เปิดประสิทธิภาพ-ยอดขาย-ราคา 'Pfizer' วัคซีนโควิด-19 ใช้กลุ่มอายุ 12-18 ปี

เปิดประสิทธิภาพ-ยอดขาย-ราคา 'Pfizer' วัคซีนโควิด-19 ใช้กลุ่มอายุ 12-18 ปี

สิ้นสุดการรอคอย เมื่อ อย. อนุมัติ 'Pfizer' เป็น 'วัคซีนโควิด-19' ตัวที่ 6 ที่อย.ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนของไทย ซึ่งขณะนี้ มีการใช้ในหลายประเทศรวมถึงอาเซียน ซึ่งมีแผนนำมาใช้กับกลุ่มอายุ 12-18 ปี

หลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโคเมอร์เนตี (COMIRNATY VACCINE) ซึ่งเป็นวัคซีนของบริษัท ไฟเซอร์ จำกัด นำเข้าโดย บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย จำกัด โดยเป็น 'วัคซีนโควิด-19' รายการที่ 6 ของไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งมีแผนนำมาใช้กับกลุ่มอายุ 12-18 ปี

  • 'วัคซีนโควิด-19' ที่ อย.อนุมัติ มีอะไรบ้าง

โดยก่อนหน้านี้ อย. ได้อนุมัติ 'วัคซีนโควิด-19' ไปแล้ว 5 ราย ได้แก่

1.วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และที่ผลิตในประเทศ โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด

2.วัคซีนโคโรนาแวค ของบริษัท ซิโนแวค ไลฟ์ไซเอ็นซ์ จำกัด นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม

3.วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โดยบริษัท แจนเซ่น ซีแลค จำกัด

4.วัคซีนโมเดอร์นา นำเข้าโดยบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด

5.วัคซีนของซิโนฟาร์ม นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด

6. (ล่าสุด) วัคซีนโคเมอร์เนตี (COMIRNATY VACCINE) ซึ่งเป็นวัคซีนของบริษัท ไฟเซอร์ จำกัด นำเข้าโดย บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย จำกัด

162459886449

  • ทำความรู้จัก วัคซีนโควิด ‘Pfizer’ อีกครั้ง


วัคซีนโควิด ‘Pfizer’ มีชื่อทางการว่า BNT162b2 เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด mRNA ที่คิดค้นโดยบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันชื่อไอโบเอ็นเท็ค (BioNTech) โดยวัคซีนชนิดนี้ เป็นการสังเคราะห์สารพันธุกรรมเลียนแบบเชื้อไวรัสขึ้นมา ดังนั้น ในวัคซีนจึงไม่ได้มีอนุภาคของเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ตายแล้วอยู่ภายใน

เมื่อ mRNA ถูกฉีดเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรตีนส่วนหนาม (Spike protein) เหมือนกับโคโรนาไวรัส ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการติดเชื้อจนเป็น ‘โควิด-19’ เมื่อร่างกายเห็นโปรตีนส่วนหนามของไวรัสแล้ว จึงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันไว้สำหรับป้องกันไวรัสจริงๆ ที่จะเข้ามาได้

วัคซีน‘Pfizer’ ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (Food and Drug Administration: FDA) เพื่อป้องกันโรค'โควิด-19' สำหรับผู้ที่อายุ 12 ปีขึ้นไป


วัคซีน  ‘Pfizer’ เป็น‘วัคซีนโควิด 19’ บริษัทแรกที่ประสบความสำเร็จในการทดลองเฟสสาม โดยบริษัทได้ประกาศว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพมากกว่า 90% เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 และต่อมาได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USFDA) เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2563 ให้ใช้ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป

  • เปรียบเทียบราคาวัคซีน

ข้อมูลจาก Web Biospace.com เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2564 ได้เปิดเผย ราคาวัคซีนโควิด-19 (1 ดอลลาร์ = 31.71 บาท)ระบุว่า

