กลยุทธ์ 'คุมโควิด-19 แนวใหม่' เดินหน้าเศรษฐกิจ 'เปิดประเทศ' ปลอดภัย

กลยุทธ์ 'คุมโควิด-19 แนวใหม่' เดินหน้าเศรษฐกิจ 'เปิดประเทศ' ปลอดภัย

สธ. เผย เป้าหมาย กลยุทธ์ และ 'การควบคุมโรคแนวใหม่' ตั้งเป้าลดความรุนแรงโรค ฉีดวัคซีน มาตรการส่วนบุคคล องค์กร เพื่อใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติได้ในอนาคต เดินหน้าเศรษฐกิจ และ 'เปิดประเทศ' อย่างปลอดภัย

วันนี้ (28 ส.ค. 64) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์และแผนการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยกล่าวถึงการประชุม ศบค. วานนี้ (27 ส.ค. 64) มีการเสนอเป้าหมาย กลยุทธ์ และ การควบคุมโรคแนวใหม่ เพื่อให้เศรษฐกิจและ เปิดประเทศ อย่างปลอดภัย อย่างที่ทราบว่า โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ มีการกระจายทั่วโลกอย่างกว้างขวางเกือบ 2 ปี ทั่วโลกได้ประสบการณ์ในการอยู่ร่วมกับโควิดมาอย่างต่อเนื่อง มีนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น วัคซีน การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สะดวกมากขึ้น คาดว่าในอนาคตจะอยู่กับโควิดอย่างปลอดภัย

  • เป้าลดความรุนแรงโรค

เป้าหมายก็คือ จะต้องพยายามทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเสียชีวิตจากโควิดน้อยที่สุด และติดเชื้อน้อยที่สุด โดยไม่กระทบกับการชีวิตของประชาชน หากดูในประเทศไทย เดือน ส.ค. สถานการณ์ค่อนข้างรุนแรง จากการคาดการณ์และวางกลยุทธ์ในการควบคุมโรค จะพยายามให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น ภายในเดือน ก.ย. และ ต.ค. น่าจะอยู่ในระดับปานกลาง และ พ.ย. น่าจะดีขึ้น ธ.ค. คาดว่าจะใช้ชีวิตแนวใหม่อย่างปลอดภัย เป็นเป้าหมายประการที่หนึ่ง  

  • เป้าหมายฉีดวัคซีนครบ 70% 

ถัดมา เป้าหมายในการป้องกันโรคล่วงหน้า คือ การฉีดวัคซีน แม้จะทราบว่าวัคซีนทุกตัวในโรคไม่มีตัวใดป้องกันการติดเชื้อ 100% แต่วัคซีนทุกตัวที่ Who ให้คำแนะนำ และ อย. ให้คำแนะนำ จะมีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อลงได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ 100% อย่างไรก็ตาม วัคซีนทุกชนิด สามารถลดการป่วยหนักและเสียชีวิตค่อนข้างดี ดังนั้น การฉีดวัคซีน จึงเป็นมาตรการที่ลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ค่อนข้างดี ดังนั้น การฉีดวัคซีนยังเป็นมาตรการสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ เดือน ธ.ค. เป้าหมาย 100 ล้านโดสยังคงดำเนินการอยู่

และพยายามฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง 608 ซึ่งมาจาก ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป บวกกับ 8 กลุ่ม คือ 7 กลุ่มโรคประจำตัวเรื้อรัง และ 1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หากกลุ่มนี้มีการฉีดวัคซีนมากพอ โดยเฉพาะในเดือน ก.ย. ที่ตั้งเป้าฉีดวัคซีนเข็มแรก 70% ในกลุ่มนี้ หลังจากนั้น จะมีการฉีดวัคซีนในกลุ่มอื่นๆ ทยอยต่อไป

ขณะนี้ มีสัญญานที่ดีว่า ไฟเซอร์ สามารถฉีดให้กับเด็ก 12 ปีขึ้นไป ดังนั้น เมื่อไฟเซอร์ เข้ามาปลาย ก.ย. จะมีการทยอยฉีดให้กับประชาชนและเด็กต่อไป

