ลุย 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' เพิ่มมาตรการสกัด ซิมผี บัญชีม้า เสาสัญญาณโจร

ลุย 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' เพิ่มมาตรการสกัด ซิมผี บัญชีม้า เสาสัญญาณโจร

ลุยต่อปราบ! 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' กสทช. จับมือ ตำรวจ เพิ่มมาตรการสกัดกั้นมิจฉาชีพออนไลน์ ซิมผี บัญชีม้า เสาสัญญาณโจร

ความเคลื่อนไหวปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ วันนี้ (25 ส.ค.66) เวลา 09.30 น. พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมายและประธานอนุกรรมการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยี, ฝ่ายตำรวจ พล.ต.ท.ดร.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. ดูแลงานด้านอาชญากรรมเทคโนโลยี ได้เรียกประชุมอนุกรรมการบูรณาการแนวทางบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีโทรคมนาคม เพื่อเร่งเพิ่มมาตรการปราบปราม ดังนี้

  • ซิมผี 
  • บัญชีม้าสถานีโทรคมนาคมเถื่อน
  • เสาสัญญาณตามแนวชายแดนผิดเงื่อนไข

ตลอดจนกำหนดคุณลักษณะเบอร์ต้องสงสัย และสนับสนุนชุดข้อมูลการใช้ ตำแหน่งที่ใช้โทรศัพท์ของกลุ่มแก๊งมิจฉาชีพ ให้แก่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ หอประชุม ชั้น 2 สำนักงาน กสทช. 

ลุย \'แก๊งคอลเซ็นเตอร์\' เพิ่มมาตรการสกัด ซิมผี บัญชีม้า เสาสัญญาณโจร

พล.ต.อ.ณัฐธร กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่ กสทช. ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. ได้ลงพื้นที่ตามแนวชายแดนกวาดล้างและจับกุมการลักลอบให้บริการโทรคมนาคมผิดกฎหมายบริเวณแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน การตรวจสอบสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ เสาสัญญาณของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ตรวจสอบทิศทางการกระจายสัญญาณบริเวณชายแดน 

ลุย \'แก๊งคอลเซ็นเตอร์\' เพิ่มมาตรการสกัด ซิมผี บัญชีม้า เสาสัญญาณโจร

ให้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด ถือเป็นมาตรการเชิงรุกในการสกัดกั้นไม่ให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ตามแนวชายแดน ใช้ทรัพยากรทางเทคโนโลยีของไทย ในการหลอกลวงคนไทย โดยได้หารือเพิ่มมาตรการต่างๆ ที่สำคัญ ภายใต้

พรก.มาตรการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 2566 ดังนี้

 1. กำหนดเหตุอันควรสงสัยของหมายเลขโทรศัพท์ เช่น เบอร์ที่จดทะเบียน โดยไม่ใช่เจ้าของผู้ใช้งาน, เบอร์ที่เปิดโดยบุคคลเดียวเกินกว่า 5 หมายเลข, เบอร์ที่ถูกใช้งานอยู่เป็นประจำในพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนและ เบอร์ของบุคคลที่มีปริมาณการโทรออกมากกว่า 100 ครั้งต่อวัน เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำระบบ กำหนดให้ผู้ใช้หมายเลขเหล่านี้เข้ามายืนยันตัวตน รวมไปถึงการตรวจสอบข้อมูลการใช้

 2. กำหนดชุดข้อมูลที่จำเป็น อาทิ ชื่อ-นามสกุล ของผู้จดทะเบียน, ข้อมูลการใช้โทรศัพท์, รายละเอียดพื้นที่การใช้งาน (Cell site location), พิกัดเสาสัญญาณโทรศัพท์ (Base station) อื่นๆ และกำหนดระยะเวลาในการจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ให้ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจำแนกเป็นข้อมูลเร่งด่วนที่ใช้ในการสืบสวนติดตามตัวคนร้ายต้องนำส่งโดยเร็ว และข้อมูลที่ใช้ในการสอบสวนดำเนินคดีเชิงลึก ในลำดับถัดมา 

 3. กำหนดหมายเลข *179*เลขบัตรประชาชน# แล้วกดโทรออก เพื่อให้สถาบันทางการเงินตรวจสอบชื่อผู้จดทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์ ว่าตรงกับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารที่ขอใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งหรือไม่ เพื่อขจัดปัญหาซิมผี บัญชีม้า 

 4. กำหนดมาตรการกรณีผู้ถือครองซิมโทรศัพท์ 6-100 เลขหมาย ต้องลงทะเบียนแสดงตนภายใน 180 วัน นับจากวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ และผู้ถือครองซิมการ์ด ตั้งแต่ 101 เลขหมายขึ้นไป ลงทะเบียนแสดงตนภายใน 30 วัน ทั้งนี้อยู่ระหว่างการเสนอร่างประกาศ รวมทั้งการพัฒนารูปแบบการยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ป้องกันการสวมสิทธิแอบอ้างข้อมูลส่วนบุคคลในการลงทะเบียน

ลุย \'แก๊งคอลเซ็นเตอร์\' เพิ่มมาตรการสกัด ซิมผี บัญชีม้า เสาสัญญาณโจร

 พล.ต.ท.ธัชชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผบ.ตร.ได้มอบหมายให้ตนซึ่งรับผิดชอบงานด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทำงานร่วมกับ กสทช. โดยใกล้ชิด เป็น Working group เพื่อกำหนดลักษณะเบอร์ต้องสงสัย และรูปแบบชุดข้อมูลที่จำเป็นในการสืบสวนสอบสวน และกำหนดระยะเวลาในการส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการ ให้ตำรวจได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด และระงับยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

 

เตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ 

  • การ Search Engine 
  • โฆษณาทางแพลตฟอร์มออนไลน์ 

เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฎลำดับต้น ๆ อาจเกิดจากการจ่ายเงินซื้อโฆษณาของกลุ่มมิจฉาชีพ โดยปลอมเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานต่าง ๆ หลอกเอาข้อมูลจากผู้หลงเชื่อ 

รวมทั้งให้ระมัดระวังข้อความ SMS แนบลิงค์ และ เพจโฆษณาหลอกลวงในรูปแบบการลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ หรือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพราะอาชญากรทางเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหลอกลวงอยู่ตลอดเวลา