ศาลตัดสินลุงพลคดีน้องชมพู่! สั่งจำคุก 20 ปี - ยกฟ้อง 'ป้าแต๋น' สรุปคดีล่าสุด

ศาลตัดสินลุงพลคดีน้องชมพู่! สั่งจำคุก 20 ปี - ยกฟ้อง 'ป้าแต๋น' สรุปคดีล่าสุด

อัปเดตล่าสุด คำพิพากษา! ศาลตัดสินลุงพลคดีน้องชมพู่ สั่งจำคุก 20 ปี - ยกฟ้อง 'ป้าแต๋น' สรุปคดีล่าสุด เปิดประวัติลุงพล

รายงานอัปเดตล่าสุด ศาลตัดสิน ลุงพลป้าแต๋น คดีน้องชมพู่ คดีดังถึงวันชี้ชะตา วันนี้ (20 ธ.ค. 2566) ศาลจังหวัดมุกดาหาร นัดฟังคำพิพากษา คดีการเสียชีวิตของ "น้องชมพู่" ด.ญ.อรวรรณ วงศ์ศรีชา วัย 3 ขวบ

หลังจากเคยกำหนดการเดิมเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ออกไปเป็นวันที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00 น. โดยให้เหตุผลว่า ร่างคำพิพากษาและสำนวนยังไม่กลับมาจากสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 จึงไม่สามารถอ่านคำพิพากษาในวันดังกล่าวได้

ศาลตัดสินลุงพลคดีน้องชมพู่ เปิดคำพิพากษา จำคุกลุงพล  20 ปี ยกฟ้องป้าแต๋น

วันนี้ (20 ธันวาคม 2566) เวลา 10.00 นาฬิกา ศาลจังหวัดมุกดาหาร อ่านคําพิพากษาในคดีหมายเลขดําที่ อ 1013/2564 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดมุกดาหาร โจทก์ นางสาวิตรี วงศ์ศรีชา โจทก์ร่วมที่ 1 นายอนามัย วงศ์ศรีชา โจทก์ร่วมที่ 2 กับนายไชยพลหรือพล วิภา จําเลยที่ 1 และนางสาวสมพรหรือแต๋น หลาบโพธิ์ จําเลยที่ 2

โดยมีโจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคําร้องขอเรียกค่าสินไหมทดแทนทางแพ่ง โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 จําเลยที่ 1 พรากเด็กหญิงอรวรรณหรือชมพู วงศ์ศรีชา อายุ 3 ปีเศษ ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากโจทก์ร่วมทั้งสองมารดาและบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร เมื่อระหว่างวันที่ 11 ถึง 13 พฤษภาคม 2563 จําเลยที่ 1 โดยเจตนาฆ่า นําเด็กหญิงอรวรรณซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน เก้าปีไปทอดทิ้ง ณ เขาภูเหล็กไฟ เพียงลําพังโดยไม่มีอาหารและน้ําดื่มเพื่อให้เด็กหญิงอรวรรณพ้นไปเสียจากตน

โดยประการที่ทําให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล เป็นเหตุให้เด็กหญิงอรวรรณถึงแก่ความตาย และเมื่อระหว่างวันที่ 13 ถึง 14 พฤษภาคม 2563 ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จ จําเลยทั้งสองร่วมกันเคลื่อนย้าย ศพผู้ตายแล้วถอดเสื้อผ้าและกางเกงออกเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่พบศพเข้าใจว่า ผู้ตายถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกทําร้ายถึงแก่ความตาย ในประการที่น่าจะทําให้การชันสูตรพลิกศพผู้ตายหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จําเลยทั้งสองกระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า บริเวณที่พบศพเด็กหญิง อรวรรณผู้ตายอยู่บนเขาภูเหล็กไฟ ห่างจากจุดที่มีคนพบเห็นผู้ตายครั้งสุดท้ายประมาณ 1.5 กิโลเมตร และเป็นทาง ลาดชัน ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการตรวจพบเส้นผมผู้ตายหลายเส้นที่มีลักษณะถูกตัดด้วยของแข็งมีคม จึงเชื่อว่า ผู้ตายซึ่งมีอายุเพียง 3 ปีเศษ ไม่สามารถเดินขึ้นไปถึงบริเวณที่พบศพและใช้ของแข็งมีคมตัดเส้นผมของตนเองได้ แต่ต้องมีคนร้ายพาผู้ตายไป

ปัญหาต่อมาต้องวินิจฉัยว่า จําเลยที่ 1 เป็นคนร้ายหรือไม่ เห็นว่า ประการแรก ในวันเกิดเหตุ เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ผู้ตายเล่นอยู่บริเวณหน้าบ้านพักและมีเด็กหญิง ก. พี่สาวผู้ตายนอนเล่นโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ใกล้เคียง กระทั่งเวลาประมาณ 4.50 นาฬิกา เด็กหญิง ก. มองหาผู้ตายไม่เห็นจึงออกตามหา ดังนั้น ผู้ตายต้องหายตัวไป ก่อนช่วงเวลาดังกล่าว โดยเด็กหญิง ก. เบิกความว่าไม่ได้ยินเสียงผู้ตายร้องแต่อย่างใด เชื่อว่า คนร้ายที่พาผู้ตายไป ต้องเป็นญาติหรือบุคคลใกล้ชิดในหมู่บ้านที่ผู้ตายรู้จักดี เนื่องจากผู้ตายจะร้องไห้หากถูกคนแปลกหน้าอุ้ม

เจ้าพนักงาน ตํารวจจึงสืบสวนกลุ่มบุคคลดังกล่าว 14 คน แบ่งเป็นญาติ 12 คน และบุคคลใกล้ชิด 2 คน พบว่า 13 คน มีหลักฐานยืนยันที่อยู่หรือตําแหน่งอ้างอิงจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ชัดเจน ยกเว้นจําเลยที่ 1 ซึ่งไม่สามารถยืนยันฐานที่อยู่ได้แน่ชัดในเวลาที่ผู้ตายหายตัวไป

ประการที่สอง จําเลยที่ 1 ให้การเป็นข้อพิรุธหลายอย่าง อาทิ จําเลยที่ 1 ให้การกับเจ้าพนักงานตํารวจชุดสืบสวนว่า วันเกิดเหตุ จําเลยที่ 1 มีนัดไปรับพระ ส. ที่วัดถ่ำภูผาแอก ขณะเดินทางไปวัด จําเลยที่ 2 โทรศัพท์แจ้งจําเลยที่ 1 ว่า ผู้ตายหายตัวไป แต่ครอบครัวของจําเลยทั้งสองมีโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงเครื่องเดียวอยู่กับจําเลยที่ 2 จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จําเลยที่ 2 จะโทรศัพท์แจ้งเรื่องแก่จําเลยที่ 1

อีกทั้งพระ บ. ซึ่งจําวัดอยู่ที่วัดถ้ําภูผาแอกเช่นกันยืนยันว่า วันดังกล่าว เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา จําเลยที่ 1 เดินทางไปถึงวัดและพูดกับพระ บ. ว่า หลานหายเกือบไม่ได้ไปส่งพระ ทั้งที่ ในขณะนั้น จําเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตัวต้องยังไม่ทราบเหตุว่า ผู้ตายหายตัวไป

ประการที่สาม พยานโจทก์ปากนาย ว. และนาง พ. ให้การในชั้นสอบสวนว่า พยานเห็นจําเลยที่ 1 อยู่บริเวณ สวนยางพาราซึ่งเป็นทางเดินที่สามารถเข้าถึงจุดที่ผู้ตายหายตัวไป ในช่วงเวลาที่คนร้ายลงมือกระทําความผิด โดยขณะที่ มีการสอบสวนเรื่องนี้ จําเลยที่ 1 พยายามไปพูดคุยกับนาย ว. ให้ นาย ว. บอกเจ้าพนักงานตํารวจว่า นาย ว. พบจําเลยที่ 1 ในช่วงเวลา 7.00 นาฬิกา ไม่ใช่ช่วงเวลา ที่เกิดเหตุ เพื่อไม่ให้เจ้าพนักงานตํารวจสงสัยจําเลยที่ 1 จึงเป็นข้อพิรุธว่า หากจําเลยที่ 1 ไม่ได้กระทําความผิด เหตุใดต้องพูดจาในลักษณะดังกล่าวกับพยานที่ให้การต่อเจ้าพนักงานตํารวจ ตามข้อเท็จจริงที่ตนรู้เห็น แม้ต่อมาในขณะสืบพยาน นาง พ. จะเบิกความว่า ตนไม่ได้เห็นจําเลยที่ 1 บริเวณสวนยางพารา แต่ก็เป็นการกลับคําภายหลังเกิดเหตุกว่า 6 ปี ซึ่งอาจทําเพื่อช่วยเหลือจําเลยที่ 1 คําให้การในชั้นสอบสวนของนาง พ. จึงมีน้ําหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่า


