ฝนตกน้ำท่วม 9 จังหวัด หล่มสัก เพชรบูรณ์ยังทรงตัว กาฬสินธิ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

ฝนตกน้ำท่วม 9 จังหวัด หล่มสัก เพชรบูรณ์ยังทรงตัว กาฬสินธิ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

สถานการณ์น้ำท่วม หล่มสัก เพชรบูรณ์ทรงตัว กาฬสินธุ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ล่าสุด ปภ. รายงานยังคงมีอุทกภัยในพื้นที่ 9 จังหวัด แบ่งเป็น 34 อำเภอ 117 ตำบล 631 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,566 ครัวเรือน

สถานการณ์น้ำท่วม หล่มสัก เพชรบูรณ์ทรงตัว กาฬสินธุ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ล่าสุด (10 ต.ค.2566) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานยังคงมีอุทกภัยในพื้นที่ 9 จังหวัด แบ่งเป็น 34 อำเภอ 117 ตำบล 631 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,566 ครัวเรือน พร้อมประสานพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือประชาชน

ซึ่งจากฝนตกน้ำท่วม ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลทำให้ช่วงวันที่ 26 กันยายน - 10 ตุลาคม 2566 มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 33 จังหวัด 127 อำเภอ 447 ตำบล 2,205 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 48,657 ครัวเรือน ขณะที่ปัจจุบันยังพบสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย มหาสารคาม หนองบัวลำภู เลย กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี โดยแต่ละจังหวัดมีรายละเอียดดังนี้

1.เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหล่มสัก รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว

 

ฝนตกน้ำท่วม 9 จังหวัด หล่มสัก เพชรบูรณ์ยังทรงตัว กาฬสินธิ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

2.พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ วังทอง เนินมะปราง และนครไทย รวม 6 ตำบล 17 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 347 ครัวเรือน ระดับลดลง

3.อุตรดิตถ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ เมืองอุตรดิตถ์ น้ำปาด บ้านโคก ฟากท่า ลับแล และพิชัย รวม 12 ตำบล 34 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง

4.สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ ศรีสำโรง และคีรีมาศ รวม 22 ตำบล 144 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,860 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

5.มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ เชียงยืน และโกสุมพิสัย รวม 2 ตำบล 6 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

6.หนองบัวลำภู เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ นาวัง สุวรรณคูหา เมืองหนองบัวลำภู นากลาง และศรีบุญเรือง  รวม 10 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

7.เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ เชียงคาน และท่าลี่ รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 85 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

8.กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ เมืองกาฬสินธุ์ ร่องคำ ฆ้องชัย ยางตลาด กมลาไสย สามชัย ท่าคันโท หนองกุงศรี สหัสขันธ์ และห้วยเม็ก รวม 55 ตำบล 362 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,917 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

9.อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์ รวม 7 ตำบล 38 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,340 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

ฝนตกน้ำท่วม 9 จังหวัด หล่มสัก เพชรบูรณ์ยังทรงตัว กาฬสินธิ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

 

ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำลดลงเกือบทุกพื้นที่ ยังคงมีที่จังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนโดยเร่งด่วน

โดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย อาทิ เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถผลิตน้ำดื่ม รถประกอบอาหาร เพื่อแก้ไขปัญหา เร่งระบายน้ำ และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชั่น “THAI DISASTER ALERT”

 

ฝนตกน้ำท่วม 9 จังหวัด หล่มสัก เพชรบูรณ์ยังทรงตัว กาฬสินธิ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

 

ฝนตกน้ำท่วม 9 จังหวัด หล่มสัก เพชรบูรณ์ยังทรงตัว กาฬสินธิ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

 

ฝนตกน้ำท่วม 9 จังหวัด หล่มสัก เพชรบูรณ์ยังทรงตัว กาฬสินธิ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

 

ส่วนคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2566 พื้นที่เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง , พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น และพื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

พื้นที่เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

  • ภาคเหนือ จ.นครสวรรค์ และอุทัยธานี
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
  • ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาทสมุทรสงคราม นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น

  • ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ ปางมะผ้า สบเมย) เชียงใหม่ (อ.แม่แจ่ม) และตาก (อ.ท่าสองยาง)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

  • ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก (อ.วังทอง เนินมะปราง นครไทย บางระกำ) อุตรดิตถ์ (อ.เมืองฯ ฟากท่า น้ำปาด บ้านโคก ลับแล พิชัย) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก) และสุโขทัย (อ.ศรีสำโรง คีรีมาศ)
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.เชียงคาน ท่าลี่) อุดรธานี (อ.ศรีธาตุ) ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ) ขอนแก่น (อ.ชุมแพ) มหาสารคาม (อ.เชียงยืน โกสุมพิสัย) หนองบัวลำภู (อ.เมืองฯ นาวัง สุวรรณคูหา นากลาง ศรีบุญเรือง) กาฬสินธุ์ (อ.เมืองฯ ร่องคำ ฆ้องชัย ยางตลาด กมลาไสย สามชัย ท่าคันโท หนองกุงศรี สหัสขันธ์ ห้วยเม็ก) ร้อยเอ็ด (อ.ธวัชบุรี ทุ่งเขาหลวง เสลภูมิ) ยโสธร (อ.เมืองฯ มหาชนะชัย) และอุบลราชธานี (อ.เมืองฯ วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์)
  • ภาคกลาง จ.อ่างทอง (อ.ป่าโมก) สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ) พระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล เสนา ผักไห่) นครปฐม (อ.บางเลน) ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี) และสระแก้ว (อ.เมืองฯ)

ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะบริเวณน้ำท่วม แนวสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า หรือวัตถุสื่อนำกระแสไฟฟ้า รวมทั้งระวังการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านทาง เพื่อความปลอดภัย ควรงดการท่องเที่ยวในพื้นที่ถ้ำที่มีน้ำท่วมขัง และน้ำตกที่น้ำไหลเชี่ยว

 

ข้อมูลประกอบจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)