อัปเดตเส้นทางพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่าสุด บ่ายวันนี้ 8 ส.ค.66

อัปเดตเส้นทางพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่าสุด บ่ายวันนี้ 8 ส.ค.66

อัปเดตเส้นทางพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่าสุด 8 ส.ค.2566 "พายุขนุน" คาดว่าคืนนี้จะเคลื่นผ่านประเทศญี่ปุ่นตอนใต้ และเคลื่อนเข้าสู่คาบสมุทรเกาหลี ส่วน พายุแลน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นอีก

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่าสุด เวลา 14.00 น. วันนี้ (8 สิงหาคม 2566) มีพายุก่อตัว 2 ลูก คือ

1. พายุโซนร้อน "ขนุน (KHANUN)" (ลูกที่ 6) กำลังเคลลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ค่อนไปทางเหนือ คาดว่าคืนนี้จะเคลื่นผ่านประเทศญี่ปุ่นตอนใต้ และเคลื่อนเข้าสู่คาบสมุทรเกาหลี ในช่วงวันที่ 9 - 10 ส.ค.66 ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น หรือเกาหลี (งานชุมนุมลูกเสือโลก) ขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง

อัปเดตเส้นทางพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่าสุด บ่ายวันนี้ 8 ส.ค.66

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

2. พายุโซนร้อน "แลน (LAN)" เป็นพายุลูกที่ 7 จากการนับจำนวนพายุของ RSMC โตเกียว ญี่ปุ่น (แลน (LAN) หมายถึง พายุ เป็นภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาร์แชล สหรัฐอเมริกา) กำลังเคลื่อนทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นอีก และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ช่วง 14 - 15 ส.ค.66 ต้องติดตาม พายุทั้ง 2 ลูก ไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยแต่อย่างใด

อัปเดตเส้นทางพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่าสุด บ่ายวันนี้ 8 ส.ค.66

นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง: ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

สถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วง (7 - 8 ส.ค. 66): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว

  • ขนาด 2.9, 2.4, 1.8, 3.2, 3.3, 3.9, 3.0, 2.9 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา
  • ขนาด 4.7, 4.5 มีศูนย์กลางอยู่ที่หมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย
  • ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

อัปเดตเส้นทางพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่าสุด บ่ายวันนี้ 8 ส.ค.66