'เอไอเอส ดีแทค ซินเน็ค' กางสูตรธุรกิจ 'ต้องรอด’  

'เอไอเอส ดีแทค ซินเน็ค' กางสูตรธุรกิจ 'ต้องรอด’  

“เอไอเอส-ดีแทค” กางสูตร “ยุคอยู่ร่วมโควิด” เอไอเอส ชูนโยบาย "Less But More" ลดลงทุนเรื่องไม่จำเป็น หันทุ่มเรื่องใหญ่รับอนาคต “ดีแทค” ใช้สูตร "ยืนหยัด ยืดหยุ่น ยั่งยืน" หนุนบริการ 24 ชม.ดันบริการดิจิทัลในอัตราเร่ง “ซินเน็ค” ดันสินค้านิวนอร์มอล

“เอไอเอส-ดีแทค” กางสูตร “ยุคอยู่ร่วมโควิด” เอไอเอส ชูนโยบาย "Less But More" ลดลงทุนเรื่องไม่จำเป็น หันทุ่มเรื่องใหญ่แผนรับอนาคตเศรษฐกิจฟื้น ดีแทค ใช้สูตร "ยืนหยัด ยืดหยุ่น ยั่งยืน" หนุนบริการ 24 ชม.ดันบริการดิจิทัลในอัตราเร่ง ซินเน็ค ปรับสินค้าตอบโจทย์นิวนอร์มอล ขยายบริการ Fulfilment คลังสินค้า-จัดส่งครบวงจร

163025100135

เอไอเอส ชูนโยบาย Less But More

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่าบริษัทยังคงมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการทุกด้าน เพราะ Digital Services และ Digital Infrastructure ที่ให้บริการอยู่เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นจากต้องเวิร์คฟรอมโฮม และเรียนออนไลน์

ทั้งยังต้องเพิ่มเติมช่องทางให้บริการแบบออนไลน์ ที่มีอยู่แล้วให้หลากหลายมากขึ้น ช่วงล็อกดาวน์มีทั้งบนเว็บ บนโมบาย ตลอดจนบนการใช้โซเชียล มีเดีย ต่างๆ ผ่านทีมงานของเอไอเอส เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้อย่างไม่สะดุด ทั้งเพิ่ม Digital Services ใหม่ๆ ที่สร้างความสุข ความบันเทิง และความอยู่รอดของผู้คนในยุคนี้เพื่อให้เกิดภาพของ Entertainment @Home ที่จะเป็นประโยชน์กับคนไทย

สำหรับแผนฟื้นตัวของธุรกิจนั้นเอไอเอส เน้นนโยบาย “Less But More” คือ ควบคุมและลดทอนเรื่องต่างๆที่ไม่จำเป็นต้องทำช่วงนี้ลง เพื่อนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ไปทำเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นในอนาคตให้เกิดการเติบโตในระยะยาวเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมุ่งเน้น 3 แกนหลัก คือ 1. Mobile ที่เป็น Core Business ลงทุน 5จี ลดค่าใช้จ่าย หันใช้ระบบออโตเมชั่นในเรื่องต่างๆ ที่ทำอยู่ให้มากขึ้น

2. เอไอเอส ไฟเบอร์ และเอ็นเตอร์ไพร์ซ โซลูชั่นจะเป็น Growth Engine ใหม่ ที่ลงทุนเพิ่ม เน้นทำงานร่วมพาร์ทเนอร์ และ 3. New Digital Service ตั้งองค์กรแยกออกมา เน้นลงทุนและขยายงานใหม่เพื่ออนาคต 

นายสมชัย กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจปีหน้าขึ้นอยู่กับภาครัฐบาล และภาคประชาชน จะร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาเรื่องการระบาดของโควิดปีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ทั้งเรื่องการคัดกรองผู้ป่วย เพื่อแยกคนป่วยออกจากคนปกติให้ได้ครบถ้วน การฉีดวัคซีนให้คนหมู่มากให้เพียงพอต่อการเกิด Herd Community การเยียวยาให้ครบทุกกลุ่มเพื่อไม่ให้ธุรกิจ โดยเฉพาะรายย่อยล้มหายตายจากไป 

“ถ้าสามารถควบคุมได้ดี และเสร็จสิ้นภายในปีนี้ ในปีหน้าก็จะสามารถค่อยๆกลับมาฟื้นฟู เพื่อเติบโตต่อไปได้ แต่การเติบโตจะค่อยเป็นค่อยไป ต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยอีก 1-2 ปี จึงจะกลับมาได้ที่จุดเดิมก่อนเกิดวิกฤตโควิดได้” นายสมชัย กล่าว 

หนุนการช่วยเหลือต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เอไอเอส ยังคงเดินหน้าภารกิจสู้ภัยโควิด-19 ภายใต้แนวคิด เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นทำให้ภาคสาธารณสุขรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ต้องรับมืออย่างหนักในการรับผู้ป่วยเข้ารักษา ซึ่งจะเห็นได้ว่าปริมาณผู้ป่วยมีมากกว่าจำนวนเตียงที่แต่ละโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับภาคสาธารณสุขและผู้ป่วย ซึ่งที่ผ่านมา เอไอเอสได้ดำเนินโครงการ AIS 5G เชื่อมต่อช่วยเหลือเพื่อคนไทย

AIS ส่งต่อความช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์โควิด ตั้งแต่เริ่มต้นการแพร่ระบาดในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้น 3 ด้าน คือ 1. สนับสนุนเครือข่ายสื่อสาร 5G, 4G,Free WIFI หนุนการทำงานของภาคสาธารณสุข ประกอบด้วย โรงพยาบาลสนาม ทั่วประเทศ ล่าสุดจำนวน 101 แห่ง 25,907 เตียง พร้อมจุดฉีดวัคซีนอีก 105 จุด ใน กทม.และต่างจังหวัด รวมถึง เสริมเครือข่ายในบริเวณโรงพยาบาลทั่วประเทศ

2. สนับสนุนบริการดิจิทัล อาทิ แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ให้แก่กลุ่ม อสม.ช่วยในการทำรายงานและคัดกรอง, หุ่นยนต์คัดกรอง ROC-Robot For Care, เทคโนโลยี 5G AI CT Scan ปอด, เทเลเมดิซีน-ระบบโทรเวชกรรม , ระบบ CLOUD Contact Center สายด่วน, ระบบ NB IoT Tracking, แพลตฟอร์มวัคซีน, ระบบคิว จองสบาย

3. สนับสนุนอุปกรณ์สื่อสาร-ไอที พร้อมซิมและค่าบริการ แก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งหมดนี้เพื่อส่งเสริม สนับสนุนภารกิจต้านภัยโควิดของประเทศไทยให้ก้าวผ่านวิกฤตไปได้อย่างดีที่สุด

163025102285

"ดีแทค" เน้น "ยืนหยัด ยืดหยุ่น ยั่งยืน”

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า วิกฤตโรคระบาดที่ยังต่อเนื่องครั้งนี้ เราจะเห็นภารกิจสำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นความท้าทายร่วมกันของทุกฝ่าย ที่จะต้องลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลให้กับประชาชนทุกคน โดยดีแทคมีความเชื่อมั่นและผลักดันในเรื่อง “ดีทั่วถึงอย่างเท่าเทียม” เพราะการให้บริการดิจิทัลจะเป็นบริการหลักที่ขับเคลื่อนประเทศ

ดีแทคให้ความสำคัญในการให้บริการได้อย่างต่อเนื่องทั้ง 24 ชั่วโมง เพราะการเชื่อมต่อมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในทุกสถานการณ์ และสร้างสังคมไทยให้แข็งแกร่งผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคือจุดมุ่งหมายที่ผลักดันทิศทางการดำเนินธุรกิจของดีแทค นอกจากบริการการสื่อสารไร้สายทั้ง 5G และ 4G ในราคาที่เหมาะสมแล้ว

