หนุน 'สื่อเคเบิลท้องถิ่น' ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ตอบโจทย์'New Normal'

หนุน 'สื่อเคเบิลท้องถิ่น' ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ตอบโจทย์'New Normal'

สสส. ร่วมกับ เครือข่ายสื่อสุขภาวะลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ หนุน 'สื่อเคเบิลท้องถิ่น' รุกนำเสนอคอนเทนต์รณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงให้ตอบโจทย์สังคม 'New Normal'

โครงการพัฒนาเครือข่ายสื่อสุขภาวะลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ (Work Shop)  ในรูปแบบการจัดกิจกรรม “แชร์วงคุย บอกกล่าวประสบการณ์ สู่การเรียนรู้ของตน ภายใต้ชื่องาน เปิดมุมมองการทำสื่อให้ดัง ปังทุกแพลตฟอร์ม 

โดยมี น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวเปิดงาน และ นายณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและการตลาดดิจิทัล คอลัมนิสต์  พร้อมด้วย นายธีมะ กาญจนไพริน (จั๊ดซัดทุกความจริง) ผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่และพิธีกร ช่อง One   และ นายกฤชอรรณัฐ แสงโชติ Digital Content Manager เพจ “อีจัน” สำนักข่าวออนไลน์ ร่วมเป็นวิทยากร ในการแลกเปลี่ยนมุมมอง และชวนกันคิดเพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารในประเด็นลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ

162807409418

พร้อมเปิดเวทีพูดคุยในประเด็น “ปรับตัวอย่างไร เมื่อสื่อมีทางเลือกหลายแพลตฟอร์ม” โดยกิจกรรมดังกล่าวมีผู้บริหาร-ผู้ประกอบการ และทีมผลิต สื่อเคเบิลท้องถิ่น ภายใต้การทำงานของเครือข่ายสื่อเคเบิลสุขภาวะ จำนวนกว่า 10 สถานี เข้าร่วมรับการอบรม ร่วมกับเครือข่ายสื่อเชิงประเด็นลดปัจจัยเสี่ยง ของ สสส. ทั้งประเด็นเหล้า บุหรี่ การพนัน  และอุบัติเหตุ ผสานพลังเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้นกว่า 70 คน

  • ยกระดับ 'สื่อเคเบิลท้องถิ่น'ลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ

น.ส.รุ่งอรุณ เปิดเผยว่า สื่อเคเบิลทีวี เป็นอีกหนึ่งเครือข่ายสำคัญซึ่งจะมีส่วนในการช่วยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของ สสส. และเครือข่ายภาคี ออกสู่ภาคประชาสังคม แต่จากบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปการนำเสนอรูปแบบสื่อจึงจำเป็นต้องปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

เหตุนี้ สสส.จึงจัดให้มีโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพ สื่อเคเบิลท้อง ถิ่นเข้าสู่เครือข่ายสื่อสุขภาวะ ที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ และผลิตเนื้อหา (Content) ได้อย่างน่าสนใจ มีรูปแบบหรือเทคนิคการนำเสนอชวนติดตามสอดคล้องกับความนิยมของการรับชมข่าวสารในสังคมปัจจุบัน และเพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานระหว่างคนทำ สื่อเคเบิล ร่วมกับ สื่อออนไลน์ หรือ สื่อข้ามแพลตฟอร์มต่าง ๆ

162807418620

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังจะเป็นการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายในส่วนของสื่อเคเบิลท้องถิ่น ทั้งในด้านความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์การนำเสนอประเด็น รวมไปถึงเทคนิคการทำสื่อในยุคการเปลี่ยนผ่านจากระบบเคเบิลสู่ระบบดิจิทัลทีวีอย่างมีประสิทธิผล โดยสามารถใช้รูปแบบการสื่อสารและเครื่องมือการสื่อสารในทุกแพลตฟอร์มได้อย่างเข้าใจและเหมาะสมกับโลกยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น (Digital Disruption) และวิถีชีวิตใหม่ ( New Normal)

