ม.อ.ลุยวิจัยพืชกระท่อม ทดแทนนำเข้า 'เมทาโดน'

ม.อ.ลุยวิจัยพืชกระท่อม ทดแทนนำเข้า 'เมทาโดน'

ม.อ.เดินหน้างานวิจัยพืชกระท่อมเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ทดแทนการนำเข้า“เมทาโดน” (Methadone) ในอนาคต ชี้ปลดล็อกออกจากยาเสพติดประเภท 5 ช่วยการปฎิบัติของการงานวิจัยได้ง่ายขึ้น

ผศ.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เภสัชวิทยา) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผย “ผู้สื่อข่าว”ว่าหลังจากที่ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดประเภทที่ 5 ไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ว่า
หลังจากปลดแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นสำหรับด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ที่เริ่มมาตั้งนานแล้วแล้ว โดยการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

“การทำงานวิจัยก็จะง่ายขึ้น จะทำให้การปฎิบัติของการงานวิจัยได้ง่ายขึ้น แต่บนความง่ายที่ทุกอย่างมันเปลี่ยนในช่วงข้ามวันมันก็จะงานวิจัยในหลายแง่มุม”

เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ เรื่องของการปลูก เมื่อปลูกแล้วจะทำอะไรต่อ จะเอาไปใช้ประโยชน์ยังไง จะต้องไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบหรือไม่
และผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มองในด้านการแพทย์ หรืออาหารเสริม หรือจะเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือเครื่องมือแพทย์อะไรก็ตามก็จะเกิดขึ้นได้

ผศ.สมชาย กล่าวว่า สำหรับงานวิจัยที่ทำอยู่ขณะนี้เป็นความตั้งใจจะทำในเชิงทางการแพทย์ ที่ตั้งธงไว้ก็คือการนำมาใช้ทดแทนสารเสพติด ลดอาการถอนของสารเสพติด ซึ่งปัจจุบันคนไข้ที่ติดสารเสพติดในกลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) กลุ่มฝิ่น เฮโรอีน มอร์ฟีน ก็จะมารักษาโดยใช้ “เมทาโดน” (Methadone) เข้ามาในโรงพยาบาลบำกบัด ในผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด

“ปัจจุบัน“เมทาโดน”(Methadone) ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ส่วนใหญ่ในประเทศต้องนำเข้าทั้งหมด โดยนำเข้ามาทั้งหมดที่ใช้อยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆที่รับบำบัดผู้ติดสารเสพติด ซึ่งเราก็มีผลการทดลองที่อยู่ในก่อนหน้านี้ ทำในสัตว์ทดลองไล่มาเรื่อยๆ แล้วก็มีรายงานการวิจัยของต่างประเทศและของคนไทยก่อนหน้านี้ที่เป็นเคสรีพอร์ต (รายงานผู้ป่วย) ว่าเขาเอาไปใช้ทดแทน ไม่ลดอาการถอน แล้วก็มีความพึงพอใจได้ผลดี มาบวกกับงานวิจัยที่เราทำในสัตว์ทดลองมันก็เลยทำให้มีแนวคิดว่าเราน่าจะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมา เพื่อให้เป็นโอกาสสำหรับที่จะไปทดแทน“เมทาโดน”(Methadone) ได้ในอนาคต แต่ว่าก็คงไม่ใช่ในระยะเวลาสั้นๆนี้ และสุดท้ายมันก็จะไปถึงการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)

งานวิจัยของเรามีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกจะเป็นการพัฒนาผลิภัณฑ์ต้นแบบตัวนี้เพื่อการใช้ในอนาคต กับอีกส่วนหนึ่งก็คือการลงพื้นที่ไปดูการใช้ตามวิถีชาวบ้านที่เขาไปใช้รักษาคนที่ติดสารเสพติด ใช้แล้วสามารถลดอาการถอนได้ แต่ก็ยังต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาในจำนวนคนที่เยอะขึ้นในอนาคต ซึ่งแน่นอนเมื่อถึงเวลานั้นตัวตำหรับที่เราเสร็จไปเราก็ต้องหาข้อมูลในเรื่องความปลอดภัย เรื่องของประสิทธิภาพจนครบก่อนจะไปขออนุญาตทดลองในคนต่อไป เหมือนกับที่บริษัทยาจะทำผลิตที่เป็นเภสัชภัณฑ์ขึ้นมาสักอันก็คงต้องดำเนินการแบบนั้นเหมือนกัน” ผศ.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เภสัชวิทยา) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าว