ส่องสถานะ ธนาคารพาณิชย์ไทย มั่นคงแค่ไหน ใน วิกฤติโควิด-19 ?

ส่องสถานะ ธนาคารพาณิชย์ไทย มั่นคงแค่ไหน ใน วิกฤติโควิด-19 ?

กางข้อมูลกลุ่ม "ธนาคารพาณิชย์" ในไทย ท่ามกลางสภาวะ "วิกฤติโควิด-19" ยังมีความมั่นคงแค่ไหน ดูได้จากอะไรบ้าง ?

ท่ามกลางวิกฤติ "โควิด-19กลุ่มแบงก์ หรือกลุ่ม "ธนาคารพาณิชย์" ของไทยเป็นอีกหนึ่งเซคเตอร์ที่ มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดคุ้มครองเงินฝากจาก 5 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาทในวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา 

รวมถึงข่าวหนังสือเวียนของ ธปท. ที่จะส่งถึงธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินให้ช่วยเหลือลูกหนี้ ผ่านการปรับลดเงินต้นและดอกเบี้ย (Hair cut) ที่หลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะนำมาซึ่งความเสียหายอย่างรุนแรงของฐานะการเงินของสถาบันการเงิน และจะเป็นการสร้างพฤติกรรมจงใจเบี้ยวหนี้ (Moral Hazard)

ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ท่ามกลางวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในช่วงนี้ กลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์จะยังรักษา "ความมั่นคง" ได้หรือไม่ 

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงพาไปอัพเดทข้อมูลสถานะของแบงก์พาณิชย์ ณ เวลานี้ พร้อมองค์ประกอบในการพิจารณาแนวโน้มความมั่นคงของกลุ่มแบงก์ในบ้านเรา เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น

จากการแถลงข่าว "ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 2 ปี 64" ของธนาคารแห่ง ได้รายงานผลประกอบการและสถานะต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบที่สะท้อนในภาพรวมระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็งโดยมีเงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง และระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปี 2564 จำนวน 60.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน 72.13%  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

 

  •  รู้ได้อย่างไรว่าธนาคารพาณิชย์ยังมั่นคง หรือกำลังสั่นคลอนหรือไม่ ? 

ข้อมูลจากเอกสาร "การคุ้มครองเงินฝาก การกากับดูแลสถาบันการเงิน และการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน" ของ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (กระทรวงการคลัง), ธนาคารแห่งประเทศไทย, สถาบันคุ้มครองเงินฝาก และเครดิตบูโรระบุถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่ง และมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลัก ดังนี้

162988517772

1. ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน มีกำไรและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) เพิ่มขึ้น

2. ฐานะเงินกองทุน (BIS ratio) ที่กฎหมายกำหนดสภาพคล่องปัจจุบันคือ

- ธนาคารพาณิชย์ ไม่ต่ำกว่า 8.50% 
- บริษัทเงินทุน ไม่ต่ำกว่า 8.0% 
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ต่ำกว่า 6.0%

3. สภาพคล่อง ธนาคารพาณิชย์จะต้องดำรงปริมาณสินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอกับปริมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิใน 30 วันโดยเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2559 ในอัตรา 60% และเพิ่มขึ้น 10% ในแต่ละปีจนครบ 100% ในวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

4. สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และ % NPL ลดลงจากปีที่ผ่านมา

5. อันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) อันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินซึ่งมักจะถูกจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ เช่น S&P, Moody, Fitch เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อลองนำปัจจัยต่างๆ มาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ของแบงก์พาณิชย์ในบ้านเราจากข้อมูลล่าสุดไตรมาสสองปี 2564 จะเป็นดังนี้

 

162998286225

จากตารางข้างต้นสรุปได้ว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงมีความเข้มแข็ง โดยมีเงินสำรองสภาพคล่อง และเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง สามารถรองรับผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้

ทั้งนี้ คุณภาพสินเชื่อโดยรวมทรงตัวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นและการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์แต่มีสัญญาณความเปราะบางเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสินเชื่อรายย่อยซึ่งในระยะต่อไปลูกหนี้ยังคงต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากผลกระทบของ โควิด-19 ที่ยืดเยื้อและขยายวงกว้าง

อย่างไรก็ดี เรื่องนโยบายการปรับลดเงินต้นและดอกเบี้ย (Hair cut) ที่กำลังเกิดการถกเถียงกันอยู่ในตอนนี้จะต้องติดตามว่าภาครัฐจะมีนโยบายออกมาอย่างไร และจะส่งอย่างไรกับประชาชนและธนาคารพาณิชย์ของไทยต่อไปอย่างไรบ้าง 

 

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย