6 ส.ค. 'ผู้ประกันตน มาตรา 33' รับเงินเยียวยา ย้ำอาชีพอิสระ สมัครรับสิทธิ์ภายใน ก.ค. นี้

6 ส.ค. 'ผู้ประกันตน มาตรา 33' รับเงินเยียวยา ย้ำอาชีพอิสระ สมัครรับสิทธิ์ภายใน ก.ค. นี้

6 ส.ค. 2564 นี้ กลุ่ม "ผู้ประกันตน มาตรา 33" และผู้ประกอบการ ใน 9 กิจการ 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม จะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับเงินเยียวยา ตามมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก "โควิด 19" จากการประกาศยกระดับล็อกดาวน์ขั้นสูงสุด

ส่วน "ผู้ประกันตน มาตรา 33ใน 3 จังหวัดที่ประกาศล็อกดาวน์เพิ่มเติม และผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 จะได้รับเงินเยียวยาภายในเดือน ส.นี้ 

ทั้งนี้ สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในการเยียวยามีทั้งสิ้น 13,500 ล้านบาท โดยเริ่มเยียวยากลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา 

9 ประเภทกิจการ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรงบริการด้านอาหาร กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 

โดยมาตรการเยียวยา มีดังนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสัญชาติไทย จะได้รับการเยียวยา เป็นเงิน 2,500 บาท โอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ส่วนนายจ้างจะได้รับการเยียวยา ตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ส่วนนายจ้างบุคคลธรรมดา จะได้รับเงินโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน นายจ้างสถานะนิติบุคคล จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคล

ขณะที่ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 ซึ่งเป็นกลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ รัฐบาลจะเยียวยา 5,000 บาท โดยผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ 40 ก่อนวันที่ 28 มิ.. 2564 ให้รีบสมัครภายในวันที่ 30 .. 2564 เพื่อสำนักงานประกันสังคมจะได้ส่งข้อมูลนำเข้า ครม.พิจารณาเห็นชอบและจัดสรรเงินเยียวยาให้ต่อไป

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในรายการ กรุงเทพธุรกิจ BIZ INSIGHT ว่า ตอนนี้มีผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่อยู่ในธุรกิจกิจการประเภทเดียวกัน ใน 9 กิจการ และอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม แต่บางบริษัทได้รับเงินเยียวยา บางบริษัทไม่ได้รับเงินเยียวยา 

กรณีดังกล่าว ไม่ใช่เกิดจากการกำหนดของกระทรวงแรงงานแต่เป็นเพราะการสมัครประเภทกิจการตอนที่นายจ้าง ผู้ประกอบการเลือก เช่น บริษัทประเภทข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ตอนสมัครหากนายจ้าง ระบุ ประเภทผลิต แต่บางบริษัท ระบุเป็นประชาสัมพันธ์ อาจทำให้บางแห่งได้รับ บางแห่งไม่ได้ ซึ่งเท่าที่สำรวจจมีประมาณ 2-3% ที่ไม่ได้ และจะไปหารือกับทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่าจะมีการอุทธรณ์ให้แก่ผู้ประกันตนกลุ่มนี้หรือไม่ 

สภาพัฒน์เป็นผู้กำหนดแนวทางการจ่ายเงินเยียวยา ส่วนก.แรงงานจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลผู้ประกันตน และนายจ้างที่ต้องได้รับการเยียวยาช่วยเหลือ ส่วนที่ไม่สามารถให้ทุกกิจการได้นั้น เพราะจากข้อมูลพบว่า ธุรกิจประเภทการผลิตและส่งออก อย่าง ยานยนตร์ อาหารแช่แข็ง สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้รับผลกระทบจาก โควิด 19 แต่ตรงกันข้าม ข้อมูลจากเดือนม..-มิ..2564 มีการจ้างคนมากกว่าออกประมาณ 8 หมื่นคน และการจ่ายเงินเยียวยาครั้งนี้ เป็นการใช้เงินกู้ ดังนั้น ต้องใช้เม็ดเงินให้ถูกเป้าหมาย ช่วยเหลือพี่น้องผู้ประกันตน และนายจ้างได้จริงนายสุชาติ กล่าว

สถานการณ์ "โควิด 19ตอนนี้ต้องเร่งป้องกันการระบาดของโรค ซึ่งอาจจะทำให้หลายๆคนได้รับผลกระทบ มาตรการต่างๆ ของก.แรงงานที่ออกมาก็เพื่อช่วยเหลือทั้งลูกจ้าง นายจ้าง และผู้ที่ทำงานอิสระ ดังนั้น ขอให้ผู้ประกอบอาชีพ อิสระ หรือนายจ้าง มาเข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะอาชีพอิสระ ควรลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือน ก.. 2564 เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาทจำนวน 1 เดือน 

หากใครยังไม่เข้าระบบประกันสังคม ต้องลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ที่ https://www.sso.go.th/section40_regist/ โดยต้องลงทะเบียนภายในเดือน .. 64 ซึ่งกลุ่มนี้ยังไม่สรุปจะโอนเงินเมื่อไร ต้องรอลงทะเบียนให้ครบก่อน

นายสุชาติ กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และพยายามเยียวยาให้ครอบคลุมทุกมิติ แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่ได้เงินเยียวยาทันใจพี่น้องผู้ประกันตน และนายจ้าง เนื่องจากเงินดังกล่าวเป็นเงินกู้ จึงมีขั้นตอนในการเบิกจ่าย แต่ทุกคนที่มีคุณสมบัติ เป็นไปตามที่กำหนดจะได้รับเงินเยียวยาอย่างแน่นอน

162744330682

162744332053

162744333331

162744334880