ดีแทคยังพัฒนาบริการใหม่หลากหลายที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านผู้ใช้งานสู่ชีวิตดิจิทัล ที่สำคัญเราได้นำคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ต่ำมีคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่ใช้งานเสริมสัญญาณเน็ตความเร็วสูงมาให้บริการเพื่อทุกคน ในสถานการณ์ที่มีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถ้ามองตัวเลขปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะเห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นถึง 24.6% ในไตรมาสที่ 2/2564 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้ ดีแทคยังส่งเสริมการใช้บริการดิจิทัลของลูกค้าในอัตราเร่ง (digital fast forward) จำนวนผู้ใช้งานแอปต่อเดือน (Monthly Active User) เพิ่มขึ้น 9% จากปี 2563 ที่ผ่านมา พร้อมทั้ง ร่วมมือกับพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรมพัฒนาบริการดิจิตัลที่สะดวก และยึดโยงกับความต้องการและตอบโจทย์ความจำเป็นของผู้ใช้งาน

เช่น บริการใจดี มีวงเงินให้ยืม เป็นครั้งแรกของการร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ให้บริการโซเซียลแบงกิ้ง และผู้พัฒนาเทคโนโลยีในการนำเสนอบริการสินเชื่อส่วนบุคคลรูปแบบดิจิทัล ให้กับลูกค้าดีแทค ผ่านดีแทค แอปพลิเคชัน และ LINE แอปพลิเคชัน ที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา

“วิกฤตโควิดเป็นเหมือนโจทย์ที่บังคับให้องค์กรต้องปรับตัว ที่สำหรับดีแทคแล้ว เราไม่ได้ทำขึ้นเพื่อรับมือสำหรับวันนี้เท่านั้น แต่เรายกระดับศักยภาพองค์กรเพื่อความแข่งแกร่งและพร้อมแข่งขันในระยะยาว”

ปรับสู่ ‘tight-loose-tight

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ดีแทคได้นำระบบ ‘ออโตเมชัน (automation)’ มาใช้ในธุรกิจและกระบวนการทำงานที่ต้องทำซ้ำๆ เป็นกิจวัตร และมีกฎชัดเจน (rule-based) ให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2566 รวมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานสร้างซอฟต์แวร์สำหรับระบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วให้กับกระบวนการทำงาน พร้อมทั้งลดข้อผิดพลาดอันเนื่องมาจากมนุษย์

ขณะเดียวกัน ต้องปรับวัฒนธรรมองค์กร และวิถีการทำงานของคนดีแทค สู่รูปแบบ ‘tight-loose-tight’ ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความคาดหวังและเป้าหมายต่างๆ และจำเป็นต้องให้อำนาจและอิสระในการทำงาน เพื่อให้ทุกคนในทีมสามารถทำตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างยืดหยุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็ชัดเจนในเรื่องการวัดผล และเพิ่มศักยภาพ สร้างระบบการทำงานแบบยืดหยุ่น (flexible work) ภายใต้สถานการณ์โควิด-19

พร้อมกับ ยกระดับศักยภาพองค์กรทุกด้านให้องค์กรยืนหยัดได้ในทุกวิกฤตและรองรับความเสี่ยงในอนาคต ดีแทคประกาศกรอบการทำงานด้านความยั่งยืน ที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ หรือ dtac Responsible Business ได้แก่ การรักษาธรรมาภิบาลและจริยธรรม การปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน การสร้างสังคมดิจิทัลที่ทั่วถึงและเท่าเทียมสำหรับทุกคน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ การเคารพหลักสิทธิมนุษยชน และการสร้างสุขภาวะในที่ทำงาน

163025104588

‘ซินเน็ค’ เร่งขยายบริการตอบโจทย์