ยักษ์ดิจิทัลขานรับภาษีอี-เซอร์วิส - 'เน็ตฟลิกซ์' เปิดบริษัทในไทยทุนจดทะเบียน 150 ล้าน

ยักษ์ดิจิทัลขานรับภาษีอี-เซอร์วิส - 'เน็ตฟลิกซ์' เปิดบริษัทในไทยทุนจดทะเบียน 150 ล้าน

ยักษ์ดิจิทัลพร้อมจ่ายภาษีอีเซอร์วิส เน็ตฟลิกซ์บุกตั้งบริษัทในไทย ทุนจดทะเบียน 150 ล้าน คาดเพื่อดำเนินการด้านภาษีให้ถูกต้อง - เปิดรายได้ปี 63 บริษัทดิจิทัลในไทย เฟซบุ๊ค 356 ล้านบาท กูเกิล 814 ล้านบาท

เช่นเดียวกับ กูเกิล ประเทศไทย โดยโฆษกกูเกิล ระบุก่อนหน้านี้ว่า ช่วงที่ผ่านมากูเกิลปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากรของทุกประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจ และเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลงก็ยังคงปฏิบัติตามหน้าที่ต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ฉบับใหม่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของประไทย

“เมื่อกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ กูเกิลจะดำเนินการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามที่กฎหมายกำหนด” โฆษก กูเกิล กล่าว

เปิด 12 หมวดธุรกิจเข้าข่ายต้องจ่ายภาษีอีเซอร์วิส

อย่างไรก็ตาม นายภาวุธ ได้วิเคราะห์และแบ่งหมวดธุรกิจที่เข้าข่ายเสียภาษีอีเซอร์วิสไว้ทั้งหมด 12 หมวดหมู่ด้วยกัน คือ

  • หมวดแรก สินค้าอีคอมเมิร์ซบนเว็บไซต์ออนไลน์ต่างประเทศ เช่น อีเบย์ อเมซอน อาลีบาบา เป็นต้น
  • กลุ่มมีเดีย หรือกลุ่มสื่อที่ต้องซื้อโฆษณาบนเฟซบุ๊ค กูเกิล ยูทูบ ซึ่งมีมูลค่านับหลายหมื่นล้านบาท
  • กลุ่มบริการ (Service) บริการบนแอพพลิเคชั่น ที่เป็นระบบพรีเมียมที่คิดค่าบริการรายเดือน
  • บริการการเดินทาง (Transportation) ของต่างประเทศ รวมถึงการจองบริการเดินทางสายการบินต่างๆ
  • จองผ่านแอพต่างประเทศ ท่องเที่ยว เช่น Booking.com หรือ AirBNB
  • กลุ่มดิจิทัลคอนเทนท์ เช่น เน็ตฟลิกซ์ เป็นต้น
  • กลุ่มซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นบริการดาวน์โหลดผ่านออนไลน์
  • กลุ่มวีดีโอ เกม ที่ปัจจุบันมีบริการมากมายในรูปแบบการซื้อผ่านออนไลน์ รวมไปถึงการซื้อสินค้าภายในเกม
  • กลุ่มอินฟราสตรัคเจอร์ หรือกลุ่มนักพัฒนาบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องจ่ายค่าเช่าเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ ต้องหันไปใช้บริการคลาวด์ของต่างประเทศ
  • กลุ่มออนไลน์ เพย์เม้นท์ เช่น บริการเพย์พาล
  • กลุ่มการลงทุน (Investment) หรือการลงทุนทางด้านธุรกิจ เช่น forex หรือ การเล่นค่าเงิน เป็นต้น
  • กลุ่มการพนันออนไลน์ (Online Gambling) อีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างมาก และธุรกิจนี้แทบ 100% เป็นของต่างประเทศ

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน หากคนไทยใช้บริการผ่านแอพต่างๆ ช่องทางการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ก็จะดึงเงินไปต่างประเทศได้ทันที หรือการตัดเงินผ่านบัญชี เพลย์สโตร์ (Play store) หรือแอพสโตร์ ก็จะส่งเงินไปต่างประเทศทันทีเช่นกัน ทำให้เกิดช่องว่างในการเก็บภาษี

ซี กรุ๊ป หนุนจัดเก็บเป็นธรรม

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อย่าง ช้อปปี้ เกมออนไลน์ และอีเพย์เม้นท์ กล่าวก่อนหน้านี้ กับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ธุรกิจที่ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฏหมายอยู่แล้ว

“ส่วนการเก็บภาษี อีเซอร์วิส จากธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มข้ามชาติที่มีรายได้ในประเทศไทยนั้น มองว่าทุกธุรกิจที่มีรายได้ในไทย ควรมีข้อกำหนดในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งภาระหน้าที่ในการเสียภาษีบนมาตรฐานเดียวกันทั้งธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจคนไทย เพื่อให้แข่งขันที่เท่าเทียมกันและไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการดำเนินธุรกิจ”

กฎหมายลูกของกฎหมายอี-เซอร์วิสอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้ ก่อนที่กฎหมายอีเซอร์วิสจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 ก.ย.นี้ โดยกฎหมายลูกดังกล่าวจะทำให้กระบวนการจ่ายภาษีมีความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี

กฎหมายกำหนดให้บริษัทที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ในต่างประเทศที่ให้บริการกับคนในประเทศไทย ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต (VAT) ให้กับกรมสรรพากรในอัตรา 7 % โดยบริษัทออนไลน์ที่ได้รับเงินจากผู้ใช้บริการในประเทศไทย จะต้องนำจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมฯ ในลักษณะการประเมินตนเอง

โดยบริษัทจะทำเฉพาะภาษีขาย คือ ยอดขายที่ได้จากการให้บริการเท่าไรก็จ่ายภาษีแวตในอัตรา 7% ของยอดขาย โดยที่ไม่ต้องทำภาษีซื้อ เหมือนที่ผู้ประกอบการในประเทศต้องทำ ซึ่งกรณีบริษัทในประเทศ เมื่อมีรายได้จากยอดขาย ต้องหัก 7% ของยอดขายนำส่งกรมสรรพากร ขณะเดียวกัน เมื่อบริษัทต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่เป็นวัตถุดิบเข้าบริษัท ต้องทำภาษีซื้อ เพื่อนำภาษีแวตที่ติดมากับวัตถุดิบ หักออกจากภาษีภาษีขายทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นวันแรกที่กฎหมายนี้เริ่มมีผลบังคับใช้

บริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ขายหรือให้บริการ ผ่านระบบออนไลน์ให้กับคนในประเทศไทย และมีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียนเป็นผู้เสียภาษีแวตกับกรมฯทางระบบออนไลน์ โดยรายได้ 1.8 ล้านบาทดังกล่าว ให้นับรายได้ตั้งแต่ 1 ก.ย.นี้เป็นต้นไป

เปิดรายได้ยักษ์ดิจิทัลในไทย

บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลที่ต้องเข้าระบบภาษีอี-เซอร์วิส มาดูกันว่าเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทเหล่านี้มีรายได้เท่าไหร่กันบ้าง จากข้อมูลของ Creden Data ระบุว่า 

  • กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด รายได้ 814 ล้านบาท
  • เฟซบุ๊ก (ประเทศไทย) จำกัด รายได้ 356 ล้านบาท
  • อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) หรีอ AWS จำกัด รายได้ 462 ล้านบาท
  • ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย รายได้ 1,009 ล้านบาท
  • ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด 3,084 ล้านบาท

และ *****เน็ตฟลิกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาท **** (จดทะเบียนตั้งบริษัทในไทย 26/03/2564)