163013218267

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มาตรการควบคู่กัน

นอกจากวัคซีนแล้ว ทั่วโลกเห็นว่า วัคซีนอย่างเดียวไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา หรือ ชะลอการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องร่วมกับมาตรการอื่นๆ ไปพร้อมกัน ที่สำคัญ คือ มาตรการส่วนบุคคล Universal Prevention หรือการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ถัดมา คือ การคัดกรองด้วยวิธีต่างๆ เช่น ATK , มาตรการในสถานประกอบการ บับเบิ้ลแอนด์ซีล

หากสามารถทำมาตรการต่างๆ เหล่านี้ได้ จะทำให้เปิดกิจการได้อย่างต่อเนื่อง เป็นเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ที่นำเสนอศบค. และศบค. โดยนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบในหลักการและมอบทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะรัฐ เอกชน สื่อสารทำความเข้าใจ กับพี่น้องประชาชนได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

  • การจำกัดการเดินทาง กิจกรรม/กิจการ

ตั้งแต่การล็อกดาวน์ในช่วง ส.ค. นำไปสู่การผ่อนคลายมาตรการในเดือน ก.ย. กิจการเสี่ยงสูงประเภทที่ผ่านการคัดกรอง ผ่อนคลายกิจการจำเป็น กิจการเสี่ยงต่ำ และกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อนำไปสู่การผ่อนคลยการเดินทาง กิจกรรม ภายใต้มาตรการการดำเนินธุรกิจภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ในช่วงปลายปี

 

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มพบผู้ป่วยชะลอตัวลง สัญญานต่างๆ บ่งชี้ว่า เราน่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่มีโอกาสที่ผู้ติดเชื้อมีเพิ่มเติมมากขึ้น ดังนั้น ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน มาตรการในการป้องกันส่วนบุคคล ร่วมกันไปฉีดวัคซีนครบถ้วน ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ร่วมแรงร่วมใจกัน ป้องกัน และดำเนินการ ควบคุมโรคโควิด ด้วยความอดทนและเสียสละ ผ่านความทุกข์ยากพอสมควร

 

เช่นเดียวกัน โควิดมีการกลายพันธุ์ในหลายประเทศที่เคยควบคุมได้ดี ไม่ว่าจะสหรัฐ อิสราเอล เวียดนาม ล้วนแต่เจอกับเดลต้า ทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และในภาคหน้าอาจจะมีอุปสรรคและเชื้อกลายพันธุ์เกิดขึ้น แต่หากคนไทยร่วมแรงร่วมใจ ฟันฝ่าตรงนี้ไป ก็จะสามารถใกล้เคียงกับชีวิตปกติได้ในอนาคต

163013463929

  • เข้าประเทศยังต้องกักตัว 14 วัน 

ทั้งนี้ จากข้อคำถามที่ว่า การเข้าประเทศยังต้องกักตัวอยู่หรือไม่หากได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มและได้รับการตรวจว่าปลอดโควิด อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับตอนนี้ ประเทศไทยยังกำหนดให้ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ มีการกักตัว 14 วัน สิ่งที่เราเรียนรู้จากหลายประเทศ ว่า วัคซีนลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ถึงแม้จะไม่ 100% และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะทำให้เราสามารถตรวจผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการได้ ดังนั้น ในหลายประเทศ ใช้มาตรการในเรื่องรับรองการฉีดวัคซีนครบถ้วน และการตรวจเป็นระยะ ประกอบการลดวันกักตัว

สำหรับประเทศไทย อย่าง ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ที่ให้ชาวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบ รวมถึงมีการตรวจเป็นระยะ สามารถใช้ชีวิตได้ ค่อนข้างใกล้เคียงกับคนปกติ เป็นข้อมูลที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์และสาธารณสุข มาประเมินอีกที และเชื่อว่าจะมีมาตรการในการกักตัว การพิจารณาในเรื่องของการฉีดวัคซีน รวมถึงการตรวจเป็นระยะ มาใช้ต่อไป อย่างไรก็ตาม ยังต้องระมัดระวัง เพราะยังพบผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ เข้ามาในประเทศไทยเป็นระยะ มาตรการกักตัว ยังคงใช้ 14 วัน แต่ก็มีแนวโน้มว่าอาจจะลดวันกักตัวลง อย่างไรก็ตาม ก็รอการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง