สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 พ.ย. 66

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 พ.ย. 66

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 พ.ย. 66 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ภาคใต้

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 พ.ย. 66 โดย สภาพอากาศวันนี้ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง

คาดการณ์ วันที่ 30 พ.ย.–4 ธ.ค. 66 มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่ง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 29 พ.ย. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 3,969 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้

  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,898 ล้าน ลบ.ม. (78%)
  • ปริมาณน้ำใช้การ 39,695 ล้าน ลบ.ม. (68%)

เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่

ระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 8แห่ง

  • ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดนและบึงบอระเพ็ด
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อุบลรัตน์ และลำปาว
  • ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ 

ระดับน้ำเกินระดับควบคุมต่ำสุด 4 แห่ง

  • ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา
  • ภาคกลาง : กระเสียว
  • ภาคตะวันออก : คลองสียัด 

โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ

1) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด  

2) ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง

3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่

พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช  ตรัง พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส

ประกาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 5/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 25 – 30 พ.ย. 66 ดังนี้

1. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณ จ.พัทลุง (อ.เมืองพัทลุง กงหรา เขาชัยสน ตะโหมด บางแก้ว ปากพะยูน และป่าบอน) จ.สงขลา (อ.เมืองสงขลา กระแสสินธุ์ ระโนด สทิงพระ สิงหนคร จะนะ ควนเนียง หาดใหญ่ เทพา นาทวี นาหม่อม บางกล่ำ รัตภูมิ และสะบ้าย้อย) จ.ปัตตานี (อ.เมืองปัตตานี กะพ้อ โคกโพธิ์ ทุ่งยางแดง ปะนาเระ มายอ แม่ลาน ไม้แก่น ยะรัง ยะหริ่ง สายบุรี และหนองจิก) จ.ยะลา (อ.เมืองยะลา และรามัน) จ.นราธิวาส (อ.เมืองนราธิวาส จะแนะ เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ ศรีสาคร สุคิริน สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี) 

2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำเขื่อนบางลาง จ.ยะลา 

3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส

สทนช. เดินหน้าจัดทำผังน้ำลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กำหนดให้ สทนช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการ ของ กนช. จัดทำผังน้ำ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำทั้งในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้ง เป็นมาตรฐานข้อมูลผังน้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน โดยเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 66 สทนช. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ผังน้ำ ดังนี้

  • การประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 3 โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก พื้นที่ศึกษาครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • การประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 2 โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำเพชรบุรี – ประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ศึกษาครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์