ประการสุดท้าย ภายหลังเจ้าพนักงานตํารวจตั้งข้อสงสัยว่า จําเลยที่ 1 เป็นคนร้าย จึงมีการเข้าตรวจค้นรถยนต์ จําเลยที่ 1 พบเส้นผม 16 เส้น และวัตถุพยานอื่น โดยผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับคําเบิกความของ พยานผู้เชี่ยวชาญปรากฏว่า เส้นผม 1 เส้น ที่ตกอยู่ในรถยนต์จําเลยที่ 1 มีองศาของรอยตัด หน้าตัด และพื้นผิวด้านข้าง ตรงกันกับเส้นผมผู้ตาย 2 เส้น ซึ่งตรวจเก็บได้จากบริเวณที่พบศพผู้ตาย เส้นผมทั้ง 3 เส้น ดังกล่าว จึงถูกตัดในคราวเดียวกัน ด้วยวัตถุของแข็งมีคมชนิดเดียวกัน เชื่อว่า จําเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ของแข็งมีคมตัดเส้นผมผู้ตาย แต่ด้วยเหตุที่เส้นผม มีขนาดเล็กมาก จําเลยที่ 1 จึงไม่สังเกตว่ามีเส้นผมผู้ตายเส้นหนึ่งตกอยู่ในรถยนต์ของตน

สรุปคดีลุงพล ล่าสุด 2566

ทั้งนี้ การสืบสวนสอบสวนของเจ้าพนักงานตํารวจในคดีนี้ไม่ได้มุ่งเป้าไปยังจําเลยที่ 1 มาแต่แรก หากเกิดจากการรวบรวมพยานหลักฐานและตั้งข้อสันนิษฐานอย่างเป็นลําดับขั้นตอนดังวินิจฉัยไว้ข้างต้น โดยไม่ปรากฏว่า ผู้ที่เกี่ยวข้อง คนใดมีสาเหตุโกรธเคืองหรือมูลเหตุชักจูงใจในการใส่ร้ายจําเลยที่ 1 จึงเชื่อว่า จําเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่พาผู้ตายขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ

ปัญหาต่อมาต้องวินิจฉัยว่า ขณะพาผู้ตายขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ จําเลยที่ 1 รู้หรือไม่ว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว หรือยังมีชีวิตอยู่ เห็นว่า จําเลยที่ 1 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์ร่วมทั้งสองหรือผู้ตายมาก่อน จึงไม่น่าเชื่อว่า จําเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าหรือเจตนาทอดทิ้งผู้ตาย ประกอบกับรายงานการตรวจศพผู้ตายพบรอยใต้หนังศีรษะ บริเวณหน้าผาก ด้านซ้ายและท้ายทอยเป็น ๆ จึงอาจเป็นกรณีที่ผู้ตายหมดสติไป ส่วนจําเลยที่ 1 ไม่ได้ตรวจดูให้ดีเลยพาผู้ตายไปทิ้งไว้ บนเขาภูเหล็กไฟ การกระทําของจําเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่า จําเลยทั้งสองร่วมกันเคลื่อนย้ายศพฯ นั้น เห็นว่า ภายหลังวันเกิดเหตุจนถึงวันที่พบศพผู้ตาย โจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าเห็นจําเลยทั้งสองขึ้นไปบนเขาภูเหล็กไฟ แม้ผลการตรวจเส้นผม 3 เส้น จากบริเวณ ที่พบศพผู้ตายมี mtDNA ตรงกับจําเลยที่ 2 แต่การตรวจหา mtDNA นั้น ไม่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้ เพียงแต่ระบุได้ว่า เป็นเส้นผมของบุคคลที่อยู่ในสายมารดาเดียวกับผู้ตายเท่านั้น เส้นผมดังกล่าวจึงไม่จําต้องเป็นของจําเลยที่ 2 เพียงผู้เดียว เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จําเลยทั้งสองในข้อหานี้

ศาลตัดสินลุงพลคดีน้องชมพู่! สั่งจำคุก 20 ปี - ยกฟ้อง \'ป้าแต๋น\' สรุปคดีล่าสุด

พิพากษาว่า จําเลยที่ 1 (ลุงพล) มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 317 วรรคแรก ฐานกระทํา โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จําคุก 10 ปี 

ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา โดยปราศจากเหตุอันสมควร จําคุก 10 ปี ข้อหาอื่นสําหรับจําเลยที่ 1 ให้ยก 

และยกฟ้องโจทก์สําหรับจําเลยที่ 2 (ป้าแต๋น) กับให้ จําเลยที่ 1 ชําระค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสอง

อนึ่ง คดีนี้อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 และผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมุกดาหาร ตรวจสํานวนและทําความเห็นแย้งว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองมีข้อสงสัยตามสมควร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จําเลยที่ 1 เห็นควรพิพากษายกฟ้อง จึงให้รวมไว้ในสํานวน ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 11 (1)
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ลุงพล ล่าสุด วันนี้ 2566 ลำดับเหตุการณ์ น้องชมพู่ตายปริศนา

จำเลยในคดีนี้มี 2 คน คือ นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล จำเลยที่ 1 ถูกสั่งฟ้อง 3 ข้อหา คือ 1.เจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผล

2.ทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกิน 9 ปี เป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย

3.กระทำการใด ๆ แก่ศพหรือสภาพแวดล้อมในบริเวณพบศพก่อนชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น

ศาลตัดสินลุงพลคดีน้องชมพู่! สั่งจำคุก 20 ปี - ยกฟ้อง \'ป้าแต๋น\' สรุปคดีล่าสุด

ส่วนกรณีของ น.ส.สมพร หลาบโพธิ์ หรือ ป้าแต๋น จำเลยที่ 2 ถูกสั่งฟ้อง 1 ข้อหา กระทำการใดๆ แก่ศพหรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพก่อนชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น

คดีน้องชมพู่ มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2563 วันที่น้องชมพู่ หายตัวปริศนาจากบ้านพัก จนกระทั่งวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ชาวบ้านไปพบร่างไร้วิญญาณของน้องชมพู่ บนภูเหล็กไฟ ซึ่งเป็นเขาสูงชันห่างจากบ้านพัก ประมาณ 2 กิโลเมตร

ศาลตัดสินลุงพลคดีน้องชมพู่! สั่งจำคุก 20 ปี - ยกฟ้อง \'ป้าแต๋น\' สรุปคดีล่าสุด

ศาลเริ่มสืบพยานฝ่ายโจทก์มาตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2565 สืบพยานฝ่ายโจทก์ทั้งหมด 47 ปาก และสืบพยานฝ่ายจำเลย 20 ปาก เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 

ลุงพล ล่าสุด วันนี้ 2566

สำหรับ ลุงพล เเละ ป้าเเต๋น ได้กลับมาที่บ้านกกกอก ตั้งเเต่เมื่อคืนที่ผ่านมา หลังจากย้ายบ้านไปอยู่ที่ จ.สกลนคร โดยให้เหตุผลที่กลับมาบ้านกกกอก เพราะว่าเป็นจุดเริ่มต้นของคดีนี้ เเละทำให้คนรู้จักลุงพล-ป้าเเต๋น

ส่วนเรื่องของการฟังคำพิพากษานั้น ไม่อยากให้ศาลเลื่อนอีกเเล้ว เพราะอยากรู้ ไม่ว่าผลการตัดสินของศาลชั้นต้นจะออกมาอย่างไร ต้องมีฝั่งใดฝั่งหนึ่งอุทธรณ์อยู่เเล้ว

ทั้งนี้ หากศาลตัดสินว่าผิด ทีมทนายได้เตรียมนายประกันไว้ เพราะตนเองไม่ได้มีเงินสด


ศาลตัดสินลุงพลคดีน้องชมพู่! สั่งจำคุก 20 ปี - ยกฟ้อง \'ป้าแต๋น\' สรุปคดีล่าสุด

เช็กประวัติลุงพล 2566

ประวัติ "ลุงพล" ไชย์พล วิภา อายุ 47 ปี
- เกิดวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2519
- บุตรคนที่ 5 จาก 6 ของนายผ่อง นางภา วิภา

- บ้านเกิดลุงพล ภูมิลำเนาเป็นคน ตำบลหนองแวงใต้ อำเภอวานรนิวาส จ.สกลนคร 

- เคยประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป, ตัวแทนขายตรงบริษัทแห่งหนึ่ง, ขายไก่ย่าง ฯลฯ

- ปัจจุบันเป็นยูทูปเบอร์ช่อง ลุงพลป้าแต๋น แฟมิลี่ , รับงานโฆษณาสินค้า และค้าขายทั่วไป