ส.ว.คว่ำร่างรธน.พปชร.! 'บัตรสองใบ' ปชป.เสียงหนุนท่วมท้น-12ฉบับ ตกวาระแรก

ส.ว.คว่ำร่างรธน.พปชร.!  'บัตรสองใบ' ปชป.เสียงหนุนท่วมท้น-12ฉบับ ตกวาระแรก

ผลโหวต! ส.ว.คว่ำร่างรธน.พปชร. 'บัตรสองใบ' ปชป.เสียงท่วมท้น ผ่านวาระแรก ส่วน "12ฉบับ" ตีตก

ที่ประชุมร่วมรัฐสภามีมติชั้นรับหลักการวาระแรก ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 13 ฉบับ หลังใช้เวลาลงมติกระทั่งนับคะแนนกันข้ามคืน ตั้งแต่เวลา 17.00 น.ของวันที่ 24 มิ.ย.- เวลา 01.30 น.วันที่ 5 มิ.ย. ผลการลงคะแนนมีดังนี้ 

ร่างพรรคพลังประชารัฐ

ฉบับที่ 1 ระบบเลือกตั้ง ใช้ระบบบัตร 2 ใบ (ส.ส.แบ่งเขต 400 / บัญชีรายชื่อ 100) โดยไม่แตะอำนาจ สว.

-รับหลักการ 334 คะแนน (ส.ส.134/ส.ว.0) 

-ไม่รับหลักการ 199 คะแนน

-งดออกเสียง 75 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

ร่างพรรคร่วมฝ่ายค้าน         

2.แก้ไขเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน        

-รับหลักการ 399 คะแนน (ส.ส. 393/ส.ว. 6) 

-ไม่รับหลักการ 136 คะแนน

-งดออกเสียง 171 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

3.แก้ ม.83 ให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

-รับหลักการ 376 คะแนน (ส.ส.340/ส.ว.36)

-ไม่รับหลักการ 89 คะแนน

-งดออกเสียง 241 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

 

4.ตัดอำนาจ สว. โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี         

-รับหลักการ 455 คะแนน (ส.ส.440/ส.ว.15) 

-ไม่รับหลักการ 101 คะแนน

-งดออกเสียง 150 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

               

5.ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และอำนาจ คสช.             

-รับหลักการ 327 คะแนน (ส.ส.326/ส.ว.1)

-ไม่รับหลักการ 150 คะแนน

-งดออกเสียง 299 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

ร่างพรรคร่วมรัฐบาล

6 .แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 65 (แก้ไขยุทธศาสตร์ชาติ)

-รับหลักการ 454 คะแนน (ส.ส.419/ส.ว.35)

-ไม่รับหลักการ 86 คะแนน

-งดออกเสียง 166 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

 7.แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 5 และมาตรา 55/1 (หลักประกันรายได้พื้นฐานถ้วนหน้า)

-รับหลักการ 476 คะแนน (ส.ส.421/ส.ว.55)

-ไม่รับหลักการ 78 คะแนน

-งดออกเสียง 152 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน0 คะแนน

 

8.แก้ไขมาตรา 29, 43, 46 และ 72 (เพิ่มสิทธิประชาชน)

-รับหลักการ 469 คะแนน (ส.ส.421/ส.ว.48) 

-ไม่รับหลักการ 75 คะแนน

-งดออกเสียง 162 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

 

9.มาตรา256 โหวตเห็นชอบใช้เสียง 3 ใน 5

-รับหลักการ 415  คะแนน (ส.ส.400/ส.ว.15)

-ไม่รับหลักการ 102 คะแนน

-งดออกเสียง 189 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน0 คะแนน

 

 10 .แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 236, 237 (แก้วิธีตรวจสอบ ป.ป.ช.)

-รับหลักการ 431 คะแนน (ส.ส.398/ส.ว.33)

-ไม่รับหลักการ 97 คะแนน

-งดออกเสียง 178 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

 

 11.แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272 (ยกเลิกอำนาจ ส.ว. ร่วมเลือกนายกฯ)

-รับหลักการ 461 คะแนน(ส.ส.440/ส.ว.21)  

-ไม่รับหลักการ 96 คะแนน

-งดออกเสียง 149 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

 

 12.กระจายอำนาจท้องถิ่น

-รับหลักการ 457 คะแนน (ส.ส.407/ส.ว.50) 

-ไม่รับหลักการ 82 คะแนน

-งดออกเสียง 167 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0 คะแนน

 

 13.แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83, 91 ระบบเลือกตั้ง ส.ส. ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

-รับหลักการ 552 (ส.ส.342/ ส.ว.210) คะแนน

-ไม่รับหลักการ  24 คะแนน

-งดออกเสียง130 คะแนน

-ไม่ลงคะแนน 0  คะแนน

ผลการลงคะแนนปรากฎว่า มีเพียงร่างที่ 13 ที่เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ เพียงร่างเดียวที่ได้รับเสียงรับหลักการเกินกึ่งหนึ่งหรือ 367 เสียงจากจำนวนสมาชิก 733 เสียง และได้รับความเห็นชอบจากส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ 84 เสียง

เท่ากับว่า มีเพียง 1 ร่างจาก 13 ร่างที่ผ่านชั้นรับหลักการวาระแรก 

จากนั้น ที่ประชุมมีมติมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน 45 คน กำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 15 วัน ก่อนปิดการประชุมในเวลา 01.55 น.

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ส.ว.ส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่รับหลักการร่างแก้ไขของพปชร. ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ออกมาท้วงติงเกี่ยวกับ การแก้ไขมาตรา 144 และ 185 เรื่องการตัดบทลงโทษส.ส.และส.ว.ที่เข้าไปแทรกแซงเรื่องการแปรญัตติงบประมาณ และรวมถึงการให้ส.ส.และส.ว.เข้าไปก้าวก่ายการทำงานของหน่วยราชการได้

ซึ่งส.ว.มองว่า เป็นการทำลายหลักการสำคัญเรื่องการป้องกันการปราบโกงในรัฐธรรมนูญปี 2560

ซึ่งแม้ว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อพปชร.จะรับปากว่า จะนำไปปรับแก้ในชั้นกมธ.เพือกลับไปใช้เนื้อหาตามรัฐธรรมนูญปี60 แต่ที่สุดแล้วรัฐสภามีมติไม่รับหลักการร่างดังกล่าาว ถือว่าร่างเป็นอันต้องตกไป