สถานการณ์ประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำไทยในยุค 4.0

สถานการณ์ประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำไทยในยุค 4.0

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันอัตราการส่งออกอาหารทะเลจากประเทศไทยและประเทศในทวีปเอเชียบางประเทศอาทิเช่น สาธารณรัฐเกาหลีใต้นั้นมีอัตราที่สูงมากออกสู่ตลาดโลก

นั่นหมายความถึงความอุดมสมบูรณ์ของน่านน้ำไทย เนื่องจากเป็นพื้นที่ทางทะเลที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดสองมหาสมุทรในโลกกล่าวคือ มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งในฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย

เช่นเดียวกันพื้นที่ทางทะเลบนคาบสมุทรเกาหลี เขตต่อเนื่องทางทะเลและเขตเศรษฐกิจจำเพาะกับสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรที่มีชีวิตทางทะเลโดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ปลาที่หลากหลายเช่นเดียวกัน

ความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวนี้มิได้เอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจเฉพาะต่อสองรัฐนี้เท่านั้น แต่ยังดึงดูดความสนใจจากรัฐอื่นในความต้องการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลโดยเฉพาะพันธุ์ปลาในมหาสมุทร

ปัญหาเรื้อรังที่ยังคงเกิดขึ้นแม้ในยุค 4.0 ที่กฎหมายระหว่างประเทศอันเกี่ยวข้องกับการทำประมงมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อปัญหาและความยุ่งยากทางกฎหมาย ทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอันมาก

ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการลักลอบทำประมงผิดกฎหมายจากเรือประมงต่างชาติในน่านน้ำไทยและน่านน้ำสาธารณรัฐเกาหลี ปัญหาการรุกล้ำน่านน้ำของรัฐชายฝั่ง

สถานการณ์ประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำไทยในยุค 4.0

ปัญหาการลักลอบจับปลาและการบริหารพันธุ์ปลาข้ามเขตน่านน้ำ การใช้สัญชาติเรืออย่างผิดกฎหมายและการปกปิดสัญชาติเรือ รวมถึงการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย และการใช้อาวุธและความรุนแรงในการเข้าจับกุมเรือประมงต่างชาติที่ผิดกฎหมาย

 

ข้ามผ่าน “ลานประมงสีทอง”(Golden Fishing Ground) ซึ่งเป็นพื้นที่ทางทะเลเขตเศรษฐกิจจำเพาะของสาธารณรัฐเกาหลี มายังเขตประมงในน่านน้ำไทย ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก

ทั้งสองพื้นที่นี้เป็นเขตการทำประมงที่มีความอุดมสมบูรณ์มากด้วยการเอื้ออำนวยจากสภาพทางภูมิศาสตร์

การทำประมงเชิงพาณิชย์ จึงเป็นหนึ่งในกิจกรรมส่วนใหญ่ในพื้นที่ทางทะเลเขตเศรษฐกิจจำเพาะของทั้งสองพื้นที่ทางทะเลนี้ ที่ส่งผลต่อรายได้ของประเทศอย่างมาก

ในเชิงเศรษฐกิจและการส่งเสริมและกระตุ้นยอดการส่งออกสู่ตลาดอาหารทะเลทั่วโลกจากรัฐชายฝั่งทะเลของทั้งสองประเทศซึ่งได้ยกตัวอย่างมาในบทความนี้

ในทางกลับกันการทำประมงที่ผิดกฎหมายไม่เพียงเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำลายสิ่งแวดล้อมทางทะเลและระบบนิเวศเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความเสี่ยงของการสูญเสีย และความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของ

"หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายการเดินเรือสาธารณะ (Public Maritime Law Enforcement Agency)" เช่น หน่วยตำรวจน้ำประจำชายฝั่งเกาหลี และกองทัพเรือไทย

สถานการณ์ประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำไทยในยุค 4.0

ในบทความนี้ จะมุ่งเน้นการกล่าวถึงประเด็นในการป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทรัพยากรที่มีชีวิตในทะเล

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการทำประมงที่ผิดกฎหมายและเป็นอันตรายจาก "กองเรือประมงผิดกฎหมายต่างชาติ" นำมาซึ่งความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามการลักลอบทำประมงผิดกฎหมายดังกล่าว

เริ่มต้นกระบวนการตั้งแต่การสังเกตุการเห็น การรายงานสถานการณ์ การแจ้งพิกัดเรือ การเข้าเทียบเรือและขอขึ้นเรือ การขอตรวจสอบเรือและทะเบียนเรือ

รวมถึงการต่อสู้หรือเข้าจับกุมโดยสันติและการนำตัวผู้กระทำความผิดกลับเข้าชายฝั่งและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งหลายครั้งนำไปสู่ความสูญเสียที่ร้ายแรงถึงชีวิต

ความพยายามของรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีใต้และประเทศไทยในการที่จะแก้ไขปัญหานี้ ในพื้นที่และสถานการณ์ที่แตกต่างกันของพื้นที่ทางทะเลทั้งสองแห่ง

