'พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน' 18-27 ต.ค. ไทยมีทั้งฝนตก อากาศเย็น ช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู

'พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน' 18-27 ต.ค. ไทยมีทั้งฝนตก อากาศเย็น ช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู

'พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน' 18-27 ต.ค.66 ภาคกลาง - ตะวันออก - ใต้ยังมีฝนต่อเนื่อง ระวังน้ำท่วมฉับพลัน ขณะที่ไทยตอนบนอากาศเริ่มเย็นลง

กรมอุตุนิยมวิทยา 'พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน' ระหว่างวันที่ 18 - 27 ตุลาคม 2566 อัปเดตจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF

ช่วงวันที่ 18-19 ตุลาคม 2566 มวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมหนาวเริ่มพัดปกคลุม อากาศเริ่มเย็นลงในตอนเช้าฝนน้อยลงบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนยังเกิดขึ้นได้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้และอ่าวไทยยังมีฝน เนื่องจากร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนบน เข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน (พายุดีเปรสชัน กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือ ไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้และอ่าวไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

 

 

ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 27 ตุลาคม 2566 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะอ่อนกำลังลง ทำให้มีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ (ในระดับกลางๆ ของชั้นบรรยากาศชั้นล่าง) พัดแทรกเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน มีความชื้นสูง ทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน มีฝนเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีฟ้าถึงสีเขียว) ยังต้องระมัดระวังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู ทิศทางลมมีการเปลี่ยนแปลง 

สำหรับภาคใต้ยังมีฝนได้ต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง 

 

\'พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน\' 18-27 ต.ค. ไทยมีทั้งฝนตก อากาศเย็น ช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู

 

 

'พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า' ในช่วงวันที่ 18 - 19 ตุลาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ตะวันออก และอ่าวไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง 

ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 24 ตุลาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง 

อนึ่ง "พายุดีเปรสชัน"บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2566 และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย 

ข้อควรระวัง : ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ฝนตกต่อเนื่อง และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง 

ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 24 ตุลาคม 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น 

สถานการณ์ แผ่นดินไหว (ในช่วงวันที่ 17 - 18 ตุลาคม 2566) ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 3.7 มีศูนย์กลางอยู่ที่หมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด 

 

\'พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน\' 18-27 ต.ค. ไทยมีทั้งฝนตก อากาศเย็น ช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู