'อาคม' ยันกู้5แสนล้านไม่กระทบสภาพคล่อง-ใช้จ่ายเมื่อจำเป็น

'อาคม' ยันกู้5แสนล้านไม่กระทบสภาพคล่อง-ใช้จ่ายเมื่อจำเป็น

'อาคม' ยันกู้5แสนล้านไม่กระทบสภาพคล่อง-ใช้จ่ายเมื่อจำเป็น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพื่อพิจารณา พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ.2564 วงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาทในช่วงกลางดึกของวานนี้(9มิ.ย.) ว่า พ.ร.ก.กู้เงิน5แสนล้าน ถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนเพราะในช่วงเดือนเม.ย.ได้เกิดการระบาดของโรคโควิดระลอกที่3 โดยพ.รก.กู้เงิน1ล้านล้านนั้นขณะนี้ใช้จ่ายไปเกือบหมดแล้ว

จึงมีความจำเป็นต้องมีการจัดหาเงินเพิ่มเพื่อรองรับความไม่แน่นอน

ส่วนแหล่งเงินกู้ของสำนักบริหารหนี้นั้นมีหลายรูปแบบทั้งจากสถาบันในและต่างประเทศ รวมถึงการออกพันธบัตรรูปแบบต่างๆในการะดมเงินเพื่อใช้จ่าย หรือการระดมทุนในรูปแบบเงินคงคลังเพื่อเสริมสภาพคล่อง

ในการกู้ในขณะนี้มีการกู้ในประเทศ98%ซึ่งมีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้กระทบสภาพคล่องภายในประเทศ ที่อาจจะกระทบต่อภาคเอกชนที่มีความต้องการใช้จ่ายเงินเช่นเดียวกัน ยืนยันว่าสภาพคล่องภายในประเทศขณะนี้มีสูงมาก

ขณะที่การออกพันธบัตรนั้นมีจุดประสงค์ต้องการพัฒนาในเรื่องตลาดทุนโดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ซึ่งอายุของพันธบัตรนั้นก็แตกต่างกันไป

ส่วนการชำหระหนี้วันนี้เราเหลือหนี้ที่ต้องชำระกับธนาคารโลกเพียง4โครงการเท่านั้นซึ่งถือว่าน้อย

“ประเด็นที่ถามว่าพ.ร.ก.กู้เงิน5แสนล้านวันนี้กู้หรือยังขอเรียนว่ายังไม่ได้กู้ โดยการกู้ภายใต้พ.ร.ก.จะกู้เมื่อมีความจำเป็นในการใช้เงิน เมื่อมีแผนงานโครงการ ความพร้อมที่อนุมัติแล้ว เราถึงจะกู้เงินออกมา เราจะไม่กู้เงินมากองไว้แล้วเสียดอกเบี้ยมีต้นทุนทางการเงิน”

ประการถัดมาที่มีการถามว่าจะใช้หนี้เมื่อไร ขอเรียนว่าหนี้จำนวนนี้จะไปรวมกับหนี้ทั้งหมด ดังนั้นหนี้จำนวน5แสนล้านไม่ได้ใช้ในทันที แต่เราต้องดูในส่วนของหนี้ที่ต้องชำระ รวมถึงต้นทุนขอการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเราต้องหาต้นทุนที่ถูกที่สุด

ขณะที่ขีดความสามารถในการชำระหนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจถ้าเติบโตอย่างสม่ำเสมอ รายได้การจัดเก็บภาษีก็จะเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งต้องยอมรับว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาเราได้มีการลดหย่อนภาษีอย่างต่อเนื่องจึงทำให้รายได้การจัดเก็บภาษีไม่ได้โตตามสัดส่วนที่เติบโต

อีกด้านเราต้องดึงเทคโนโลยี และดิจิทัลเข้ามาให้มากท่าสุดเพื่อดึงในเรื่องฐานภาษีนอกจากนี้ต้องมีการขยายฐานภาษีใหม่โดยเฉพาะการขยายฐานออนไลน์ที่ขณะนี้ได้มีการเสนอกฎหมายเข้าสู่สภาฯในเรื่องการจัดเก็บภาษีออนไลน์  เป็นต้น

นอกจากนี้ประเด็นเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ซึ่งสมาชิกมีการระบุว่า ณ สิ้นเดือนก.ย.หนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะอยู่ที่58.56 เรียนว่าเป็นการประมาณการบนสมมุติฐานว่า ก.ย.เราจะดูในเรื่องการขาดดุลว่ามีเท่าไร ซึ่งจะมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล เรื่องนี้เป็นเพียงสมมุติฐานที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง

จำนวนหนี้สาธารณะที่เรามีอยู่ในขณะนี้หากเทียบกับต่างประเทศหากยึดตามคำนิยามของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จะอยู่ที่7.9ล้านล้าน หรือเทียบกับจีดีพีจะอยู่ที่50.69