นอกจากจะมุ่งเน้นไปที่แนวโน้มทางกฎหมายที่จะควบคุมกิจกรรมของเรือประมงที่ผิดกฎหมายต่างชาติในพื้นทางทะเลทั้งสองแห่งที่เข้มข้นขึ้นแล้ว ยังนำนโยบายและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หน้างานที่เดิมทีไม่มีกรอบแนวทางข้อปฏิบัติที่ชัดเจน

ตัวอย่างเช่น ความเข้มข้นและรุนแรงที่เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธเพื่อป้องกันความมั่นคงในราชอาณาจักรได้เข้ามาบังคับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ซึ่งเป็นพื้นที่ทำประมงอันมีเพียงข้อตกลงทวิภาคีเกี่ยวกับการประมง

เช่นในเกาหลีใต้และไทย ผ่านการกำหนดโควตาและอนุญาตให้มีการทำประมงอย่างเป็นระบบ

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของเรือประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะทะเลทางใต้ทั้งสองฝั่ง ได้แก่ อ่าวไทยและทะเลอันดามัน

ในส่วนของบริเวณคาบสมุทรเกาหลีโดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลเหลือง (Yellow Sea) ซึ่งหันหน้าเข้าหาจีนแผ่นดินใหญ่ก็ประสบปัญหาเดียวกัน

เช่น ถูกกองเรือประมงต่างชาติขนาดใหญ่กว่า 10 ลำโจมตี โดนเรือตรวจการณ์ชนเรือ เหตุเรือโดนกัน และปัญหาเรือตรวจการณ์หากองเรือประมงผิดกฎหมายต่างชาติไม่พบ หรือกองเรือดังกล่าวไม่สามารถแสดงสัญชาติของเรือได้

สถานการณ์ประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำไทยในยุค 4.0

อาจถือได้ว่าสถานการณ์เหล่านี้เป็นหนึ่งในการถูกคุกคามจาก "ผู้ล่าทางทะเล" ที่มีความเสี่ยงและอันตรายที่สุดจากภัยอันตรายทางทะเลทั้งหลาย

สถานการณ์การทำการประมงผิดกฎหมายได้รบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ลาดตระเวนและต่อต้านเรือประมงผิดกฎหมายอย่างมีนัยสำคัญ

ทะเลไทยเต็มไปด้วยทรัพยากรที่มีชีวิตซึ่งดึงดูดการลักลอบทำประมงผิดกฎหมายโดยเรือประมงชาวต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยมีพันธุ์ปลาเศรษฐกิจที่ใช้ผลิตน้ำปลาจำนวนมาก ในทะเลฝั่งอ่าวไทย

ปลิงทะเลในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและกุ้งมังกรในพื้นที่จังหวัดกระบี่ในทะเลเขตเศรษฐกิจจำเพาะทะเลฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดอาหารทะเลในหลายประเทศ จึงเกิดเป็นแรงจูงใจที่เรือประมงผิดกฎหมายเข้ามาในน่านน้ำประเทศไทย

นอกจากนี้ยังปรากฏสถานการณ์ประมงผิดกฎหมายโดยเรือที่ใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล เช่น ปะการังถูกคราดและทำลายไปพร้อมกับการทำประมงผิดรูปแบบและการลดลงของพันธุ์ปลาและสิ่งมีชีวิตทางทะเลอื่น ๆ

ความสามารถในการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามเรือประมงผิดกฎหมายของทั้งสองประเทศในฐานะภัยคุกคามของทะเลในโลกสมัยใหม่ยังถูกตั้งคำถาม ทั้งในระดับรัฐและระหว่างประเทศ

สถานการณ์ประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำไทยในยุค 4.0

เนื่องจากหากบังคับใช้ได้อย่างจำกัดอาจส่งผลถึงความสูญเสียในชีวิตของเจ้าหน้าที่

อย่างไรก็ตาม หากมีการบังคับใช้เกินขอบเขตไปจะขัดต่อหลักการป้องกันตนเอง และการป้องกันและปราบปรามเหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวพันกับกฎหมายหลายฉบับ

เช่น หลักกฎหมายซึ่งควบคุมเครื่องมือประมง หลักกฎหมายควบคุมกิจกรรมในพื้นที่ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งดูแล หลักสัญชาติเรือ หลักกฎหมายในเรื่องการทำประมง การกำหนดประเด็นเรื่องของเขตอำนาจศาลทางทะเล

การขจัดปัญหาดังกล่าวต้องทำโดยปราศจากอิทธิพลทางการเมืองและอำนาจการตลาดและเศรษฐกิจโลก จึงจะช่วยให้กิจกรรมประมงและการแสวงหาผลประโยชน์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นโดยแนวทางสันติวิธี ปราศจากการต่อสู้จับกุมโดยวิธีการที่รุนแรง เพื่อรักษาชีวิตของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่เอาไว้.