  • ไฟเซอร์/ไบออนเท็ค ราคาต่อโดส 620 บาท 
  • โมเดอร์นา ราคาต่อโดส  794 - 1,176 บาท
  • แอสตร้าเซนเนก้า ราคาต่อโดส 68 - 166 บาท 
  • จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ราคาต่อโดส 317 บาท
  • สปุตนิก วี. ราคาต่อโดส 317 บาท 
  • ซิโนแวค ราคาต่อโดส 945 บาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

  • ประสิทธิภาพ ‘Pfizer’

วารสารทางการแพทย์ The New England Journal of Medicine ในเดือนธันวาคม 2563 ทดลองในอาสาสมัคร 43,548 คน อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป แบ่งครึ่งหนึ่งได้รับ 'วัคซีนโควิด-19' อีกครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการได้ 95%

ต่อมาวันที่ 22 เม..2564 ผู้วิจัยได้รายงานตัวเลขใหม่คือ 94.8% และแก้ไขประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มแรกเป็น 92.6% จากเดิม 52.4% เนื่องจากตัวเลขเดิมวิเคราะห์รวมช่วง 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนด้วย ซึ่งร่างกายยังไม่ทันสร้างภูมิคุ้มกันตัวเลขนี้ใกล้เคียงกับของวัคซีน Moderna ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA เหมือนกันคือ 92.1%

นอกจากนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) กำหนดให้วัคซีน‘Pfizer’มีประสิทธิภาพสูงถึง 100% ในการป้องกันความรุนแรงของโรคที่เกิดจาก 'โควิด-19'

ในขณะที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (Food and Drug Administration: FDA) กำหนดให้ประสิทธิภาพในการป้องกันอาการรุนแรงที่เกิดจากโรคโควิด 19 ไว้ที่ 95.3%

วัคซีน ‘Pfizer’ ยังมีผลการทดลองเฟส 3/4 ที่น่าสนใจอีก 2 การทดลองคือ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในสหราชอาณาจักรระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึงมกราคม 2564 พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการหลังฉีดเข็มแรกประมาณ 75%

การทดลองในอิสราเอล ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนให้กับประชากรจำนวนมาก พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ 92%  ป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ 94% และป้องกันอาการรุนแรง 92%

อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของวัคซีนวัดจากการทดลองทางคลินิก ซึ่งอาจมีการควบคุมกลุ่มทดลอง แต่ในการนำมาใช้กับประชากรจริง ประสิทธิภาพมีโอกาสที่จะต่ำกว่าผลที่สรุปในการทดลองเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น การกลายพันธุ์ของไวรัสใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้ใช้ในการทดลอง

  • ‘Pfizer’ ใช้กับกลุ่มไหนได้บ้าง

‘Pfizer' ซึ่งมีการอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 16 ปีในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) กำลังอนุญาตให้เด็กอายุ 12-15 ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ‘Pfizer’ ได้ รวมถึง เข้าสู่กระบวนการขออนุมัติการใช้ในคนทุกวัยเมื่อสัปดาห์ก่อน

ขณะที่ แคนาดา มีการขยายการใช้งานวัคซีนโควิด-19 ‘Pfizer’ ไปยังกลุ่มวัยรุ่นที่อายุ 12-15 ปี

  • ผลข้างเคียง ‘Pfizer’

ผลการทดลองในเฟสสาม พบว่าวัคซีน ‘Pfizer’ มีความปลอดภัย ส่วนใหญ่เป็นผลข้างเคียงไม่รุนแรง กลุ่มอายุน้อย(16-55 ปี) พบผลข้างเคียงได้มากกว่ากลุ่มอายุมากกว่า 55 ปี เช่น

ปวดบริเวณที่ฉีด 83% พบในกลุ่มอายุน้อย 71% พบในกลุ่มอายุมากกว่า 55 ปี (83% ต่อ 71%)

