'ติดโควิด' สงสัยเชื้อลงปอด เช็คอาการอย่างไร? ดูแลตัวเองแบบไหน?

'ติดโควิด' สงสัยเชื้อลงปอด เช็คอาการอย่างไร? ดูแลตัวเองแบบไหน?

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด แชร์ข้อมูลถึงผู้ป่วยที่ "ติดโควิด" และอยู่ระหว่างรอเตียง ว่าหากสงสัยว่าเชื้อลงปอด จะมีวิธีเช็คอาการตนเองอย่างไร? แล้วควรดูแลตัวเอง ณ ขณะนั้น แบบไหน? ให้ถูกต้องเหมาะสม

ท่ามกลางวิกฤติ "โควิด-19" ที่แพร่ระบาดหนักในไทย ทำให้ผู้ติดเชื้อพุ่งทะลุเกือบหมื่นรายต่อวัน ส่งผลให้ผู้ป่วยรอเตียงมีจำนวนมากตามไปด้วย หากเป็นผู้ป่วย "ติดโควิด" ระดับสีเขียว ก็อาจจะไม่น่ากังวลมากเท่าไหร่ แต่ถ้าผู้ป่วยสีเขียวดังกล่าว ยังหาเตียงไม่ได้ ระหว่างรออาจมีอาการรุนแรงขึ้น จนเป็นระดับสีเหลืองหรือสีแดง ซึ่งน่ากังวลมาก

ในกรณีแบบนี้ หากผู้ป่วยรู้จักวิธีประเมินอาการตัวเอง โดยเฉพาะหากสงสัยว่าเชื้อลงปอด จะเช็คอาการของตนเองได้อย่างไร? และมีวิธีดูแลตนเองเบื้องต้นแบบไหนถึงจะถูกต้อง? เรื่องนี้มีคำตอบจาก นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤติบำบัด ที่ทำงานในสหรัฐอเมริกา ได้แชร์ความรู้ชุดนี้ผ่านคลิปวิดีโอ Doctor Tany (9 ก.ค. 64)

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ได้รวบรวมและสรุปมาให้ทราบกัน ดังนี้

1. เช็คอาการ แบบไหนโควิดลงปอด?

นายแพทย์ธนีย์ เปิดเผยว่าเมื่อรู้ผลตรวจว่า "ติดโควิด" ให้ดำเนินการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อหาเตียงและเข้าสู่ระบบตามมาตรการ แต่ระหว่างรอ หลายคนสงสัยว่าตนเองอาการหนักแค่ไหน? มีภาวะเชื้อไวรัสลงปอดหรือยัง?

ตรงนี้มีวิธีเช็คคือ ให้ผู้ป่วยทดสอบตนเองด้วยการโดยเดินไปมา ลุกยืนหรือลุกนั่ง 3 ครั้ง หรือกลั้นหายใจ 10-15 วินาที หากทำแล้ว "เหนื่อย" และวัดออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94 ลงไป ให้สงสัยว่าโควิดลงปอดไว้ก่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

2. แนะนำให้ผู้ป่วย "นอนคว่ำ" ระหว่างรอเตียง

- ให้นอนคว่ำ เพื่อให้ปอดไม่มีการกดทับ และทำงานได้ดีขึ้น เนื่องจากปอด 2 ใน 3 จะอยู่ด้านหลัง โดยวิธีการนอนคว่ำให้กอดหมอนไว้ที่หน้าอก เพื่อให้นอนสบายขึ้น

- บางคนหากนอนคว่ำไม่ได้ หายใจไม่ออก ให้นอนกึ่งตะแคงกึ่งคว่ำ 45 องศามาทางเตียง

- กรณีคนท้องให้นอนตะแคง เอาด้านซ้ายลง

- ระหว่างนอนคว่ำ ให้ขยับขาบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น ยืดงอขา หรือยืดเหยียดปลายเท้า เป็นต้น

3. วิธีทานอาหาร/ดื่มน้ำ ระหว่างรอเตียง

- หากยังทานอาหารได้ ให้พยายามทานให้เพียงพอ

- ดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 2 - 2.5 ลิตรต่อวัน ดื่มมากเกินไปก็ไม่ดี

