สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 พ.ย. 66

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 พ.ย. 66

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 พ.ย. 66 น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ขณะที่ ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 พ.ย. 66 โดย สภาพอากาศวันนี้ ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยในขณะที่มีลมตะวันออกพัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่

คาดการณ์ ในช่วงวันที่ 8 - 11 พ.ย. 66 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง 

ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 6.พ.ย. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 4,408 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้

  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,841 ล้าน ลบ.ม. (78%)
  • ปริมาณน้ำใช้การ 39,672 ล้าน ลบ.ม. (68%)

เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่

เฝ้าระวังน้ำมาก 11 แห่ง

  • ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดน และบึงบอระเพ็ด
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : หนองหาร อุบลรัตน์ และลำปาว
  • ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล
  • ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ 

ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย

เฝ้าระวังน้ำน้อย 2 แห่ง

  • ภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออก : คลองสียัด 

โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด  2) ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ  3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่

น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน   

น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 จังหวัด (กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี) รวม 10 อำเภอ 19 ตำบล 39 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 273 ครัวเรือน ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 
 

  • "สมศักดิ์ เทพสุทิน" เปิดงานบูรณาการสื่อสารแผนบริหารทรัพยากรน้ำลดเสี่ยง "เอลนีโญ" สร้างความร่วมมือป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำ

วานนี้ (6 พ.ย. 66) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานบูรณาการสื่อสารแผนบริหารทรัพยากรน้ำลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำจาก "เอลนีโญ" ประจำปี 2566 ด้วยปัจจุบันประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูฝนปี 2566 และเข้าสู่ฤดูแล้งปี 2566/67 และในช่วง 1-2 ปีนี้ มีแนวโน้มที่หลายพื้นที่ของประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เอลนีโญที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเกิดความสมดุลมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับทุกกิจกรรมการใช้น้ำ ป้องกันและลดผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวที่จะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน กนช. ได้เห็นชอบ 9 มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2566/67 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567 และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรการ พร้อมจัดเตรียมแผนงานโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน รวมถึงการแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง

นอกจากนี้ สทนช. ได้ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำ ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) “การอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ และป้องกันการชะล้างพังทลายของดินแบบบูรณาการ ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี” 

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เร่งดำเนินการการก่อสร้างโครงการพัฒนาน้ำบาดาล พร้อมซ่อมบำรุงรักษาระบบประปาบาดาล รองรับสถานการณ์ฤดูแล้ง 66/67 ดังนี้

  • ซ่อมแซมระบบประปาบาดาล ต.บ้านผือ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
  • พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ต.เชียงเพ็ง อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
  • พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 

พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน  ไม่พบพื้นที่เสี่ยง