'วรวรรณ' ชี้ จำเป็นต้องช่วยฟื้นฟู'การบินไทย'เพื่อผลประโยชน์ของชาติอนาคต

'วรวรรณ' ชี้ จำเป็นต้องช่วยฟื้นฟู'การบินไทย'เพื่อผลประโยชน์ของชาติอนาคต

"วรวรรณ ธาราภูมิ"ชี้ จำเป็นต้องฟื้นฟูการบินไทย ประคองธุรกิจผ่านพ้นในช่วง2ปี ชี้หากเจ้าหนี้ไม่อนุมัติแผนต้องล้มละลาย หมดสภาพสายการบินแห่งชาติ ทำให้ประเทศสูญเสียรายได้หลักหากโควิดคลี่คลาย ยันเป็นรัฐวิสาหกิจมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

 นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวใน Suthichai Live ในห้วข้อ ทำไมต้องช่วยฟื้นการบินไทย ว่า ในวันที่ 12 พ.ค. ที่เจ้าหนี้จะมีการประชุมพิจารณาอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทย  จำกัด (มหาชน)หรือ  THAI  ซึ่งหากเจ้าหนี้ไม่อนุมัติแผนฟื้นฟูการบินไทยจะต้องล้มละลาย ทำให้จะต้องมีการขายทรัพย์สินออกไปในราคาที่ถูก เพราะต้องต้องถูกกดราคา 70-80% ทำให้ประเทศไทยไม่มีสายการบินแห่งชาติต่อไป

  ทั้งนี้จะส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้หลักของประเทศไปและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในรายได้หลักของประเทศไทย  รายได้จากการท่องเที่ยวรวมคิดเป็นประมาณ 20% ของ GDP  ซึ่งการบินไทยก็เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักที่จะนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ  เพราะในปี 2562การบินไทยมีผู้โดยสารสูงกว่า 24 ล้านคน 

รวมถึงเสียสิทธิการบินและเส้นทางการบินและเสียสิทธิในการเป็นพันธมิตรสายการบิน Star Alliance ซึ่งเป็นพันธมิตรสายการบินขนาดใหญ่ของโลกที่การบินไทยมีส่วนร่วมในการก่อตั้ง  และสมาชิกในกลุ่ม Star Alliance ก็มีการส่งต่อผู้โดยสารระหว่างกันเป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวและผู้เดินทางผ่านประเทศไทยจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญจะกระทบเศรษฐกิจไทยด้วย 

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญกว่าคือความเชื่อมั่นของการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศในตราสารการเงินของรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ำประกันในอนาคตจะเกิดปัญหาได้ 

ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่าจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูการบินไทยก่อนและประคองธุรกิจในช่วง2 ปีแรก จำเป็นต้องมีมืออาชีพจริงๆเข้ามาบริหาร ซึ่งรัฐบาลต้องถือหุ้นอยู่ เพื่อยังคงการเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ภาครัฐจะต้องให้มืออาชีพเข้ามาบริหารจริงๆและไม่มีวาระซ่อนเร้น ในช่วง 1-2 ปีแรกต้องติดต่อกับคู่ค้ารายอื่น  ซึ่งในช่วง2 ปีนี้ ถือเป็นช่วงในการปรับตัวให้สามารถฟื้นตัวได้เมื่อโควิด-19 คลี่คลาย   ซึ่งส่วนของเจ้าหนี้อาจไม่ได้รับเงินคืนได้ในเวลารวดเร็วแต่จะมีสิทธิได้คืนเมื่อโควิด-19 คลี่คลายลง 

รวมถึงหากผู้ที่เข้ามาบริหารอยากให้ผู้บริหารมีการให้ข้อมูลแก่สาธารณชนทราบ เดือนละครั้ง ว่าที่่ผ่านมาทำอะไรบ้าง เพื่อให้ประชาชนรับทราบความคืบหน้าถือเป็นเรื่องที่ดี ส่วนเรื่องฐานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนตัวมองว่าประเด็นรอง จะอยู่หรือไม่อยู่ ก็ได้            