- หากในกรณีที่ทานอาหารไม่ได้เลย ควรดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทน

- หากหาซื้อเกลือแร่ไม่ได้ ให้ใช้เกลือ 1 ช้อนชาและน้ำตาล ผสมลงในน้ำแก้วใหญ่ๆ แล้วดื่ม

162627602410

4. วิธีทานยาแก้ไข้/ยาโรคประจำตัว ระหว่างรอเตียง

- หากมีโรคประจำตัวที่ต้องทานยาขับปัสสาวะอยู่ แล้วดื่มน้ำไม่ได้ ตรงนี้ให้งดยาไปก่อน

- หากทานยาโรคความดันโลหิตสูงอยู่ ควรวัดความดันบ่อยๆ ถ้าพบว่าความดันต่ำกว่า 90/60 ควรงดยาความดันโลหิตสูง เพราะเราไม่ต้องการให้ความดันต่ำไปกว่านั้น ถ้าความดันต่ำมากจะอันตราย อาจช็อคหรือหมดสติได้

- หากทานยาโรคเบาหวานอยู่ ควรตรวจน้ำตาลสม่ำเสมอๆ ตรวจ 4 เวลาแล้วจดไว้ ถ้าพบว่าน้ำตาลต่ำประมาณ 100 และทานอาหารไม่ได้ ทานได้น้อย ควรงดฉีดอินซูลิน หรืองดยากลุ่มที่ลดน้ำตาลในเลือด เพราะถ้ามีภาวะน้ำตาลต่ำในขณะที่ป่วยโควิดจะเป็นอันตรายได้

- ถ้ามีไข้ ให้ทานยาพาราเซตามอลเท่านั้น หากเริ่มมีไข้ต่ำๆ ให้กินพาราฯ ได้เลย อย่ารอให้ไข้สูงหรือหนาวสั่น เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอ *แต่อย่าทานยาลดไข้กลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen, naproxen, mefenamic acid (Ponstan), diclofenac (Voltaren) เพราะอาจทำให้ไตวายได้*

- ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร/กระชายขาว ทานได้แต่ต้องทานตามปริมาณกำหนดของกรมการแพทย์แผนไทย *หากทานเกินปริมาณกำหนดอาจทำให้ตับวายได้*

5. วิธีเข้าห้องน้ำ ระหว่างรอเตียง

- ถ้าเหนื่อยมาก เมื่อปวดถ่ายเบาหรือถ่ายหนักก็ตาม อย่าลุกไปเข้าห้องน้ำคนเดียว เพราะการนั่งเบ่งถ่ายในขณะที่ร่างกายมีออกซิเจนต่ำ จะทำให้หน้ามืด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้นได้

พบว่ามีผู้ป่วยโควิดใน รพ. หลายรายที่เข้าห้องน้ำ เบ่งปัสสาวะ เบ่งอุจจาระ แล้วหน้ามืด เป็นลม และเสียชีวิต ทั้งนี้ผู้ป่วยกลุ่มที่อยู่ใน รพ.แล้ว หากหมดสติหัวใจหยุดเต้น ยังมีหมอพยาบาบที่ช่วยเหลือเขาได้ทัน แต่หากท่านอยู่บ้าน ยังไม่ได้เตียง ถ้าฝืนลุกไปเข้าห้องน้ำก็อาจจะอันตรายได้ เพราะมีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน

- ให้เตรียมห้องน้ำไว้ข้างเตียงดีที่สุด เช่น กระโถน, คอมฟอร์ท100 (กระบอกปัสสาวะ), กระดาษหรือผ้ารองของเสีย ไม่ต้องอาย ไม่ต้องห่วงสุขลักษณะใดๆ เพราะหากโควิดลงปอดแล้ว ชีวิตท่านสำคัญที่สุด

- หากท้องผูกให้ทานยาระบายอ่อนๆ ดื่มน้ำมากๆ

นอกจากนี้ควรหมั่นติดต่อหาญาติ ครอบครัว เพื่อนๆ ไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ช่วยกันอัพเดทเรื่องหาเตียงให้เร็วที่สุด และ

-------------------------

ที่มา : นพ.ธนีย์ ธนียวัน