ไม่ค่อยพบอาการบวม/แดงบริเวณที่ฉีด อาการอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย (47% ต่อ 34%) ปวดศีรษะ (42% ต่อ 25%) หนาวสั่น (14% ต่อ 6%)

ส่วนผลข้างเคียงรุนแรงพบ 4 ราย ได้แก่ หัวไหล่บาดเจ็บจากการฉีดวัคซีน ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ขวาโต หัวใจเต้นผิดจังหวะชั่วคราว และชาขาข้างขวา แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

ขณะที่ภายหลังจากสหรัฐอเมริกาเริ่มฉีดวัคซีนในประชากรจำนวนมาก พบอัตราการแพ้วัคซีนรุนแรง 4.5 รายต่อ 1 ล้านโดสใน 1 เดือนแรก จนถึงขณะนี้วัคซีนถูกฉีดไปแล้วมากกว่า 150 ล้านโดส

 

  • ผลศึกษา หญิงตั้งครรภ์ ฉีด ‘Pfizer’

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ เมื่อวันที่ 21 เม..มีรายงานผลการติดตามการฉีดวัคซีนเบื้องต้นพบว่า 86.1% ตั้งครรภ์จนคลอดเป็นทารก (ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนในไตรมาสที่ 3) ในจำนวนนี้คลอดก่อนกำหนด 9.4% ส่วนอัตราการแท้งไม่แตกต่างจากช่วงก่อนที่จะมีการระบาด คณะกรรมการที่รับผิดชอบด้านวัคซีนจึงแนะนำให้เข้ารับการฉีดวัคซีนเหมือนคนทั่วไป

  • ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก

ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก อาจมีดังนี้ เป็นลม เวียนศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ รู้สึกชาตามร่างกาย หากมีอาการดังที่กล่าวมานี้หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที นอกจากนี้การหาที่นั่งพัก หรือนอนราบอาจช่วยให้อาการบรรเทาลงได้

  • อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

เอกสารจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (ซีดีซี) ระบุว่า มีการรายงานผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 1,200 รายที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังจากที่ได้รับการฉีด 'วัคซีนโควิด-19' ของ ‘Pfizer’ หรือ Moderna

มีรายงานว่า วัยรุ่นที่มีอายุ 16-24 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาย มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ หลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ ‘Pfizer’ หรือ Moderna

ทั้งนี้ ผู้ป่วยจำนวน 267 รายมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนของไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาจำนวน 1 เข็ม และจำนวน 827 รายมีอาการดังกล่าว หลังจากได้รับการฉีดวัคซีน 2 เข็มนอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วย 132 รายที่มีอาการเช่นกัน แต่ไม่มีการระบุว่าได้รับการฉีดวัคซีนกี่เข็ม

อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการดังกล่าวส่วนใหญ่ หรือราว 80% จะมีอาการดีขึ้นจนเป็นปกติ หลังจากที่ได้รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล

  • ยอดขาย 'Pfizer' 

162459886615

  • เพื่อนบ้านอาเซียน ใครใช้ ‘Pfizer’ บ้าง

สิงคโปร์

สิงคโปร์ เป็นประเทศแรกของอาเซียน ที่อนุมัติ ‘Pfizer’  และใช้ ‘Pfizer’ วัคซีนหลัก ด้วยงบกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์  สำหรับฉีดให้ประชาชน 5.8 ล้านคนฟรี โดยอนุญาตให้ฉีดในเด็กอายุ 12-15 ปี จากเดิมอนุญาตให้ใช้ในเด็กที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป 

นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกให้เป็นฐานการผลิตวัคซีนของไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะเปิดสายการผลิตได้ในปี 2566