  นางวรวรรณ  กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าการบินไทยหากกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจจะส่งผลดีมากกว่าข้อเสีย เพราะการกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจในหมวด3 เป็นกิจการที่รัฐบาลถือหุ้นทางอ้อมเกิน50%   ข้อดีคือ จะทำให้การบินไทย ได้รับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ เช่น การบินไทยจะไม่ต้องอยู่ภายใต้เกณฑ์การสรรหาผู้บริหาร ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ให้บริษัทฟื้นฟูกิจการทำตามแผนได้คล่องตัวได้สะดวกขึ้น ไม่ผูกพันระเบียบของสหภาพ    กระทรวงการคลังสามารถค้ำประกันเงินกู้ได้ ทำให้กู้ได้ บริษัทมีสภาพคล่องทางการเงิน และได้สิทธิในสัญญาเข้าข่ายพรบ.ร่วมทุนรัฐและเอกชน  เช่น สัญญากับ AOT เรื่องเคาท์เตอร์สนามบิน สิทธิการทำธุรกิจ สินธิพื้นที่  

 ส่วนข้อเสียคือไม่มีใครการรันตีความสำเร็จครั้งนี้ได้ แต่อยู่ที่ฝีมือและความกล้าหาญที่จะทำโอกาสมันมี ถ้าสามารถเดินทางได้ ธุรกิจจะฟื้นกลับมาได้   

"หากมีการขายการบินไทย นั้นจะมีคนเข้ามาแย่งกันซื้อ แม้กระทั่งสายการบินต่างชาติ  เพราะ ด้วยโลเคชั่นของเราเป็นศูนย์การบินที่ดีกว่าสิงคโปร์  มีความจำเป็นอะไร ที่แก้ไขไม่ได้เลยหรือ ทำให้เราเสียสิทธิการบิน ให้สายการบินอื่น หากปัญหาที่เกิดในอดีต ถ้าปัญหาเกิดจากข้าราชการ นักการเมืองฉ้อฉลหรือ หากเกิดจากบอร์ดหรือผู้บริหารและพนักงานการบินไทยไม่ได้คุณภาพ ก็จัดการปัญหาดังกล่าว ผู้บริหารจะต้องกล้าหาญ และความจริงใจในการทำ ไม่ใช่ปล่อยให้สายการบินไทยไปอยู่กับคนอื่น "   

สำหรับปัญหาที่เกิดไม่ได้อยู่ที่บริษัท การบินไทย แต่เป็นปัญหาเรื่องวิธีการบริหาร  ซึ่งเราเห็นปัญหาและเห็นโอกาสที่จะกลับมาดีได้  สิ่งที่เกิดมาในอดีตที่มีข้าราชการ นักการเมือง เข้ามาหาผลประโยชน์ก็จะต้องจัดการต่อไปให้มีต่อไปไม่ได้ และไม่ให้ข้าราชการส่งคนที่ไม่มีประโยชน์เข้ามาในบอร์ดบริหาร

ทั้งนี้ผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทยชุดใหม่นี้ ก็จะมีการทำอะไรไปเยอะแล้ว เช่น การลดจำนวนพนักงาน จาก 2 หมื่นคน   เหลือ 1.4 หมื่นคน ปรับปรุงลดต้นทุนไปพอสมควร 

สำหรับการทำแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนเสนอให้มีการเพิ่มเม็ดเงินสภาพคล่องให้การบินไทย 5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ประคองธุรกิจในช่วง2 ปีจากนี้  แบ่งเป็น ภาครัฐใส่เงิน 2.5 หมื่นล้าน และเจ้าหนี้ใส่เงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยกว่าหาก เทียบกับแผนผู้บริหารแผนฟื้นฟูชุดเดิม เขาขอภาครัฐ1.3 แสนล้านบาท 

 รวมถึงน้อยกว่าสายการบินแห่งชาติประเทศสิงคโปร์ที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสิงคโปร์ ถึง 12 เท่า   น้อยกว่ารัฐบาลจีนถึง 5 เท่า น้อยกว่าสายการบินของเยอรมัน 13 เท่า หากเทียบกับตามขนาดสินเทรัพย์  เงิน2.5 หมื่นล้านบาทที่ภาครัฐใส่เงินมานั้น คิดเป็น 10%ของสินทรัพย์รวมของ THAI ก่อนโควิด-19  ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเทียบกับบสิงคโปร์แแอร์ไลน์ได้จากรัฐบาลสิงคโปร์ 39% และน้อยกว่าบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคถึง 14% ซึ่งรัฐบาลประเทศต่างๆก็ช่วยเหลือสายการบินแห่งชาติของประเทศเขา แล้วทำไมรัฐบาลถึงจะไม่ช่วย เพราะเห็นโอกาสที่ธุรกิจจะฟื้นกลับมาหากโควิดคลี่คลายลง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี