ 1 ในวิธีการหลอกลวงประชาชนที่มิจฉาชีพนิยมใช้ก็คือ การหลอกขอข้อมูล และให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม จากนั้นก็เข้าควบคุมโทรศัพท์มือถือของเหยื่อจากระยะไกล แล้วทำการโอนเงินของเหยื่อออกมาจากบัญชีอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเห็นหน้าหรือเจอตัวกัน

วิธีการหรือขั้นตอนการหลอกลวงต่างๆ ที่มิจฉาชีพมักจะนำมาใช้หลอกเหยื่อ มีดังนี้

 

1.ติดต่อเข้ามาหาเหยื่อโดยอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรต่างๆ เช่น กรมสรรพากร กรมที่ดิน กรมบัญชีกลาง กรมบังคับคดี การไฟฟ้า การประปา สถาบันการเงิน สำนักงานตำรวจ สายการบิน ศูนย์บัตรเครดิต เป็นต้น

2.มิจฉาชีพมักจะบอก ชื่อ หรือข้อมูลเบื้องต้นของเหยื่อได้ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และทำให้เกิดการหลงเชื่อ

3.จากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกขอข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ เพิ่มเติม โดยให้เหยื่อเพิ่มเพื่อนใน LINE เพื่อทักคุยกันส่วนตัว

 

 

4.อาจจะมีการส่งลิงก์ให้คลิก หรือส่งไฟล์มาให้เหยื่อดาวน์โหลด เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพเตรียมไว้สำหรับการเข้าควบคุมอุปกรณ์มือถือ โดยแอปพลิเคชันที่ให้ติดตั้งมักจะเป็นแอปปลอมที่ใช้ชื่อตามหน่วยงานที่นำมาแอบอ้าง หรืออาจส่งลิงก์ให้ไปดาวน์โหลดแอปควบคุมมือถือโดยตรง ซึ่งแล้วแต่กลวิธีของมิจฉาชีพแต่ละขบวนการ

5.หลังจากที่เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันตามคำกล่าวอ้างเรียบร้อยแล้ว มิจฉาชีพจะหลอกให้กรอกข้อมูลสำคัญต่างๆ เพิ่มเติม รวมถึงสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งข้อมูลที่เราให้ไปหรือกดส่งไปในขั้นตอนนี้ จะเป็นเหมือนการอนุญาตให้มิจฉาชีพสวมรอยเข้ามาทำธุรกรรมในนามของเหยื่อได้ทันที โทรศัพท์มือถือของเหยื่อก็จะถูกล็อก

6.มิจฉาชีพจะเข้ามาถอนเงินในบัญชีของเหยื่อออกไป ซึ่งกว่าเหยื่อจะรู้ตัว เงินก็ถูกย้ายออกไปตามบัญชีม้าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว

7.มิจฉาชีพจะนำข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อมาเก็บไว้เพื่อหลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป

 

เตือนภัย! เช็กกลลวง \'มิจฉาชีพ\' ใช้วิธีแบบนี้หลอกดูดเงินในบัญชี

 

อ้างอิง Anti-Fake News Center Thailand / ธนาคารไทยพาณิชย์

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์