มาเลเซีย

จากเดิมที่ มาเลเซีย มีแผนให้ ‘Pfizer’ เป็นวัคซีนทางเลือกให้ประชาชน แต่ประชาชนส่นใหญ่เลือกที่จะรับวัคซีนไฟเซอร์ มากกว่าแอสตร้าเซเนก้า รัฐบาลจึงต้องสั่งซื้อเพิ่ม

เมื่อเดือนพ.. ที่ผ่านมา มาเลเซียจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 จากบริษัท ไฟเซอร์ ของสหรัฐฯ เพิ่มอีก 12.8 ล้านโดส รวมจัดซื้อ ประมาณ 44.8 ล้านโดส ซึ่งเพียงพอต่อการฉีดวัคซีนให้ประชาชนร้อยละ 70

ฟิลิปปินส์

เริ่มฉีดให้ประชาชนทำงานนอกบ้าน และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์  35 ล้านคน ภายใต้การจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้ได้113 ล้านโดส  5 ยี่ห้อ คือ ซิโนแวค  26 ล้านโดส, สปุตนิก วี ของรัสเซียที่มีโดส 10 ล้านโดส, โมเดอร์นา 20 ล้านโดสและแอสตร้าเซเนก้า 17 ล้านโดส

ล่าสุด มีการสั่งซื้อวัคซีนจาก ‘Pfizer’ 40 ล้านโดสซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าทุกยี่ห้อที่จะใช้ในประเทศ คาดว่าจะเริ่มมีการส่งมอบในช่วงปลายเดือนกันยายน และจะอนุญาตให้ใช้วัคซีน ‘Pfizer’ กับเด็กอายุ 12 ถึง 15 ปี ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเริ่มฉีดในช่วงปลายปี

อินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย ซึ่งมีเป้าหมายการฉีด 'วัคซีนโควิด-19' ให้ได้ 181.5 ล้านคนในปี 2565  โดยรัฐบาลอินโดนีเซีย  สั่งการให้เพิ่มจำนวนผู้ฉีดวัคซีนในแต่ละวันเป็น 1 ล้านคนในเดือน .จากปัจจุบันอินโดนีเซียฉีดวัคซีนได้ราว 500,000 คนต่อวัน

โดยมีการของซื้อวัคซีนจากผู้ผลิตหลายรายทั้ง วัคซีนซินโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า โนวาแวกซ์  และเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนซิโนฟาร์ม โมเดอร์นา หรือสปุตนิก วี

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข อินโดนีเซีย ยังสั่งซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทค จำนวน 50 ล้านโดส โดยคาดว่าจะได้รับชุดแรกจะเริ่มในเดือนสิงหาคมนี้ จัดส่งระหว่าง 7.5 - 12 ล้านโดสต่อเดือน

 

เวียดนาม

เป้าหมายของ เวียดนาม คือ การฉีดวัคซีนให้แก่ประชากร 75 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 98 ล้านคน โดยมีการจัดหา 'วัคซีนโควิด-19' ให้ได้ 110 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 ในจำนวนนั้น คือ ‘Pfizer’  จำนวน 31 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 30 ล้านโดส และวัคซีนผ่านโครงการโคแว็กซ์ 38.9 ล้านโดส รวมถึง ยื่นคำร้องจัดซื้อวัคซีนเพิ่มในโครงการโคแว็กซ์ 10 ล้านโดส

สปป.ลาว

ได้รับ ‘Pfizer’ จากโครงการโคแวกซ์ขององค์การอนามัยโลก จำนวน 100,620 โดส เพื่อใช้ในการฉีดป้องกันโควิดแก่ประชากร จำนวน 50,300 คน ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นโรคเรื้อรัง โดยฉีดไปเมื่อวันที่ 16 มิ..ที่ผ่านมา ดำเนินการฉีดวัคซีน ‘Pfizer’ เข็มที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-30 มิ..2564 ส่วนเข็มที่ 2 จะห่างกันประมาณ 21-28 วัน

  • คาดรายได้ 'วัคซีนโควิด-19' ทั่วโลก

162460096591