  • ปรับตัวสู่'สื่อเคเบิลดิจิทัลทีวี' สร้างเครือข่ายสื่อสุขภาวะ

น.ส.รุ่งอรุณ กล่าวด้วยว่า สื่อเคเบิลทีวี เป็นสื่อท้องถิ่นที่เกิดจากคนทำสื่อจากคนในพื้นที่  ภายในจังหวัดของตนเอง เพื่อสื่อสารความเคลื่อนไหวในชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง และมีความพยายามในการปรับตัวเองสู่ความเป็น สื่อเคเบิลดิจิทัลทีวี มากยิ่งขึ้น  ด้วยการขยายการรับชมจากระบบเคเบิลเพียงอย่างเดียวมาสู่การรับชมผ่านสื่อออนไลน์ และสื่อช่องต่าง ๆ มากขึ้น 

162807422959

ดังนั้น สื่อเคเบิล จึงเป็น ‘พื้นที่สื่อ’ และ ‘คนทำสื่อ’ ที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพสู่ เครือข่ายสื่อสุขภาวะ ที่นำเสนอองค์ความรู้ และรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติสู่การมีพฤติกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดี ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพและสังคม ในแนวคิด “คนบ้านเดียวกันพูดจาภาษาเดียวกัน”

“แต่ละพื้นที่จะมีบริบทที่แตกต่างกัน เคเบิลทีวีจะเข้าใจและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้อย่างใกล้ชิด จึงจะเป็นอีกเครือข่ายสื่อที่สำคัญของ สสส. ในการช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม โดยช่วยรณรงค์ขับเคลื่อนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในท้องถิ่นได้ โครงการนี้จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมศักยภาพสื่อในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารให้เข้าถึงประชาชนได้อย่างตรงกับความต้องการของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป” น.ส.รุ่งอรุณ กล่าว

  • ร่วมรณรงค์ ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ในยุค'New Normal'

ด้าน นายณัฐพัชญ์ กล่าวความตอนหนึ่งว่า แม้ในยุค digital disruption ที่มีการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงของสื่อที่สำคัญ แต่หากวิเคราะห์โดยท่องแท้แล้ว สื่อก็ยังต้องขับเคลื่อน โดยคน ไม่ใช่เทคโนโลยี  ดังนั้น เราต้องดูกลุ่มเป้าหมาย (Target) ว่า เราต้องการสื่อสารหรือพูดกับใคร

ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงความต้องการ อยู่ในความสนใจและเป็นที่น่าเชื่อถือของกลุ่มเป้าหมายนั้น  เพราะถ้าสื่อก๊อปปี้ หรือเห็นคนอื่นทำ แล้วก็ทำตาม ๆ กัน  โดยไม่ศึกษาเรื่อง กลุ่มผู้ชม ก็จะเป็นการสื่อสารที่ไม่ตรงเป้าหมาย จึงต้องชัดเจนว่าเราต้องการสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายใด 

162807426458

ในการสื่อสารอาจแบ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรองได้ โดยจะมีเทคนิคหรือ tactic ในการสื่อสารไปยังแต่ละกลุ่มที่ไม่เหมือนกัน เพราะปัจจุบัน content มีมากมายจนล้น คนจะเลือกเสพสื่อที่ตรงกับที่เขาต้องการ ดังนั้น หากต้องการให้เขาดูเราต้องทำ Content ให้ตรงใจเขา และต้องเข้าถึงได้ง่าย

ที่สำคัญต้องมีคุณค่ากับ กลุ่มเป้าหมาย นั้นด้วย  โดยส่วนตัวมองว่า การทำสื่อ หรือ การสื่อสารในประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ  หรือรณรงค์ลด ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เป็นเนื้อหา (Content) ที่สนองความต้องการพื้นฐานของผู้ชมอยู่แล้ว  เพราะเป็นประโยชน์ และทำให้ชีวิตของเขาดีขึ้น แต่การจะดึงดูให้น่าสนใจหรือชวนติดตามนั้น อาจต้องมีการผสมผสามนเชิงเทคนิคการเล่าเรื่อง การนำเสนอ ให้เข้ากับเอกลักษณ์ของสื่อเองหรือตรงกับกลุ่มผู้ชมของสื่อนั้น ๆ เป็นสำคัญ

162807428593