ยกระดับป้องกันไฟป่า 8 พื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก ตั้งเป้าลดพื้นที่เผาไหม้ลง 20%

ยกระดับป้องกันไฟป่า 8 พื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก ตั้งเป้าลดพื้นที่เผาไหม้ลง 20%

ทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมแผนป้องกันไฟป่า 8 พื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก ลงนามความร่วมมือ 3 จังหวัดบริการจัดการเชื้อเพลิง-ลาดตระเวนร่วมกัน ตั้งเป้าหมายลดพื้นที่เผาไหม้ลงร้อยละ 20 พร้อมจับมือผู้ว่าจังหวัดใกล้เคียงทำงานคู่ขนานแบบไร้รอยต่อ

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่1 โรงพยาบาลนครพิงค์ และ สภาลมหายใจเชียงใหม่ ร่วมกัน เสวนา แก้ปัญหาหมอกควันไฟป่า ที่ โหล่งฮิมคาว อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมกันวางแผนป้องกันปัญหาไฟป่าหมอกควันในปี 2566

นายกริชสยาม คงสตรี ผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปีนี้ หลายภาคส่วนมการเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาหมอกควันอย่างรวดเร็ว เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น ล่าสุดได้กำหนด 8 พื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก คือพื้นที่

  1. อำเภอแม่ออน รอยต่อ อำเภอสันแพง
  2. พื้นที่เหนือเขื่อนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด
  3. พื้นที่ อำเภอแม่แจ่ม รอยต่ออำเภอแม่ลาน้อยจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  4. พื้นที่หลังอำเภอสะเมิง
  5. พื้นที่หลัง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย
  6. พื้นที่ตำบลบ้างปง อำเภอหางดง
  7. พื้นที่ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว รอยต่อ ประเทศเมียนมา
  8. พื้นที่อำเภอฮอด รอยต่อ อำเภอดอยเต่า

พื้นที่เหล่านี้ จะต้องเข้มข้นในการบริหารจัดการ และป้องกันไฟป่าให้ดีที่สุด

ขณะเดียวกัน สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ ได้เตรียมตรวจสุขภาพ ให้กับกลุ่มอาสาสมัคร ดับไฟป่า โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อความพร้อมของร่างกาย และลดการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และ จังหวัดเชียงใหม่ได้เตรียมลงนามความร่วมมือร่วมกัน 4 จังหวัด ทั้ง เชียใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เพื่อกำหนด การบริหารจัดการเชื้อเพลิงร่วมกัน บริเวณรอยต่อ ทำแนวกันไฟ เดินลาดตระเวน ถ่ายทอด องค์ความรู้ร่วมกัน ซึ่งกันและกัน

ด้านนางสาว สุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธาน สภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน ปีนี้ ถือมีความก้าวหน้า เนื่องจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย รวมถึง เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น จะสามารถ ทำให้สถานการณ์ ดีขึ้น แต่ สิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือการ สร้างเครือข่ายชุมชน ให้เข้าใจสถานการณ์มากยิ่งขึ้น และสภาลมหายใจ จะผลักดัน ให้จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ค่าค่าเฉลี่ย ฝุ่น PM2.5 ในเวลา 24 ชั่วโมง ในระดับเริ่มส่งผลกระทบสุขภาพจะต้องไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และสิ่งที่ต้องผลักดัน หาก Pm2.5 คือสารก่อ มะเร็งปอด ประชาชนทั่วไปจะต้องได้รับ การตรวจสุขภาพปอด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อทำให้ทุกคนเข้าถึงการคัดกรองสุขภาพ

นายแพทย์กาจบัณฑิต สุรสิทธิ์ อายุรแพทย์ สาขาระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลนครพิงค์ เปิดเผยว่า จากผลวิจัยชี้ว่าฝุ่น pm2.5 คือ สารก่อมะเร็ง ชนิดหนึ่ง เช่นการรับฝุ่นควัน จากสถานที่ต่างๆ คือการเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด 1.5 เท่า ของคนปกติ และเกิน 2 เท่า ของคนสูบบุหรี่ วิธีป้องกัน ต้องติดตาม สถานการณ์หมอกควัน เพื่อวางแผนการป้องกันตัวเอง เช่นการสวมใส่หน้ากากอนามัย ปิดประตูบ้านให้มิดชิด หากมีฝุ่นเยอะ ร่างกายจะแสดงอาการ แสบจมูก ไอ โดยเครื่องกลองอากาศ จะช่วยลด ค่าฝุ่นในบ้านได้

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้ตั้งเป้าหมายลดจุด Hotspot ค่าคุณภาพอากาศที่เกินมาตรฐาน และพื้นที่เผาไหม้ลง 20% ของค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง หรือมีการเกิดจุดความร้อนไม่เกิน 9,833 จุด และพื้นที่เผาไหม้ไม่เกิน 718,056 ไร่ ในพื้นที่ที่เป็นรอยต่อระหว่างจังหวัด ซึ่งมีจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ก็จะได้มีการหารือร่วมกันกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานแบบไร้รอยต่อ