กทม.ยกเลิก 'แจกเงิน 5 พัน' แล้ว 'ผู้ค้า' ได้รับการเยียวยาอะไรบ้าง ? เช็ครายละเอียดที่นี่

กทม.ยกเลิก 'แจกเงิน 5 พัน' แล้ว 'ผู้ค้า' ได้รับการเยียวยาอะไรบ้าง ? เช็ครายละเอียดที่นี่

เช็ครายละเอียด! หลัง กทม. กลับลำ ยกเลิกข่าว แจกเงิน 5 พัน แก่ "ผู้ค้ารายย่อย" แล้วสรุป "ผู้ค้า" ที่ได้รับผลกระทบทั้งในและนอกระบบ "ประกันสังคม" ได้รับการเยียวยาอะไรบ้าง?​ จากการมาตรการคุมโควิดระลอก 3 ล่าสุด

กรณีวันที่ 29 มิ.ย. 64 ซึ่งทาง กรุงเทพมหานคร ได้เผยแพร่ข่าวการเยียวยาผู้ค้ารายย่อยที่อยู่นอกระบบประกันสังคม โดยมีแนวทางให้สำนักงานเขตสำรวจ "ผู้ค้ารายย่อยที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม" สำนักงานเขตละ 200 ราย เพื่อรับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท เพื่อเป็นทุนสำรองในการดำรงชีพของประชาชนต่อไปนั้น 

ล่าสุด เมื่อเวลา 21.11 . วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางจินดารัตน์ ชโยธิน ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) แจ้งข้อความในกลุ่มไลน์สื่อมวลชนประจำ กทม. ว่า ขอยกเลิกข่าวเยียวยาผู้ค้ารายย่อยคนละ 5 พันบาทจำนวนเขตละ 200 คน ข้างต้น 

โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักประชาสัมพันธ์ กทม.ได้ระบุเพิ่มเติมว่า  "ขอตรวจสอบความชัดเจน เมื่อมีข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว จะส่งให้ช่วยเผยแพร่ใหม่นะคะ ขออภัยด้วยค่ะ"

แต่ทั้งนี้ แม้มาตรการช่วยเหลือผู้ค้าในส่วนของ กทม. จะยังไม่มีข้อสรุป แต่ ในส่วนของรัฐบาล ตามมติ ครม. วันนี้ (29 มิ.ย.) ได้เห็นชอบการดูแลทั้ง ลูกจ้างและนายจ้าง ทั้งที่อยู่ในระบบ และ นอกระบบประกันสังคม ภายใต้งบประมาณ 8.5 พันล้านบาท รายละเอียดดังนี้

 

  • นายจ้าง/ลูกจ้าง ในระบบประกันสังคม

1. มาตรการที่ช่วยเหลือลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะได้รับการจ่ายเงินค่าจ้างให้ในสัดส่วน 50% ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน 

2. มาตรการในการช่วยเหลือ ลูกจ้างในระบบประกันสังคม ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษอีก 2,000 บาท เนื่องจากลูกจ้างบางส่วนได้รับผลกระทบจากการหยุดงาน หรือบางธุรกิจอาจไม่จ่ายเงินเดือนให้ในช่วงนี้รัฐจึงให้เงินเป็นกรณีพิเศษเพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลานี้ 

3. มาตรการในการช่วยเหลือนายจ้าง โดยนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 3,000 บาทโดยเป็นการจ่ายรายหัวให้กับลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการจริงแต่ไม่เกิน 200 คน กำหนดระยะเวลา 1 เดือน 

ข่าวที่น่าสนใจ : 

  • นายจ้าง/ลูกจ้าง/ผู้ประกอบการ นอกระบบประกันสังคม

สำหรับ แรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคม รัฐบาลได้กำหนดให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการ นำส่งข้อมูลเข้าระบบประกันสังคมใน 1 เดือน เพื่อรับการช่วยเหลือ ดังนี้ 

- นายจ้าง จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 3,000 บาท โดยเป็นการจ่ายรายหัวให้กับลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการจริงแต่ไม่เกิน 200 คน กำหนดระยะเวลา 1 เดือน 

- ลูกจ้าง ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษอีก 2,000 บาท แต่จะไม่ได้ให้ค่าชดเชยการว่างงานฉุกเฉินในสัดส่วน 50%

   

  • ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง ไม่สามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ 

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง ไม่สามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ ก็ยังสามารถรับการเยียวยาในส่วนนี้ได้ โดยการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น "ถุงเงิน" ในส่วนของมาตรการคนละครึ่ง เพื่อรับเงินเยียวยา 3,000 บาท ผ่านแอพฯ ถุงเงิน

162496316030