พัฒนาวิสาหกิจชุมชนมะพร้าวน้ำหอมบ้าน กลางคลองตาปลั่ง สู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG

พัฒนาวิสาหกิจชุมชนมะพร้าวน้ำหอมบ้าน กลางคลองตาปลั่ง สู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG

กระทรวงพาณิชย์ผนึก ม.เกษตรฯกำแพงแสน ศึกษาแนวทางการยกระดับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนมะพร้าวน้ำหอมบ้านกลางคลองตาปลั่ง-วิสาหกิจชุมชนบ้านสบายใจสู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG

วันที่ 19 มี.ค.66 นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบาย                          และยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนางพรพรรณนิล ศตวรรษธำรง ผู้อำนวยการกองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า นางสาวสุวีรยา ปั้นปาน พาณิชย์จังหวัดสมุทรสาคร นางกฤษญาพร สุนทรพจน์ พาณิชย์จังหวัดสมุทรสงคราม เจ้าหน้าที่ และคณะที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดพงษ์ ขีระจิตต์ ดร.ดนชิดา วาทินพุฒิพร และดร.เขวิกา สุขเอี่ยม ได้ทำการลงพื้นที่เพื่อพบปะหารือกับวิสาหกิจชุมชนมะพร้าวน้ำหอมบ้านกลางคลองตาปลั่ง จังหวัดสมุทรสาคร และวิสาหกิจชุมชน            บ้านสบายใจ จังหวัดสมุทรสงคราม ภายใต้โครงการศึกษาแนวทางการยกระดับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG 

พัฒนาวิสาหกิจชุมชนมะพร้าวน้ำหอมบ้าน กลางคลองตาปลั่ง สู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG

ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดพงษ์ ขีระจิตต์ ได้เปิดเผยว่าทางโครงการฯ ดังกล่าว จะมีการคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนเป้าหมาย จำนวน 20 แห่ง ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อคัดเลือกต้นแบบวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินการภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG

พัฒนาวิสาหกิจชุมชนมะพร้าวน้ำหอมบ้าน กลางคลองตาปลั่ง สู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG

 

ประกอบด้วยภาคการผลิตสินค้า จำนวน 1 แห่ง และภาคบริการ จำนวน 1 แห่ง เพื่อเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน อาทิ การพัฒนาคุณภาพ กระบวนการผลิต (Processing) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) การจัดทำระบบสต๊อกสินค้า (Stock) การจัดทำบัญชี (Financing) การสร้างเรื่องราว (Storytelling) การสร้างแบรนด์ (Branding) การเจราจาการค้า การจัดจำหน่ายในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) การทำตลาดทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ กลยุทธ์การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับบริษัทค้าขายสินค้าและบริการสมัยใหม่ (Modern Trade) เพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์ให้กับวิสาหกิจชุมชนได้พัฒนาความสามารถในการขยายธุรกิจ (Scaling up)

พัฒนาวิสาหกิจชุมชนมะพร้าวน้ำหอมบ้าน กลางคลองตาปลั่ง สู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG

และการศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อันจะช่วยส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับพื้นที่และเศรษฐกิจฐานรากต่อไป